ผู้ป่วยระยะสุดท้าย (Terminal stage) หมายถึง ผู้ป่วยที่มีอาการของโรคต่างๆ ลุกลามจนรักษาไม่หายและแพทย์ไม่มีแผนการรักษาเฉพาะโรคนั้นๆอีกต่อไป นอกจากรักษาดูแลแบบประคับประคองตามอาการจวบจนเสียชีวิต
การเตรียมผู้ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย เป็นเรื่องจำเป็นมาก เพราะต้องเป็นผู้มีเวลาให้กับผู้ป่วย มีความเมตตาต่อผู้ป่วย และเป็นผู้ที่ทั้งผู้ป่วย ครอบครัว และทีมแพทย์/พยาบาลไว้ใจได้
ผู้ดูแลที่ดีที่สุด ควรเป็นญาติผู้ใกล้ชิดซึ่งจะมีความสำคัญต่อผู้ป่วย เนื่องจากรับรู้ข้อมูลในการรักษาของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง และเป็นผู้ที่ผู้ป่วยให้ความไว้ใจได้ ในส่วนผู้ดูแลเอง ก็จะมีปัญหาจากการเหนื่อยล้าในการดูแลผู้ป่วย ดังนั้น การเป็นญาติจึงช่วยผ่อนคลายปัญหาทั้งกับผู้ป่วยและผู้ดูแลลงได้ระดับหนึ่ง แต่ถ้าไม่มีญาติ คงต้องหาจากสถานฝึกอบรมการพยาบาลต่างๆ และค่อยๆเลือกดูคุณสมบัติของผู้ดูแล ซึ่งควรต้องเริ่มหาผู้ดูแลตั้งแต่เนิ่นๆ ตั้งแต่เมื่อผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่า เป็นผู้ป่วยระยะสุดท้าย
การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย ควรต้องดูแลทั้งผู้ป่วย และผู้จะมาดูแลผู้ป่วย ซึ่งการดูแล หรือ การเตรียมผู้จะมาดูแลผู้ป่วยที่สำคัญ คือ ให้ความรู้ในเบื้องต้นเรื่องโรค และอาการของผู้ป่วย ระบุหน้าที่ของผู้ดูแลต่อผู้ป่วยอย่างชัดเจน ให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมกับภาระงาน รวมทั้งมีเวลาให้ผู้ดูแลได้พักผ่อนตามควร อาจต้องช่วยแก้ ปัญหาในครอบครัวของผู้ดูแล เพื่อช่วยให้มีเวลาในการดูแลผู้ป่วย และควรให้ผู้ดูแลมีความเข้าใจว่า เป็นการดูแลเพื่อคงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยจากโรคที่คุกคามต่อชีวิต โดยให้การป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานต่างๆที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและครอบครัว ดยใช้การดูแลปัญหาสุขภาพทุกด้านไปพร้อมกัน ได้แก่ กาย ใจ จิตวิญญาณ และครอบครัวผู้ป่วย
ควรเริ่มต้นการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่แรกที่ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคที่รุนแรง เช่น โรคมะเร็ง หรือโรคในขั้นที่รักษาไม่หาย เช่น โรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง หรือ โรคปอดเรื้อรัง และให้การดูแลต่อเนื่องจนกระทั่งผู้ป่วยเสียชีวิต ซึ่งการดูแลที่สำคัญ ได้แก่
การดูแลด้านร่างกาย ที่สำคัญ คือ
ผู้ดูแล ควรดูแลให้ผู้ป่วยกินยาต่างๆได้ครบถ้วน ตรงตามเวลาที่แพทย์แนะนำ และคอยสังเกตว่า ยาได้ผลหรือ ไม่ หรือ ผู้ป่วยมีอาการอย่างไรภายหลังการกินยา และคอยพูด คุย ให้ผู้ป่วยผ่อนคลายทางอารมณ์ เพราะอารมณ์ต่างๆดัง กล่าว จะส่งเสริมให้อาการปวดเพิ่มขึ้น และการใช้ยาได้ผลลดลง
การดูแลที่ดีที่สุด คือการป้องกัน ผู้ดูแลควรจัดอาหารให้มี ใยอาหาร เช่น ผัก ผลไม้ ให้ผู้ป่วยดื่มน้ำอย่างเพียง พอที่ไม่ขัดกับโรค กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายเท่าที่ทำได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้ยามอร์ฟีนควรได้ยาระบายจากแพทย์ด้วย หากไม่ได้รับยาระบาย ควรแจ้งแพทย์ทุกครั้ง
ควรดูแล โดยให้ผู้ป่วยนอนในท่าศีรษะสูง หรือนั่งพิง เพื่อบรรเทาอาการ หากอาการแน่น อึดอัดมากจนทนไม่ไหว ให้พาผู้ป่วยพบแพทย์
ควรดูแล อย่าให้เกิดแผลต่างๆเพื่อป้องกันการติดเชื้อ เมื่อมีแผลต้องรีบใส่ยาแอลกอฮอล์ หรือ เบตาดีน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ยกแขนหรือขาที่บวมให้สูงขึ้นเพื่อให้ยุบ หลีกเลี่ยงการนั่งห้อยเท้า และงดอาหารเค็ม เพราะอาหารเค็มซึ่งมีเกลือ จะช่วยให้ร่างกายอุ้มน้ำมากขึ้น อาการบวมจึงมากขึ้นตามไปด้วย
การดูแล คือ ควรให้ผู้ป่วยตัดเล็บสั้น หลีกเลี่ยงการเกา ใส่เสื้อผ้าเนื้อนุ่มและหลวม เวลาอาบน้ำควรใช้สบู่อ่อนๆ และไม่อาบน้ำอุ่นจัด หรือใช้น้ำมันสำหรับเด็กอ่อนทาผิวหลังอาบน้ำ เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง กรณีคันจากตัวโรค หรือ เมื่อดูแลแล้วอาการคันไม่ดีขึ้น ควรต้องปรึกษาแพทย์
การดูแล คือ ควรพลิกตะแคงตัวผู้ป่วยทุก 2 ชั่วโมง และจัดหาเตียงลมหรือที่นอนน้ำเพื่อให้นอนสบายและเพื่อมีการกระจายน้ำหนักตัวไม่กดลงจุดใดจุดหนึ่งมากเกินไป และดังกล่าวแล้วต้องรักษาความสะอาดผิวบริเวณกดทับ เมื่อผิวเริ่มเปลี่ยนจากปกติ ควรต้องรีบปรึกษาแพทย์/พยาบาล
การดูแลด้านจิตใจ อารมณ์ และจิตวิญญาณ ที่สำคัญ คือ
1. ศ.เกียรติคุณพญ.สุมาลี นิมมานนิตย์ . ความเข้าใจเกี่ยวกับภาวะใกล้ตาย , กรุงเทพ ; โรงพิมพ์อักษรสัมพันธ์ (1987) ; 2550 .
2. ศากุน ปวีณวัฒน์ , อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช . เอกสารการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายสำหรับญาติ ; การประชุมวิชาการ 4 ทศวรรษรามาธิบดี ; 2552
3. อุมาภรณ์ ไพศาลสุทธิเดช . การอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและครอบครัว . เอกสารโรเนียว ; 2554
Updated 2014, May 24