โภชนบำบัดกับกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ (ตอนที่ 6)

โภชนบำบัดกับกับภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ปัจจุบันยังไม่มียาที่รักษาภาวะสมองเสื่อมหายขาดได้ การวิจัยทางการแพทย์จะช่วยในการยับยั้งการดำเนินโรคตั้ง เพื่อคงการทำงานของสมองไว้ให้นานที่สุด นอกจากจะรักษาที่ตัวผู้ป่วยเองแล้ว จำเป็นต้องให้การเอาใจใส่ดูแลญาติ หรือผู้ดูแลใกล้ชิดของผู้ป่วย ซึ่งมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าการรักษาตัวผู้ป่วยเช่นกัน เพราะเป็นผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่สุดและทำให้เห็นพฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง

การดูและสุขภาพแบบองค์รวม

  1. จัดอาหารให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารครบ 5 หมู่ ปัญหาที่พบบ่อยในผู้ป่วยสมองเสื่อม คือ การขาดอาหารประเภทโปรตีน ควรรับประทานเนื้อสัตว์ประเภทที่ย่อยง่ายไขมันต่ำ นมไขมันต่ำ หรือไม่มีไขมัน ไข่ขาว เพื่อให้ได้พลังงานและปริมาณโปรตีนที่เพียงพอ
  2. ควรควบคุมน้ำหนักตัวของผู้ป่วยให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
  3. ออกกำลังกายให้เหมาะสมกับโรคและสภาพของผู้ป่วย เช่น การออกกำลังกายโดยการเดินเร็ว ในช่วงเช้าหรือช่วงเย็น เพื่อให้ได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม หรือ กิจกรรมเข้าจังหวะ
  4. ผู้ดูแลควรพาผู้ป่วยไปพบทันตแพทย์ เพื่อประเมินสุขภาพในช่องปากเป็นระยะๆ เพราะปัญหาการเคี้ยวอาหารเป็นปัญหาที่สำคัญ ซึ่งผู้ใกล้ชิดมักมองข้าม
  5. การดูแลและการใช้ยาสำหรับโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่เดิมควรระวังถึงปฏิกิริยาระหว่างยากับยาที่ใช้รักษาภาวะสมองเสื่อมด้วย
  6. การป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ และการเกิดแผลกดทับ
  7. การดูแลสุขภาพจิต หลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ทำให้เกิดความตึงเครียด

อ้างอิง

นัยพินิจ คชภักดี. อาหารฟังก์ชั่นกับการดูแลส่งเสริมสุขภาพและสมอง. การประชุมวิชาการ เรื่อง แนวทางการดูแลสุขภาพและชะลอวัยแบบองค์รวม ; วันที่ 4 กันยายน 2558 ; ณ โรงแรมซากุระแกรนด์วิว สงขลา.

อรพิชญา ไกรฤทธิ์ . Nutritional Therapy for people with dementia . การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ; ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.

เพียงพร เจริญวัฒน์ . งานโภชนบำบัดกับผู้ป่วยสมองเสื่อม . การประชุมวิชาการสมาคมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย เรื่อง งานโภชนาการและโภชนบำบัดกับระบบบริการสุขภาพ ; วันที่ 27 – 29 เมษายน 2558 ; ณ โรงแรมเดอะเบอร์เคลี่ย์. กรุงเทพฯ.