โภชนาการกับการหายของแผล(Nutrition in Wound Care) ตอนที่ 4

โภชนาการกับการหายของแผล

สัดส่วนของพลังงานและสารอาหารที่มีความสัมพันธ์ต่อการหายของแผล

1. พลังงาน ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดและยังรับประทานอาหารทางปากได้ ต้องการพลังงาน 30 – 35 กิโลแคลอรีต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวันหรือประมาณ 2,000 – 3,000 กิโลแคลอรีต่อวัน

2. โปรตีน ซึ่งเป็นแหล่งให้กรดอมิโนที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างร่างกาย การสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวและช่วยในการหายของแผล พบว่าอาหารที่มีโปรตีนสูงจะส่งเสริมการเกิดแรงต้านการแยกกันของขอบแผล

ความต้องการโปรตีนในผู้ใหญ่และเด็กที่มีน้ำหนักเกิน 20 กิโลกรัมมีความต้องการโปรตีน 0.8 – 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัมต่อวัน หรือร้อยละ 15 – 16ของพลังงานทั้งหมดที่ได้รับ

โดยกำหนดเป็นแนวทางดังนี้

การให้อาหารนั้นควรพิจารณาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น อายุ โรคร่วม เพื่อป้องกันมิให้ได้รับสารอาหารเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และความสำคัญอีกหลายๆข้อที่ควรพิจารณาในการดูแลด้านอาหาร เช่น รสชาติอาหาร ความเข้มข้นอาหาร ความสามารถในการย่อยอาหาร และความเฉพาะของโรคต่างๆ

อ้างอิง

วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

รุจิรา สัมมะสุต.หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด ; บริษัทพรการพิมพ์จำกัด ,2541

อนุชตรา วรรณเสวก.พยาบาลโภชนบำบัด Nutrition Support Nurse;2557.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ