โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ ตอน 1 ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ-1

      

เมนูอร่อย สไตล์สุขภาพ

      

โภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ

ตอน 1 ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ

      

      คนเราเมื่อเกิดมาทุกคนก็ต้องผ่านวัยเด็ก วัยหนุ่มสาว ผู้ใหญ่ และในที่สุดก็เข้าถึงวัยผู้สูงอายุ เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงต่างๆของร่างกาย เป็นการยากที่จะบอกว่าอายุเท่าไหร่จึงจะเป็นวัยผู้สูงอายุ ประเทศไทยมีการเกษียณอายุเมื่ออายุได้ 60 ปี ส่วนประเทศทางตะวันตก ใช้อายุ 65 ปี ในปัจจุบันทั้งสหประชาชาติและองค์การอนามัยโลกตั้งเกณฑ์เพื่อใช้กันทั่วๆไป ผู้สูงอายุคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานสากลทั่วโลก สำหรับประเทศไทยผู้สูงอายุมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ.2558 โดยมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทยประเทศไทยเป็น “สังคมสูงวัย” มาตั้งแต่ปี 2548 และจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ในปี 2564 และจะกลายเป็น “สังคมสูงวัยระดับสุดยอด” เมื่อมีสัดส่วนประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึงร้อยละ 28 ในปี 2574

      ประเทศไทยดูแลผู้สูงอายุฉบับที่2 (พ.ศ.2545-2564) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ว่า “ผู้สูงวัยเป็นหลักชัยของสังคม” คือ เน้นให้ผู้สูงอายุมีชีวิตอย่างมีคุณค่า มีศักดิ์ศรีมีคุณชีวิตที่ดี สามารถพึ่งพาตนเองได้นานที่สุด และสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม หากผู้สูงอายุได้รับอาหารและโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้ผู้สูงอายุเป็นหลักชัยของสังคม กระทรวงสาธารณสุขมีแบบฟอร์มการบันทึกสุขภาพของผู้สูงอายุ ซึ่งส่วนหนึ่งมีการบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ที่สามารถประเมินตนเองได้ว่ามีพฤฒิกรรมการบริโภคเหมาะสมหรือไม่ สามารถประเมินภาวะโภชนาการของผู้สูงอายุแต่ละคนได้ ดังนั้นผู้สูงอายุทุกคนไม่ควรละเลยเกี่ยวกับโภชนาการอาหารการกินมีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวัน เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาของผู้สูงอายุหลายๆด้านมีความสัมพันธ์กับอาหารการกิน เช่น การรับรสอาหารที่เปลี่ยนไป การดูดซึมแคลเซียมลดลง การเปลี่ยนแปลงที่ระบบการย่อยอาหาร สร้างน้ำดีได้น้อย ทำให้ความยากอาหารลดลง มีปัญหาการเคี้ยว กลืนอาหารลำบาก ฟักหัก ความซึมเศร้า ฯลฯ

ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ (Nutrient requirement of old age)

      ชนิดของอาหารในแต่ละกลุ่มมีคุณค่าสารอาหารต่างๆไม่เท่ากันดังนั้นการบริโภคอาหารหลากหลายชนิดในกลุ่มเดียวกันสลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป เป็นหนทางหนึ่งที่จะมีโอกาสได้คุณค่าสารอาหารโดยเฉลี่ยที่เหมาะสมได้ แต่เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่ผู้บริโภคได้รับสารอาหารไม่เพียงพอจึงมีการกำหนดปริมาณของสารอาหารดังต่อไปนี้

1. พลังงาน หลังอายุ 25 ปี อาหารที่กินควรลดปริมาณลงแต่เน้นเรื่องคุณภาพให้มากขึ้น เพราะร่างกายมีการเคลื่อนไหว ออกกำลังกายน้อยลง การทำงานของต่อมต่างๆในร่างกายลดลง ควรรักษาน้ำหนักตัวให้คงที่ ควรรับประทานอาหารที่ให้พลังงานน้อยลง เช่น ไขมัน คาร์โบไฮเดรต ขนมหวาน เพื่อป้องกันโรคอ้วน โรคหัวใจ ไขมันอุดตันในเส้นเลือด กองโภชนาการกรมอนามัย เสนอให้ลดลง 100 กิโลแคลอรี่ทุก10 ปีที่เพิ่มขึ้น ผู้สูงอายุชาย ≥70 ปี ต้องการพลังงานวันละ 1,750 กิโลแคลอรี่ ผู้หญิง อายุ≥70 ปี ต้องการพลังงานวันละ 1,550 กิโลแคลอรี่

      

พลังงานและสารอาหารที่อ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับผู้สูงอายุ
 สารอาหาร
 ผู้สูงอายุชาย≥70 ปี
 ผู้สูงอายุหญิง≥70 ปี
 สารอาหาร
 ผู้สูงอายุชาย≥70 ปี
 ผู้สูงอายุหญิง≥70 ปี
 พลังงาน (กิโลแคลอรี่)
 1,750
 1,550
 วิตามินบี 6 (มิลลิกรัม)
 1.7
 1.5
 โปรตีน (กรัม)
 57
 52
 วิตามินบี 12 (มิลลิกรัม)
 2.4
 2.4
 วิตามินเอ (ไมโครกรัม)
 700
 600
 แคลเซียม (มิลลิกรัม)
 1,000
 1,000
 วิตามินดี (ไมโครกรัม)
 10
 10
 ฟอสฟอรัส (มิลลิกรัม)
 700
 700
 วิตามินซี (ไมโครกรัม)
 90
 75
 เหล็ก (มิลลิกรัม)
 10.4
 94
 วิตามินบี 1 (มิลลิกรัม)
 1.2
 1.1
 แมกนีเซียม (มิลลิกรัม)
 280
 240
 วิตามินบี 2 (มิลลิกรัม)
 1.3
 1.1
 สังกะสี (มิลลิกรัม)
 13
 7
 ไนอาซิน (มิลลิกรัม)
 16
 14
 ไอโอดีน (ไมโครกรัม)
 150
 150

      

ที่มา: คณะกรรมการจัดทำข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย, 2546.

แหล่งข้อมูล:

  1. ประไพศรี ศิริจักรวาล. FBDGs ผู้สูงอายุไทย. ว.สมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 2561;127.
  2. อบเชย วงศ์ทอง. โภชนศาสตร์ครอบครัว.พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2557.