ไข้สมองอักเสบ โรคร้ายหน้าฝน (ตอนที่ 1)

นพ. ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวเมื่อต้นเดือนมิถุนายนว่า ขณะนี้

ประเทศไทยได้เริ่มเข้าสู่ฤดูฝน จึงได้สั่งการให้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) ทั่วประเทศเผยแพร่ ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพ และป้องกันการเจ็บป่วยในฤดูฝน

ด้าน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า โรคที่พบในฤดูฝนและน้ำท่วมมี 5 กลุ่ม รวม 17 โรค กลุ่มที่มีความสำคัญมาก ได้แก่ โรคที่เกิดจากยุงและสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะโรคไข้สมองอักเสบ เจ อี (Japanese Encephalitis) ที่เกิดจากถูกยุงรำคาญ (ซึ่งมักอยู่ในแหล่งน้ำในทุ่งนา) กัดเอา

ก่อนหน้านี้ โรคไข้สมองอักเสบ รู้จักกันในชื่อว่า “โรคไข้สมองอักเสบ ชนิดบี” (Japanese B encephalitis) ซึ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุจากไวรัสไข้สมองอักเสบที่เติบโตในยุง (Mosquito-borne Japanese encephalitis) และเป็นเชื้อไวรัสในตระกูล Flaviviridae

การเลี้ยงหมูและนกป่า (Herons) เป็นแหล่งรังโรคของเชื้อไวรัส การติดต่อสู่คนเป็นสาเหตุของอาการที่รุนแรง พาหะของโรคนี้ที่สำคัญที่สุดคือ ยุงสายพันธุ์ Culex tritaeniorhynchus และ Culex vishnui โรคนี้แพร่หลายมากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตะวันออกกลาง

ในเรื่องอาการ (symptoms) นั้น โรคไข้สมอง มีระยะฟักตัว 5 - 15 วัน คนที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่มีอาการ มีเพียง 1 ใน 250 รายที่ติดเชื้อเท่านั้นที่พัฒนาเป็นโรคไข้สมองอักเสบ ในสัตว์อาการของโรคคือการเป็นหมันและการแท้งในหมู ในม้าจะเป็นโรคทางระบบปราสาท (Central nervous system : CNS) และอาการอื่นๆ เช่น มีไข้ เซื่องซึม และเบื่ออาหาร

อาการรุนแรงที่เห็นได้ชัดของคนเป็นโรคนี้คือ มีไข้ ปวดหัวและครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นอาการที่ไม่เฉพาะเจาะจงของโรคนี้ซึ่งอาจจะใช้เวลาระหว่าง 1 - 6 วัน อาการซึ่งพัฒนาต่อไปคือระยะไข้สมองอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมีคอแข็ง อาการไม่สบายเนื่องจากขาดอาหาร (Cacahexia) อัมพาตครึ่งซีก (Hemiparesis) ชักและมีไข้สูงระหว่าง 38 - 41 °C อาการปัญญาอ่อน (Mental retardation) อาจเกิดขึ้นทำให้เกิดอาการโคม่าได้

อัตราการตายของโรคนี้ไม่แน่นอน แต่โดยทั่วไปจะสูงมากในเด็ก และสามารถผ่านทางรกได้ ความบกพร่องทางระบบประสาทอาจเกิดขึ้นได้เช่น หูหนวก อารมณ์แปรปรวน และอัมพาตครึ่งซีก ซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ที่มีปัญหาระบบประสาทส่วนกลางร่วมด้วย ผู้ป่วยอาจจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ มีไข้ อาเจียน และบางครั้งมีอาการบวมของอันฑะ

การเพิ่มการกระตุ้นเซลสร้างภูมิต้านทาน (Microglial) ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคไข้สมองอักเสบ พบว่ามีผลต่อการเกิดโรคของไวรัส เซลสร้างภูมิต้านทานเป็นเซลภูมิคุ้มกันที่มีอยู่ของระบบประสาทส่วนกลาง และมีบทบาทในภาวะวิกฤตในการป้องกันการบุกรุกของเชื้อโรคในคน

ไวรัสมีจุดเริ่มต้นจากไวรัสบรรพบุรุษของมันในกลางคริสต์ศักราช 1500 ในพื้นที่ประเทศอินโดนีเซีย-มาเลเซีย มีอยู่ 5 สายพันธุ์ที่แตกต่างกันกระจายทั่วเอเชีย โรคไข้สมองอักเสบสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจสารภูมิต้านทาน (Antibody) ในซีรั่ม และ น้ำไขสันหลัง (Cerebro-spinal fluid : CSF) โดยตรวจ IgM ด้วยวิธี ELISA หรือตรวจสารก่อภูมิต้านทาน (Antigen) ทางเนื้อเยื่อโดยวิธีทางอ้อม (Indirect fluorescent antibody staining)

แหล่งข้อมูล:

  1. สธ. เตือน 17 โรคร้าย ระบาดช่วงหน้าฝน สั่ง รพ. คุมเข้มผู้ป่วย ปอดบวมขั้นวิกฤต http://www.naewna.com/local/54132 [2013, June 16].
  2. Japanese encephalitis. http://en.wikipedia.org/wiki/Japanese_encephalitis [2013, June 16].