ปลอดกลูเตน ? (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

กลูเตน

หากคนที่แพ้กลูเตนแล้วบังเอิญไปกินอาหารที่มีกลูเตน ก็อาจทำให้ปวดท้องและท้องเสียได้ทันที ในขณะที่บางคนอาจไม่มีอาการหรือสัญญาณอะไรหลังการกินกลูเตน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลำไส้เล็กไม่ได้ถูกทำลาย

ดังนั้น ผู้ที่แพ้กลูเตน ต้องเข้มงวดในเรื่องอาหารปลอดกลูเตนไปตลอดชีวิต และควรพยายามหลีกเลี่ยงอาหารต่อไปนี้ นอกเสียจากจะว่ามีฉลากติดว่า “ปลอดกลูเตน” (Gluten-free) หรือทำจากข้าวโพด ข้าว หรือถั่วเหลือง เป็นต้น

  • เบียร์
  • ขนมปัง
  • เค็กและพาย
  • ลูกกวาด
  • ซีเรียล (Cereals)
  • คุกกี้และแครกเกอร์ (Cookies and crackers)
  • เฟรนซ์ฟราย (French fries)
  • เนื้อเทียม (Imitation meat)
  • พาสต้า (Pastas)
  • น้ำสลัด (Salad dressings)
  • น้ำซอส รวมถึงซอสถั่วเหลือง
  • ของขบเคี้ยวปรุงรส (Seasoned snack foods) เช่น มันฝรั่ง (Potato chips)
  • ซุปและซุปก้อน (Soups and soup bases)

อย่างไรก็ดี การกินอาหารปลอดกลูเตนอาจถือเป็นความเสี่ยงในการขาดสารอาหารได้อย่างหนึ่ง เนื่องจากธัญพืชอุดมไปด้วยวิตามินและสารอาหารหลายตัว คนที่กินอาหารปลอดกลูเตนอาจจะทำให้เกิดการขาดวิตามินบางอย่างได้ เช่น

  • ธาตุเหล็ก (Iron)
  • แคลเซียม (Calcium)
  • ไฟเบอร์ (Fiber)
  • วิตามินบี 1 (Thiamin)
  • วิตามินบี 2 (Riboflavin)
  • วิตามินบี 3 (Niacin)
  • โฟเลต (Folate)

แหล่งข้อมูล

1. Gluten-free diet: What's allowed, what's not. http://www.mayoclinic.org/healthy-living/nutrition-and-healthy-eating/in-depth/gluten-free-diet/art-20048530 [2014, August 6].