แอล-คาร์นิทีน ดีจริงหรือ? (ตอนที่ 3)

ศักยภาพในการใช้เป็นยาใน

โรคไต :

  • เนื่องจากไตเป็นตัวสร้างแอล-คาร์นิทีน การเป็นโรคไตจึงสามารถทำให้ระดับแอล-คาร์นิทีนในร่างกายต่ำลงได้ อย่างไรก็ดีควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้

ภาวะไม่เจริญพันธุ์ในเพศชาย (Male infertility) :

  • จำนวนอสุจิที่น้อยเกี่ยวข้องกับระดับแอล-คาร์นิทีนในร่างกายผู้ชาย มีงานวิจัยหลายฉบับที่ระบุว่า อาหารเสริมแอล-คาร์นิทีนช่วยเพิ่มจำนวนอสุจิ

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism / Overactive thyroid) :

  • งานวิจัยบางฉบับระบุว่า แอล-คาร์นิทีน อาจช่วยป้องกันหรือลดอาการไทรอยด์เป็นพิษ เช่น อาการนอนไม่หลับ (Insomnia) กระวนกระวายใจ หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ (Heart palpitations) และอาการใจสั่น (Tremors) อย่างไรก็ดีนักวิจัยคิดว่าแอล-คาร์นิทีนอาจทำงานด้วยการปิดกั้นการทำงานของไทรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งสามารถเป็นอันตรายได้สำหรับบุคคลที่มีระดับไทรอยด์ต่ำ ดังนั้นห้ามใช้แอล-คาร์นิทีนในการรักษาอาการไทรอยด์เป็นพิษโดยปราศจากการดูแลจากแพทย์

นอกจากนี้ บางคนใช้แอล-คาร์นิทีนในการรักษาความผิดปกติของกล้ามเนื้อที่เกิดจากโรคเอดส์ ความผิดปกติในการพัฒนาของสมองที่ทำให้เกิดโรคลมชัก (Rett Syndrome) โรคกลัวอ้วน (Anorexia) ภาวะอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome) โรคเบาหวาน (Diabetes) โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder = ADHD) โรคแผลเรื้อรังที่ขา (Leg ulcers) โรคลายม์ (Lyme disease)

[โรคลายม์ (Lyme disease) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Borrelia spp. ติดต่อโดยการแพร่เชื้อผ่านเห็บ อาการของโรคแตกต่างกันไป ส่วนใหญ่จะมีผื่นขึ้นบนผิวหนังและปวดตามข้อ หรือข้ออักเสบ โรคนี้พบได้ทั่วโลก]

การใช้แอล-คาร์นิทีนอาจเป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้างเคียงได้ เช่น อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง กรดไหลย้อน (Heartburn) ท้องเสีย และชัก นอกจากนี้ยังสามารถทำให้ปัสสาวะ ลมหายใจ และเหงื่อมีกลิ่นคาวปลา

การใช้แอล-คาร์นิทีนในเด็กอาจจะปลอดภัยหากใช้ในระยะเวลาสั้นๆ แต่ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอว่าปลอดภัยสำหรับหญิงที่กำลังตั้งครรภ์และหญิงให้นมบุตรหรือไม่ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยจากผลข้างเคียงควรหลีกเลี่ยงการใช้แอล-คาร์นิทีน

สำหรับการใช้การใช้แอล-คาร์นิทีนในผู้ที่ไทรอยด์เป็นพิษนั้น จะทำให้อาการแย่ลงไปอีก เช่นเดียวกับผู้ที่เคยมีอาการชัก อาจจะทำให้เกิดอาการชักได้อีก ดังนั้นทางที่ดีไม่ควรใช้แอล-คาร์นิทีนเลย

แหล่งข้อมูล:

  1. Find a Vitamin or Supplement L – CARNITINE. - http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-1026-L-CARNITINE.aspx?activeIngredientId=1026&activeIngredientName=L-CARNITINE [2013, May 16].
  2. Carnitine (L-carnitine). - http://www.umm.edu/altmed/articles/carnitine-l-000291.htm [2013, May 16].