กลั้นไว้ ไม่ไหวแล้ว (ตอนที่ 7 และตอนจบ)

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

1. การใช้อุปกรณ์ทางการแพทย์ (Medical devices) เช่น

  • Urethral insert – มีลักษณะคล้ายผ้าอนามัยแบบสอดใช้แล้วทิ้ง (Tampon-like disposable device) โดยสอดเข้าไปในท่อปัสสาวะก่อนทำกิจกรรม เช่น ก่อนเล่นเทนนิส และถอดออกเมื่อต้องการถ่ายปัสสาวะ
  • Pessary - อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับสอดในช่องคลอดเพื่อพยุงอวัยวะในอุ้งเชิงกรานที่หย่อนหรือป้องกันปัญหาปัสสาวะเล็ด ทำมาจากซิลิโคนที่มีคุณภาพดี

2. การรักษาแบบแทรกแซง (Interventional therapies) ซึ่งได้แก่

  • Bulking material injections – การฉีดสารเข้าที่เนื้อเยื่อรอบท่อปัสสาวะเพื่อลดการปัสสาวะเล็ด ซึ่งต้องทำซ้ำเป็นประจำ
  • Botulinum toxin type A (Botox) – การฉีดโบทอกซ์ที่กล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ วิธีนี้จะใช้เมื่อการรักษาอื่นไม่ได้ผล
  • การกระตุ้นประสาท (Nerve stimulators) – เป็นการการกระตุ้นประสาทก้นกบ (Sacral nerves) ด้วยไฟฟ้าที่ฝังอยู่ใต้ผิวหนังที่สะโพกเพื่อควบคุมกระเพาะปัสสาวะ

3. การผ่าตัด (Surgery) – การผ่าตัดอาจมีทั้งการขยายกระเพาะปัสสาวะให้ใหญ่ขึ้น การย้ายตำแหน่งกระเพาะปัสสาวะ หรือการใส่อุปกรณ์เข้าไปซึ่งมีหลายวิธีด้วยกัน เช่น วิธี Sling procedures วิธี Bladder neck suspension วิธี Prolapse surgery และวิธี Artificial urinary sphincter

4. การใช้แผ่นรองซึม (Absorbent pads) และการใช้หลอดสวน (Catheter)

  • การใช้แผ่นรองซึมและเครื่องแต่งกายที่ป้องกัน (Pads and protective garments) ซึ่งปัจจุบันมีความสะดวกในการใช้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง ทั้งแบบกางเกงในและแบบแผ่น แต่มีข้อด้อยคือ อาจหนา มีการรั่วซึม มีกลิ่น และทำให้ผิวมีปัญหาเปียกชื้น
  • การใช้หลอดสวน (Catheter) ในกรณีที่กระเพาะปัสสาวะมีน้ำตกค้างอยู่ โดยแพทย์อาจแนะนำให้ใช้หลอดสวน ข้อดีก็คือ ผิวจะไม่เปียกชื้น แต่มีข้อเสียคือ อาจเกิดการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะได้

การลดความเสี่ยงในของอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ อาจทำได้โดย

  • รักษาน้ำหนักตัวให้พอดี
  • ฝึกขมิบกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน โดยเฉพาะตอนอยู่ระหว่างการตั้งครรภ์
  • หลีกเลี่ยงสิ่งที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น คาเฟอีน และอาหารที่เป็นกรดรสเปรี้ยว
  • กินไฟเบอร์ให้มากเพื่อป้องกันท้องผูกซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ออกกำลังกายเพื่อรักษาสุขภาพที่ดี

แหล่งข้อมูล

1. Urinary incontinence. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-incontinence/basics/definition/con-20037883 [2014, September 20].
2. Urinary incontinence. http://www.nhs.uk/conditions/incontinence-urinary/Pages/Introduction.aspx [2014, September 20].