ไส้เลื่อนไปไหนกัน (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ไส้เลื่อนไปไหนกัน-4

การวินิจฉัยโรคสามารถทำได้ด้วยการตรวจร่างกาย การเอ็กซเรย์ (Barium X-ray) การส่องกล้อง (Endoscopy) หรือการอัลตราซาวด์

ผลของการเป็นโรคนี้ หากอยู่ในภาวะลำไส้ขาดเลือด จะต้องทำการผ่าตัดทันที ซึ่งถ้าปล่อยให้มีอาการลำไส้ขาดเลือดนานๆ ก็จะทำให้ลำไส้เกิดอาการเนื้อตายและเน่า จนเกิดภาวะแทรกซ้อน ติดเชื้อในกระแสเลือดและเสียชีวิตได้

แต่ถ้าผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย จะอาศัยการรักษาด้วยยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น

  • การกินยา
  • การลดน้ำหนักในผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน
  • การไม่กินอาหารแต่ละมื้อหนักเกินไป ไม่กินแล้วนอนทันที
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้เกิดกรดในกระเพาะ เช่น อาหารรสจัด
  • ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ

ส่วนการพิจารณาถึงการรักษาว่าควรใช้วิธีการผ่าตัดหรือไม่จะขึ้นกับ

  • ชนิดของไส้เลื่อนที่เป็น – เพราะไส้เลื่อนบางชนิดอาจขัดขวางหรือบีบลำไส้
  • อาการและผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน – กรณีที่มีอาการรุนแรงหรืออาการแย่ลง หรือกรณีที่ไส้เลื่อนเป็นเหตุให้ไม่สามารถทำกิจกรรมปกติได้

โดยการผ่าตัดรักษาโรคไส้เลื่อนแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ

  • แบบเปิดหน้าท้อง (Open surgery)
  • แบบส่องกล้อง (Keyhole surgery / laparoscopic surgery)

สำหรับการป้องกันโรคไส้เลื่อนทำได้ด้วยการ

  • รักษาร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอและรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเน้นผักผลไม้ที่เพิ่มกากใยอาหาร เพื่อลดอาการท้องผูก
  • ไม่สูบบุหรี่
  • ควบคุมร่างกายไม่ให้มีแรงดันภายในช่องท้องมากเกินไป โดยหยุดอาการไอและจามเรื้อรัง และไม่ออกแรงยกของหนักเกินกำลังอยู่บ่อยๆ
  • ระมัดระวังในการออกกำลังกาย โดยไม่ทำให้ผนังช่องท้องด้านหน้าเกิดอาการบาดเจ็บอยู่บ่อยๆ
  • หากเพิ่งได้รับการผ่าตัดมา ควรงดการออกกำลังกายหนักๆ โดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง
  • หากมีอาการผิดปกติ ในบริเวณท้อง เช่น ท้องผูกบ่อย ปวดท้อง หรือพบก้อนเนื้อนูนผิดปกติ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด

แหล่งข้อมูล:

  1. Hernia. http://www.nhs.uk/conditions/hernia/Pages/Introduction.aspx [2017, July 16].
  2. Hernia. http://www.healthline.com/health/hernia#causes3 [2017, July 16].