โปรตีนยับยั้งเชื้อเอดส์ (ตอนที่ 4 และตอนจบ)

ในขณะที่ นายแฟรงค์ เวจแมนน์ นักวิทยาศาสตร์จากศูนย์วิจัยวัคซีนสำหรับเอชไอวีของมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด กล่าวว่า ยาซึ่งอาจได้รับการพัฒนามาจากเชื้อนูลล์เบสิกนั้นยังห่างไกลความจริง และการพัฒนายาดังกล่าวเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยนักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องกำหนดรายละเอียดของยีนของผู้ที่จะรับการรักษาด้วย

นายแฟรงค์ เวจแมนน์ ระบุอีกว่า เซลล์ภูมิคุ้มกันในเลือดคือแหล่งสำคัญในการติดเชื้อเอชไอวี หากต้องการรักษาโรคเอดส์ด้วยโปรตีนชนิดใหม่นี้ จำเป็นต้องดัดแปลงให้เซลล์ภูมิคุ้มกันทุกเซลล์สร้างโปรตีนดังกล่าว ส่งผลให้ต้องใช้กระบวนการบำบัดยีนในการรักษาโรคเอดส์ด้วย ทั้งนี้การบำบัดยีนคือทางเลือกซึ่งมีความเสี่ยงสูงและอันตราย

จากสถิติของการติดเชื้อเฮชไอวีในสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์หรือการใช้เข็มร่วมกับคนที่ติดเชื้อ ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

  • รู้ถึงสภาพของตัวเอง – คนที่อายุ 13-64 ปี ควรมีการตรวจเชื้อเฮชไอวีอย่างน้อย 1 ครั้ง แต่ถ้าท่านมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง ควรทำการตรวจเชื้อเฮชไอวีอย่างน้อยปีละครั้ง
  • ถ้าท่านติดเชื้อเฮชไอวี ควรเข้ารับการรักษาเพื่อช่วยให้ร่างกายอยู่ในสภาพแข็งแรงและลดโอกาสแพร่เชื้อให้คนอื่น
  • ถ้าท่านตั้งครรภ์และพบว่ามีการติดเชื้อเฮชไอวี การรับการรักษาจะช่วยลดความเสี่ยงที่ทารกจะติดเชื้อได้
  • งดการมีเพศสัมพันธ์หรือมีเพศสัมพันธ์กับคนๆ เดียวที่ไม่ติดเชื้อเฮชไอวี
  • จำกัดคู่นอนหรือคนที่มีเพศสัมพันธ์ด้วย เพราะจะช่วยลดโอกาสของการติดเชื้อเฮชไอวีหรือโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexually transmitted disease = STD)
  • ใช้ถุงยางอนามัยอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง ถุงยางอนามัย (Latex condoms) จะช่วยป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขณะที่ถุงยางที่ทำจากหนังลูกแกะ (Lambskin condoms) จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้
  • เข้ารับการตรวจเชื้อทั้งตัวคุณและคู่นอน
  • การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (Male circumcision) จะช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อเฮชไอวีจากผู้หญิงไปผู้ชายได้
  • อย่าเสพยาด้วยการใช้เข็มฉีดยา
  • เข้ารับการรักษาตัวทันทีหากคิดว่ามีการติดเชื้อเฮชไอวี บางครั้งอาจป้องกันการติดเชื้อได้ถ้าเริ่มรักษาได้เร็ว หรือที่เรียกว่า การป้องกันการติดเชื้อหลังการสัมผัส (Post-exposure prophylaxis =PEP)

อย่างไรก็ดี นักวิทยาศาสตร์ยังคงต้องทดลองและพิสูจน์ต่อไปว่า จะสามารถนำเชื้อนูลล์เบสิกมาใช้กับสัตว์และมนุษย์ได้ผลหรือไม่ เพราะตอนนี้การทดลองประสบความสำเร็จแค่ในจานทดลองเท่านั้น โดยในแต่ละครั้งที่ทดลอง ผลก็ออกมาน่าพอใจเหมือนกันทุกครั้ง แต่ก็ไม่แน่ว่าในการทดลองกับสัตว์ อาจจะต้องเจอกับอุปสรรค และอาจต้องใช้เวลาพัฒนาอีกหลายปีเลยทีเดียว

แหล่งข้อมูล:

  1. นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียพบวิธีรักษาเอดส์ http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/world/20130117/486210/นักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียพบวิธีรักษาเอดส์.html [2013, September 30].
  2. What is HIV? http://www.cdc.gov/hiv/basics/index.html [2013, September 30]