โรคสมองเสื่อม อัลไซเมอร์ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

สารบัญ

การป้องกัน

ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัด ว่ามีวิธีใดที่ป้องกันโรคอัลไซเมอร์อย่างได้ผล มีการพบว่าอาหารเมดิเตอร์เรเนียน (Mediterranean) ได้แก่ ผักและผลไม้ ขนมปัง ข้าวสาลีและธัญพืชต่างๆ น้ำมันมะกอก ปลา และไวน์แดง สามารถลดความเสี่ยงและช่วงเวลาการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ อีกทั้งกิจกรรมที่ใช้ทักษะทางสติปัญญาเช่นการอ่านหนังสือ เล่นหมากกระดาน เล่นปริศนาอักษรไขว้ เล่นดนตรี สามารถชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์

การบำบัดรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีวิธีการรักษาโรคอัลไซเมอร์ให้หายขาด การรักษาในปัจจุบันเป็นเพียงแค่ประคับประคองหรือบรรเทาเท่านั้น การรักษาในปัจจุบันแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ การรักษาด้วยยา การรักษาทางจิตสังคม และการให้การดูแลผู้ป่วย

  • การรักษาด้วยยา - มียาเพียง 4 ชนิดที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐและยุโรป ที่ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ ได้แก่
    • Donepezil ชื่อการค้าว่า Aricept
    • Ggalantamine ชื่อการค้าว่า Razadyne
    • Rivastigmine ชื่อการค้าว่า Exelon และ
    • Memantine ชื่อการค้าว่า Ebixal
  • การรักษาทางจิตสังคม - ด้วยความทรงจำ ด้านการรู้ หรือ การกระตุ้น ท้ายสุดคือการบำบัดด้วยการให้เหตุผล โดยการยอมรับความเป็นจริงแบ่งออกเป็นวิธีมุ่งเน้นด้านพฤติกรรม เช่นการกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ด้านอารมณ์ เน้นการบำบัด
  • การให้การดูแลผู้ป่วย - เนื่องจากโรคอัลไซเมอร์ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยต้องอาศัยความช่วยเหลือจากผู้อื่น ผู้ดูแลจึงมีความสำคัญในการรักษาและต้องช่วยจัดการดูแลอย่างระมัดระวังตลอดการดำเนินโรค

จะเห็นได้ว่า เมื่อโรคอัลไซเมอร์ ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทางที่ดีเราควรจะป้องกันและชะลอการเกิดโรคสมองเสื่อม โดยการฝึกการใช้สมองบ่อยๆ ตั้งแต่เด็ก เช่น ท่องสูตรคูณ ท่อง ก. ไก่ ข. ไข่ ค. ควาย อ่านหนังสือ ฝึกร้องเพลงโดยการฟังและจำ ในนวัยทำงานอาจท่องบทสวดมนต์ ส่วนผู้สูงอายุก็หมั่นคิดคำนวณเลขบ่อยๆ เพื่อใช้งานเซลล์สมองทำงาน

นายแพทย์ ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวต่อไปว่า สธ. ได้ตั้งเป้าภายใน 3 - 5 ปีข้างหน้า จะเร่งลดอัตราการป่วยเป็นโรคสมองเสื่อมรายใหม่ในกลุ่มผู้สูงอายุ 60 - 70 ปี ให้เหลือไม่เกินร้อยละ 10 โดยมอบให้สถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ กรมการแพทย์ พัฒนาระบบการดูแลและป้องกันอย่างครบวงจร และจะให้ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ที่มี 1 ล้านกว่าคน ตรวจคัดกรองหาผู้ที่มีความเสี่ยงโรคสมองเสื่อม เพื่อนำเข้าสู่ระบบการฟื้นฟู และชะลอการเสื่อมให้เร็วที่สุด เพื่อช่วยลดภาระให้ครอบครัวในที่สุด

แหล่งข้อมูล

  1. คนไทยเสี่ยงสมองเสื่อมเร็วขึ้น แนะฝึกท่องจำ-คิดคำนวณบ่อบครั้ง - http://www.naewna.com/local/40659 [2013, February 24].
  2. Alzheimer's disease - http://www.naewna.com/local/40662 [2013, February 24].
  3. Alzheimer's disease-http://en.wikipedia.org/wiki/Alzheimer's_disease [2013, February 24].