ไข้เลือดออก 4 เดือน ป่วย 2.4 หมื่น ตาย 28 (ตอนที่ 2)

การติดต่อของโรคไข้เลือดออก เกิดจากยุงลายสายพันธุ์ Aedes aegypti เป็นพาหะ ไวรัสไข้เลือดออกแพร่ไปสู่คนโดยถูกยุงตัวเมียที่ติดเชื้อกัด หลังจากไวรัสฟักตัว (Incubation) 4 - 10 วัน ยุงที่มีเชื้อไวรัสก็สามารถแพร่เชื้อไวรัสได้ตลอดชีวิตของยุง คนที่ติดเชื้อไข้เลือดออกจะเป็นพาหะ และแพร่เชื้อไวรัส รวมทั้งสะสมเชื้อไวรัสสำหรับยุงที่ยังไม่ติดเชื้อ

ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออก สามารถแพร่เชื้อได้ภายใน 4 - 5 วัน มากสุดถึง 12 วัน ผ่านทางยุงลาย หลังจากเริ่มปรากฏอาการครั้งแรก ยุงลายสายพันธุ์ Aedes aegypti ไม่เหมือนยุงชนิดอื่น มักหากินตอนกลางวัน เวลาที่ออกหากินคือตอนเช้าตรู่ และตอนเย็นก่อนมืดค่ำ ยุงตัวเมียจะกัดคนหลายคนระหว่างหากินในแต่ละครั้ง

ส่วนยุงลายสายพันธุ์ Aedes albopictus เป็นยุงพาหะสายพันธุ์ที่ 2 ในเอเชีย ที่ได้แพร่กระจายไปที่อเมริกาเหนือและยุโรปหลายประเทศ ยุงชนิดนี้มีการกลายพันธุ์อย่างมาก เนื่องจากสามารถมีชีวิตได้ในอุณหภูมิที่เย็นจัดของทวีปยุโรป การแพร่เชื้อสืบเนื่องมาจากมีความทนทานต่ออุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุกเยือกแข็งมาก การจำศีลในฤดูหนาว และสามารสร้างเกราะคุ้มกันในที่ที่ยุงอาศัยอยู่

ลักษณะของโรคไข้เลือดออกชนิดรุนแรง ก็คือมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ เป็นได้ทั้งทารก เด็ก และผู้ใหญ่ แต่ไม่ค่อยจะเสียชีวิต ไข้เลือดออกจะถูกสงสัยเมื่อมีไข้สูง มากกว่า 40 องศาเซลเซียส ร่วมกับมีอาการอื่น กล่าวคือ ปวดหัวรุนแรง ปวดหลังตา กล้ามเนื้อและข้อต่อ คลื่นไส้อาเจียน ต่อมบวมหรือผื่นแดง

อาการปกติเป็นอยู่ 2 - 7 วัน หลังจากระยะฟักตัว 4-10 วัน จากวันที่ถูกยุงที่ติดเชื้อกัด ไข้เลือดออกชนิดรุนแรงมีความซับซ้อนจนถึงแก่ชีวิต เนื่องจากสูญเสียพลาสม่า ของเหลว ระบบหายใจล้มเหลว เสียเลือดอย่างรุนแรง หรืออวัยวะไม่ทำงาน อาการเตือนจะเกิดขึ้น 3 - 7 วันหลังจากที่มีอาการแรกเริ่มคือมีการลดลงของอุณหภูมิต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส

นอกจากนี้ ยังรวมทั้งปวดช่องท้องรุนแรง อาเจียนตลอด หายใจเร็ว เลือดออกตามเหงือก กล้ามเนื้อล้า มีเลือดปนมากับการอาเจียน 24 - 48 ชั่งโมง ถัดไปในระยะวิกฤต อาจถึงแก่ชีวิตได้ การดูแลทางการแพทย์ที่เหมาะสมเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อหลีกเลี่ยงอาการแทรกซ้อนและเสี่ยงต่อการเสียชีวิต

การเฝ้าระวังโรคไข้เลือดออกทั่วโลก เป็นสิ่งจำเป็นเพราะอุบัติการณ์ (Incident) องไข้เลือดออกได้เพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วง10 - 20 ปีที่ผ่านมา กว่า 2.5 พันล้านคน หรือกว่า 40% ของประชากรบนโลกในปัจจุบันมีความเสี่ยงจากโรคไข้เลือดออก องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) ประมาณว่า ประชากรราว 50 - 100 ล้านคน จะติดเชื้อไข้เลือดออกในแต่ละปี ก่อนปี พ.ศ. 2513 มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้นที่มีการระบาดของไข้เลือดออก แต่ปัจจุบันโรคนี้ได้ขยายไปมากกว่า 100 ประเทศในทวีปแอฟริกา อเมริกาและทางฝั่งเมดิเตอเรเนียนตะวันออก เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ผู้ติดเชื้อพบทั่วไปทั้งสหรัฐอเมริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และแปซิฟิกตะวันตก จำนวนของผู้ติดเชื้อได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การติดเชื้อ ยังมีการกระจายไปยังพื้นที่ใหม่ๆ โดยมีการรายงานการระบาดของไข้เลือดออกเป็นครั้งแรกในประเทศฝรั่งเศสและโครเอเทีย ในปี พ.ศ. 2553 และการระบาดในปี พ.ศ. 2555 ที่เกาะ Madiera ของประเทศโปตุเกส ซึ่งมีผู้ป่วยกว่า 1,800 ราย และพบโรคนี้ในอีก 5 ประเทศในยุโรป ประมาณว่า จะผู้ป่วยกว่า 5 แสนรายที่นอนโรงพยาบาลด้วยไข้เลือดออกชนิดรุนแรงในแต่ละปี ส่วนใหญ่เป็นเด็ก โดยที่ประมาณ 2.5% ของผู้ป่วยเหล่านี้จะเสียชีวิต

แหล่งข้อมูล:

  1. ยอดป่วยไข้เลือดออก 4 เดือนพุ่งสูงกว่า 2.4 หมื่นคน ตาย 28 คนเหตุรักษาช้า - http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050829 [2013, May 7].
  2. Dengue and severe dengue - http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs117/en/ [2013, May 7].