การนอนหลับ (ตอนที่ 7 และตอนจบ)

สารกระตุ้น (Stimulants) การนอนหลับ

  • Amphetamine (Dextroamphetamine และสารที่คล้ายกัน และ Methamphetamine ซึ่งเป็นยาที่มีฤทธิ์แรงกว่าเล็กน้อย) - ใช้รักษาภาวะง่วงนอน ส่วนใหญ่ผลทั่วไปของยานี้คือ วิตกกังวล นอนไม่หลับ กระวนกระวาย การตื่นตัวเพิ่มขึ้น ความหิวน้อยลง
  • Caffeine - เป็นสารกระตุ้นซึ่งทำงานโดยออกฤทธิ์ช้าๆ ต่อฮอร์โมนในสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการง่วงนอน ในส่วนที่ขึ้นกับการใช้ก่อนหน้านี้ เป็นเหตุให้การตื่นตัวลดลงอย่างรวดเร็วเหมือนหมดฤทธิ์ยา
  • Cocaine and crack cocaine – การศึกษาเกี่ยวกับโคเคนได้แสดงผลของการเป็นตัวกลางผ่านในระบบนาฬิกาชีวิต สิ่งนี้อาจจะสัมพันธ์กับการนอนหลับมากเกินไปเนื่องจากโคเคนเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับที่ผิดปกติ
  • MDMA รวมทั้งยาที่คล้ายๆกันเช่น MDA, MMDA, หรือ bk-MDMA กลุ่มของยาที่เรียกว่า Empathogen-entactogens - ทำให้ผู้ใช้ตื่นอยู่กับความเคลิบเคลิ้มเป็นสุข ที่รู้จักกันดีในชื่อยาอี (Ecstasy)
  • Methylphenidate – รู้จักทั่วๆไปในชื่อการค้าว่า Ritalin หรือ Concerta ชื่อสามัญคือ Methylphenidate ออกฤทธิ์คล้ายๆกับ Amphetamine และCcocaine ส่วนประกอบทางเคมีของยาใกล้เคียงมากกับของโคเคน
  • Tobacco –ยาสูบ ซึ่งพบว่าไม่ได้รบกวนการนอนเท่านั้น แต่ยังลดเวลานอนด้วย ในการศึกษาวิจัย ผู้ใช้อธิบายว่า มีการง่วงนอนในเวลากลางวันมากกว่าผู้ไม่สูบบุหรี่
  • ยากระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางอื่นๆ อย่างเช่น Modafinil และ Armodafinil - แพทย์มักสั่งจ่ายเพื่อรักษาภาวะง่วงนอน การนอนมากเกินไปที่ไม่รู้สาเหตุ การผิดปกติของการเปลี่ยนเวลาทำงานและนอน และเงื่อนไขอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุการนอนหลับกลางวันที่มากเกินไป กลไกที่แน่นอนของการกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลางยังไม่เป็นที่แน่ชัด แต่ก็ได้แสดงถึงการเพิ่มขึ้นทั้งการปล่อยสาร Monoamine และระดับ Histamine ในสมองส่วน Hypothalamic ดังนั้นจึงกระตุ้นการตื่นนอน

ในทางมานุษยวิทยา (Anthropology) ในบางสังคม ผู้คนโดยทั่วไปจะนอนหลับกับคนอื่นอย่างน้อยที่สุด 1 คน (บางครั้งก็หลายคน หรือกับสัตว์เลี้ยง) ในบางวัฒนธรรม ผู้คนจะไม่ค่อยนอนหลับกับคนอื่น แต่ส่วนใหญ่จะนอนกับผู้ที่มีความสัมพันธ์ลึกซึ้งเช่น คู่สมรส

ในเกือบทุกๆสังคม คู่นอนด้วยกันจะถูกตั้งกฏเกณฑ์โดยมาตรฐานสังคม ตัวอย่างเช่น ผู้คนจะนอนหลับด้วยกับครอบครัวของพวกเขา ครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ คู่สมรส ลูกๆ ของพวกเขา เด็กๆ เพื่อน ผู้มีฐานะท่าเทียมกันทางสังคม หรือไม่มีใครเลย การนอนหลับเป็นเวลาทางสังคมจริงๆ ขึ้นกับกลุ่มที่นอนด้วย ไม่มีการบังคับเรื่องเสียงหรือการเคลื่อนไหว

การนอนหลับของผู้คนในพื้นที่ต่างๆ กัน บางคนนอนบนพื้น บางคนนอนบนหนังหรือผ้าห่ม บางคนนอนบนชานยกพื้น หรือบนเตียง บางคนนอนบนผ้าห่ม บางคนนอนกับหมอนหนุน บางคนไม่มีที่หนุนศีรษะ ทางเลือกเหล่านี้ถูกจัดโดยหลายปัจจัย อย่างเช่น อากาศ การป้องกันจากผู้ล่าเหยื่อ ชนิดของบ้าน เทคโนโลยี ความชอบส่วนบุคคล และอุบัติการณ์ของเชื้อโรคร้ายแรง

แหล่งข้อมูล:

  1. เด็ก "นอนดึก" เสี่ยงสมองทึบ!! http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1373886938&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2013, August 1].
  2. Sleep - http://en.wikipedia.org/wiki/Sleep [2013, August 1].