ไข้สมองอักเสบ โรคร้ายหน้าฝน (ตอนที่ 3)

ในปัจจุบัน ยังไม่มีการดูแลรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้สมองอักเสบ(Japanese Encephalitis)จึงมีเพียงการรักษาแบบประคับประคอง โดยให้คำแนะนำในการให้อาหาร การช่วยหายใจและป้องกันไม่ให้เกิดการชัก การป้องกันการเพิ่มขึ้นของความดันในกะโหลกศีรษะอาจจะต้องให้สาร Mannital โรคนี้ไม่มีการติดต่อจากคนไปสู่คน ดังนั้นผู้ป่วย จึงไม่จำเป็นต้องถูกแยกห้องออกมา

โรคไข้สมองอักเสบเป็นสาเหตุหลักของโรคสมองอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสในเอเชีย กว่า 30,000-50,000 รายต่อปี อัตราการตายอยู่ระหว่าง 0.3% - 60% ขึ้นกับประชากรและอายุ ผู้อยู่อาศัยในชนบทในพื้นที่ที่การระบาด จะมีความเสี่ยงสูง โรคนี้ปกติจะไม่เกิดในชุมชนเมือง

หลายประเทศซึ่งเคยมีการระบาดในอดีต แต่ได้ควบคุมโรคโดยการให้วัคซีน ได้แก่ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน และไทย ประเทศอื่นๆ ที่ยังคงมีการระบาดได้แก่ เวียดนาม เขมร พม่า อินเดีย เนปาล และมาเลเซีย

ยังได้มีรายงานโรคไข้สมองอักเสบ ที่เกาะ Torres Strait และเสียชีวิต 2 รายทางตอนเหนือของออสเตรเลีย ในปี พ.ศ.2541 การกระจายของเชื้อไวรัสในออสเตรเลียเป็นความกังวลของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ไม่มีแผนในการให้ความรู้เรื่องยุง Culex gelidus ซึ่งพาหะหลักของเชื้อไวรัสจากเอเชีย อย่างไรก็ตาม คำแนะนำดังกล่าวยังมีน้อยอยู่

คน วัวควาย และม้าเป็นพาหะท้ายที่สุดจนต้องเสียชีวิต (Dead-end host) เมื่ออาการปรากฏชัดแจ้งว่าเป็นโรคไข้สมองอักเสบ หมูเป็นพาหะที่เพิ่มจำนวนและมีบทบาทสำคัญในการระบาดของโรค การติดเชื้อในหมูไม่มีอาการ (ยกเว้นหมูตัวเมียที่ตั้งท้อง) ผลที่ตามมามักเป็นการแท้งและตัวอ่อนที่ผิดปกติ

พาหะที่สำคัญมากที่สุดคือยุงสายพันธุ์ Culex tritaeniorhynchus ซึ่งกัด [และดูดเลือดเป็นอาหารจาก] วัวควายมากกว่าคน เมื่อมีการเคลื่อนย้ายหมูจากบ้านคน ก็จะสามารถเบี่ยงเบนยุงจากคนและหมู พาหะในธรรมชาติของโรคไข้สมองอักเสบคือนก ไม่ใช่คนและมีความเชื่อว่าไวรัสไม่เคยถูกกำจัดอย่างสมบูรณ์

ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2554 มีการรายงานไวรัสไข้สมองอักเสบในยุงสายพันธุ์ Culex bitaeniorhynchus ในสาธารณรัฐเกาหลี ในปัจจุบัน จากจำนวนของยาที่ได้ค้นคว้าเพื่อที่จะลดการแพร่พันธุ์ของเชื้อไวรัสหรือป้องกันเซลล์ประสาทที่ศึกษาในหนู ยังไม่พบว่ามีวิธีใดในการรักษาผู้ป่วยเลย

ไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบคือไวรัสชนิดที่มีเปลือกหุ้มอยู่ในตระกูล (Genus) Flavivirus ซึ่งใกล้เคียงกับ ไวรัส West nile และไวรัส St. Louis encephalitis มีสารพันธุกรรมแบบสายเดี่ยวขดอยู่ในเปลือก (Capsid) เปลือกนอกเป็นโปรตีนชนิดซอง envelope (E) และเป็นสารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ซึ่งใช้ป้องกัน และช่วยเหลือไวรัสในการเข้าไปในเซลล์

โดยพื้นฐานสารพันธุกรรม envelop (E) ของไวรัสมี 5 ชนิด (Genotypes I - V) สายพันธุ์ Muar ถูกแยกเชื้อจากจากผู้ป่วยในประเทศมาเลเซียในปี พ.ศ. 2495 เป็นสายพันธุ์ต้นแบบของ Genotypes V ส่วน Genotypes IV เป็นสายพันธุ์บรรพบุรุษและมีวิวัฒนาการในพื้นที่อินโดนีเซีย-มาเลเซีย รายงานทางคลินิกครั้งแรกในปี พ.ศ. 2413 แต่เราพบว่าไวรัสมีวิวัฒนาการตั้งแต่กลางปีคริสต์ศักราช 1500

แหล่งข้อมูล:

  1. Japanese encephalitis - http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_encephalitis [2013, June 17].