กลิ่นตัว กลิ่นเต่า (ตอนที่ 2)

กลิ่นตัวกลิ่นเต่า

กลิ่นตัว (Body odour / bromhidrosis) เป็นกลิ่นที่ไม่น่าพิศมัยที่สามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีเหงื่อ โดยปกติแล้วเหงื่อจะไม่ก่อให้เกิดกลิ่นแต่อย่างไร กลิ่นที่น่ารังเกียจเกิดจากการที่แบคทีเรียบนผิวหนังทำให้เหงื่อกลายสภาพเป็นกรด เหงื่อที่มากและกลิ่นเหงื่อทำให้เกิดปัญหาที่ไม่พีงประสงค์ซึ่งอาจกระทบต่อความมั่นใจของคนๆ นั้นได้

ร่างกายมนุษย์มีต่อมเหงื่ออยู่ประมาณ 3-4 ล้านต่อม ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ

  1. ต่อมเอ็กไครน์ (Eccrine glands) หรือต่อมชนิดที่สร้างเหงื่อ – กระจายอยู่ทั่วบริเวณผิวหนังและคอยควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่ร้อนให้เย็นลง ต่อมนี้จะผลิตเหงื่อที่มีเกลือสูง
  2. เหงื่อที่สร้างโดยต่อมเอ็กไครน์มักจะไม่มีกลิ่น แต่ที่เกิดกลิ่นได้เป็นเพราะแบคทีเรีย และจะยิ่งมีกลิ่นแรงมากขึ้น หากมีการกินอาหารหรือเครื่องดื่มบางชนิด เช่น กระเทียม เครื่องเทศ และแอลกฮอล์ หรือยาบางชนิด เช่น ยารักษาโรคซึมเศร้า (Antidepressants)

  3. ต่อมอโปคริน (Apocrine glands) หรือต่อมชนิดที่สร้างกลิ่น – เป็นต่อมที่พบในบริเวณขนตามร่างกายเป็นส่วนใหญ่ เช่น ใต้รักแร้และที่อวัยวะเพศ ต่อมนี้จะผลิตเหงื่อที่มีโปรตีนสูง เอื้อต่อการแตกตัวของแบคทีเรียได้มาก โดยมีการพัฒนาในช่วงที่เป็นวัยรุ่น และมีการปล่อยสารเคมีที่มีกลิ่นที่เรียกว่า ฟีโรโมน (Pheromones) ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ระบุว่า เป็นกลิ่นที่ทำให้มีการดึงดูดทางเพศ
  4. ต่อมอโปครินจะทำหน้าที่ต่างกันเล็กน้อยในอวัยวะต่างๆ เช่น ในเต้านม ต่อมอโปครินจะทำหน้าที่หลั่งไขมันลงในน้ำนม ในหูทำหน้าที่สร้างขึ้หู สำหรับผิวหนังและเปลือกตาต่อมนี้จะเป็นต่อมสร้างเหงื่อที่มีกลิ่น

    เพราะเหงื่อของคนเราจะมีโปรตีนในระดับสูงซึ่งทำให้เกิดแบคทีเรียได้ คนที่มีเหงื่อจากต่อมอโปครินมาก หรือมีแบคทีเรียบนผิวหนังมาก ก็มักจะมีกลิ่นตัวที่รุนแรง โดยเฉพาะผู้ชายมักมีกลิ่นแรงมากกว่าผู้หญิงเพราะมีเหงื่อออกมากกว่า และกลิ่นจะยิ่งแรงขึ้นถ้า

    • มีน้ำหนักตัวมากเกิน
    • กินอาหารที่มีเครื่องเทศ
    • มีภาวะทางสุขภาพบางอย่าง เช่น เป็นโรคเบาหวาน

    โดยกรด 2 ชนิดที่มักเกิดขึ้นเมื่อมีกลิ่นตัว ได้แก่

    • กรดโพรพิโอนิก (Propionic acid / propanoic acid) เป็นกรดที่มักพบในเหงื่อ เกิดจากแบคทีเรียที่เรียกว่า Propionibacteria เปลี่ยนกรดอะมิโนเป็นกรดโพรพิโอนิก โดยแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ที่ต่อมไขมัน (Sebaceous glands) ของผู้ใหญ่และวัยรุ่น อาจมีกลิ่นคล้ายน้ำส้มสายชู
    • กรดไอโซวาลิริก (Isovaleric acid / 3-methyl butanoic acid) เป็นแหล่งของกลิ่นที่เกิดจากการทำปฏิกริยาของแบคทีเรียที่เรียกว่า Staphylococcus epidermidis เหมือนที่ใช้ในการผลิตเนยแข็งหลายชนิด

แหล่งข้อมูล

1. Body odour. http://www.nhs.uk/conditions/body-odour/Pages/Introduction.aspx[2015, December 30].

2. Body Odor: Causes, Prevention, Treatments. http://www.medicalnewstoday.com/articles/173478.php[2015, December 30].