โภชนาการกับการหายของแผล(Nutrition in Wound Care) ตอนที่ 1

โภชนาการกับการหายของแผล

บาดแผล (Wound) เป็นบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งในร่างกาย ได้รับการบาดเจ็บหรือถูกทำลาย โดยที่ผิวหนังอาจแยกหรือไม่แยกจากันก็ได้ส่วนเนื้อเยื่อใต้ผิดหนัง หลอดเลือด หรืออวัยวะต่างๆของร่างกาย อาจมีการฉีกขาดร่วมด้วย

การหายของแผลนั้นส่วนหนึ่งต้องได้รับสารอาหารอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะสารอาหารโปรตีน และพลังงาน ที่มีความสำคัญโดยตรงต่อการหายของแผล และภาวะทุพโภชนาการมีความสัมพันธ์กับการเกิดรอยแยกของแผลผ่าตัด ผู้ป่วยที่มีภาวะทุพโภชนาการเพียงเล็กน้อย จะไม่มีผลต่อการหายของแผล แต่หากผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 20 หรือมากกว่าน้ำหนักตัวปกติภายใน 6 เดือน หรือร้อยละ 10 ภายใน 2 เดือนมักจะพบว่าแผลจะหายช้า

ธรรมชาติการหายของแผล

คุณสมบัติหนึ่งที่ทำให้สิ่งมีชีวิตดำรงได้คือ ความสามารถในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายโดยคุณสมบัติ อาศัยกลไก 2 ประการคือ การงอกใหม่จาก cellเดิม หรือทดแทนเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายไปเป็นการซ่อมแซมด้วยการสร้างให้ สำหรับกลไกที่สองคือการสร้างเนื้อเยื่อเพื่อเพิ่มเนื้อเยื่อที่ถูกทำลายเป็นการซ่อมแซมด้วยการสร้างแผล เป็นการใช้กลไกใดขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อเยื่อที่ถูกทำลาย ถ้าเนื้อเยื่อเป็นชนิดที่งอกใหม่ได้ ก็ใช้กลไกการงอกใหม่ ถ้าไม่สามารถงอกได้ใช้กลไกการสร้างใหม่.

อ้างอิง

ระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.

ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

รุจิรา สัมมะสุต.หลักการปฏิบัติด้านโภชนบำบัด ; บริษัทพรการพิมพ์จำกัด ,2541

อนุชตรา วรรณเสวก.พยาบาลโภชนบำบัด Nutrition Support Nurse;2557.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ