กัดฟัน (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

กัดฟัน-3

      

      แพทย์ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการนอนกัดฟัน แต่อาจเกิดจากปัจจัยร่วมทั้งทางร่างกาย จิตใจ และพันธุกรรม โดยปัจจัยเสี่ยงของการนอนกัดฟัน ได้แก่

  • ความเครียด – ความโมโหและคับข้องใจ
  • อายุ – มักเกิดในเด็กและหายไปเมื่อตอนโต โดยเด็กร้อยละ 15-33 มักนอนกัดฟัน
  • บุคลิกภาพ – มักเกิดในผู้ที่มีความกร้าวร้าว (Aggressive) ชอบแข่งขัน (Competitive) หรือ อยู่ไม่สุก (Hyperactive)
  • การใช้ยาและสารเสพติดอื่นๆ – การนอนกัดฟันอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาทางจิตเวช เช่น ยาต้านซึมเศร้า นอกจากนี้อาจเกิดจากการสูบบุหรี่ การดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ การใช้ยากระตุ้นความบันเทิง (Recreational drug)
  • มีประวัติคนในครอบครัวนอนกัดฟัน
  • มีความผิดปกติอื่นๆ เช่น โรคพาร์คินสัน โรคสมองเสื่อม กรดไหลย้อน (GERD) โรคลมชัก (Epilepsy) ฝันผวา (Night terrors) โรคสมาธิสั้น (ADHD)

      สำหรับการรักษาด้านทันตกรรมอาจให้

  • ใช้ยางกัดฟัน (Splints and mouth guards)
  • แก้ไขปัญหาฟันในช่องปาก เช่น แก้ไขจุดที่สบฟันผิดปกติ เป็นต้น

      นอกจากนี้อาจแก้ไขทางด้านอื่น เช่น

  • การจัดการกับความเครียด
  • การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
  • การใช้ยา เช่น ยาคล้ายกล้ามเนื้อ ยาต้านซึมเศร้า

      ส่วนการดูแลและป้องกันตนเองจากการนอนกัดฟัน อาจทำได้โดย

  • ลดความเครียด เช่น ฟังเพลง อาบน้ำอุ่น หรือออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงสารกระตุ้นในช่วงเย็น เช่น กาแฟ ชา แอลกอฮอล์
  • สร้างสุขนิสัยที่ดีในการนอน เพื่อไม่ให้มีปัญหาเรื่องการนอนหลับ
  • นัดพบทันตแพทย์ตามกำหนดเวลา

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Bruxism (teeth grinding). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/bruxism/symptoms-causes/syc-20356095 [2019, May 17].
  2. Dental Health and Teeth Grinding (Bruxism). https://www.webmd.com/oral-health/guide/teeth-grinding-bruxism#1 [2019, May 17].