กลั้นไว้ ไม่ไหวแล้ว (ตอนที่ 5)

กลั้นปัสสาวะไม่อยู่

อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เรื้อรัง ได้แก่

  • ผิวหนังมีปัญหา – ผิวที่เปียกชื้นตลอดอาจทำให้เกิดอาการคัน ติดเชื้อ และปวด
  • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ – การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำ
  • กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ – การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว สังคม และที่ทำงาน

เป็นเรื่องที่จำเป็นมากในการตรวจวิเคราะห์การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ว่าเป็นแบบชนิดไหน เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ถูกต้อง ทั้งนี้โดยอาศัยการตรวจจาก

  • การตรวจปัสสาวะ (Urinalysis) – การนำปัสสาวะไปตรวจเพื่อดูการติดเชื้อ หรือความผิดปกติต่างๆ
  • การจดบันทึกประวัติการปัสสาวะ (Bladder diary) – การจดบันทึกว่ามีการดื่มน้ำเท่าไร ถ่ายปัสสาวะเมื่อไร ปริมาณปัสสาวะที่ถ่าย
  • การวัดจำนวนปัสสาวะที่ค้างอยู่ (Post-void residual measurement) – เมื่อมีการถ่ายปัสสาวะและวัดปริมาณน้ำปัสสาวะที่ถ่ายออกแล้ว แพทย์จะทำการตรวจถึงปริมาณน้ำที่ยังเหลือค้างอยู่ในกระเพาะปัสสาวะด้วยการใช้หลอดสวน (Catheter) หรืออัลตราซาวด์ ปริมาณน้ำที่ค้างเป็นจำนวนมากอาจหมายถึงการที่ทางเดินปัสสาวะมีสิ่งอุดกั้นหรือระบบประสาทกล้ามเนื้อที่กระเพาะปัสสาวะมีปัญหา

นอกจากนี้ยังมีการตรวจพิเศษที่แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจ คือ

  • Urodynamic testing – แพทย์จะใส่น้ำผ่านสายสวนในท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะให้เต็ม แล้วทำการวัดความดันของกระเพาะปัสสาวะ

    วิธีทดสอบนี้จะช่วยในการวัดความแข็งแรงของกระเพาะปัสสาวะและกล้ามเนื้อหูรูด (Sphincter) และที่สำคัญคือ เป็นวิธีที่ทำให้รู้ถึงชนิดของการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ได้

  • การใช้กล้องส่องตรวจกระเพาะปัสสาวะ (Cystoscopy) – แพทย์จะสอดหลอดและกล้องเล็กๆ ทางท่อปัสสาวะเพื่อดูความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะ
  • การถ่ายภาพรังสีพิเศษที่กระเพาะปัสสาวะ (Cystogram) – เป็นการตรวจพิเศษทางรังสีของกระเพาะปัสสาวะ โดยการฉีดสารทึบรังสีเข้าไปในกระเพาะปัสสาวะผ่านทางสายสวนปัสสาวะ และถ่ายภาพเอกซเรย์ของกระเพาะปัสสาวะที่มีสารทึบรังสีบรรจุอยู่เต็ม เพื่อดูความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งหลังจากที่มีการปัสสาวะจะมีการขับสารนี้ออกด้วย
  • การอัลตราซาวด์อุ้งเชิงกราน (Pelvic ultrasound) เพื่อดูความผิดปกติของไต (Kidneys) ท่อไต (Ureters) กระเพาะปัสสาวะ (Bladder) ท่อปัสสาวะ (Urethra) และอวัยวะสืบพันธุ์ (Genitals)

แหล่งข้อมูล

1. Urinary incontinence. http://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/urinary-incontinence/basics/definition/con-20037883 [2014, September 18].

กลั้นไว้ ไม่ไหวแล้ว (ตอนที่ 5) กลั้นปัสสาวะไม่อยู่-05 อาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดจากการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เรื้อรัง ได้แก่ • ผิวหนังมีปัญหา – ผิวที่เปียกชื้นตลอดอาจทำให้เกิดอาการคัน ติดเชื้อ และปวด • การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ – การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่เพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะซ้ำ • กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ – การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่สามารถกระทบต่อความสัมพันธ์ส่วนตัว สังคม และที่ทำงาน