แอล-คาร์นิทีน ดีจริงหรือ? (ตอนที่ 2)

แอล-คาร์นิทีนจะทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidant) โดยป้องกันต่อต้านการทำลายเซลล์และดีเอ็นเอ (DNA = Deoxyribonucleic acid) โดยมีศักยภาพในการใช้เป็นยาดังนี้

สภาวะหัวใจ :

  • หลอดเลือดหัวใจตีบ (Angina) การทดลองทางการแพทย์หลายตัวแสดงให้เห็นว่าแอล-คาร์นิทีนสามารถใช้ลดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบได้ และบำบัดให้ผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบออกกำลังกายแล้วไม่มีอาการเจ็บหน้าอก อย่างไรก็ตามอย่ารักษาอาการดังกล่าวด้วยการกินแอล-คาร์นิทีนเอง ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • อาการหัวใจล้ม (Heart attack) มีผลการวิจัยบางตัวที่สนับสนุนว่าคนที่กินแอล-คาร์นิทีนทันทีหลังมีอาการหัวใจวายจะมีอาการหัวใจวาย เจ็บหน้าอก และหัวใจเต้นผิดจังหวะในครั้งต่อไปน้อยลง อย่างไรก็ดีงานวิจัยบางตัวก็ระบุว่าไม่มีผล
  • ภาวะหัวใจล้มเหลว (Heart failure) มีผลการวิจัยไม่กี่ฉบับที่ระบุว่า แอล-คาร์นิทีนสามารถลดอาการหัวใจล้มเหลวและพัฒนาความสามารถในการออกกำลังกายของคนที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวได้ อย่างไรก็ดีกรณีนี้จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมอีกมาก

โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย (PVD = Peripheral Vascular Disease) :

  • โรคที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ในขา อาจทำให้เกิดอาการปวดหรือเป็นตะคริวที่ขาขณะที่กำลังเดินหรือออกกำลังกาย หรือที่เราเรียกว่า อาการปวดขาอันเนื่องมาจากการขาดเลือด (Intermittent claudication) และการลดลงของเลือดที่ไหลไปที่ขาที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายนั้น มีการวิจัยพบว่า แอล-คาร์นิทีน สามารถลดอาการและช่วยให้เดินได้ไกลขึ้นโดยไม่ปวดขา ทั้งนี้เป็นการวิจัยโดยใช้ Propionyl-L-carnitine ซึ่งนักวิจัยก็ยังไม่แน่ใจว่าการใช้แอล-คาร์นิทีนจะให้ผลเหมือนกันหรือไม่

อาการชาตามปลายมือปลาเท้าจากเบาหวาน (Diabetic Neuropathy) :

  • เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงอาจทำลายระบบประสาทของร่างกายได้ โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา และเท้า ซึ่งจะทำให้มีอาการปวดและชา มีงานวิจัยเล็กๆ บางฉบับที่ระบุว่า แอล-คาร์นิทีนอาจช่วยลดอาการปวดและเพิ่มความรู้สึกให้กับระบบประสาท หรืออาจช่วยในการสร้างประสาทใหม่ได้ ซึ่งก็ต้องรอดูผลการวิจัยกันต่อไป

การลดน้ำหนัก :

  • แม้ว่าแอล-คาร์นิทีนจะถูกโฆษณาว่า ช่วยในการลดน้ำหนักก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีผลการยืนยันทางวิทยาศาสตร์ที่จะแสดงว่าสามารถช่วยลดน้ำหนักได้จริง อย่างไรก็ดีงานวิจัยบางฉบับแสดงให้เห็นว่าการกินแอล-คาร์นิทีนสามารถลดมวลไขมัน เพิ่มมวลกล้ามเนื้อ และลดอาการอ่อนเพลีย ซึ่งผลทั้งหมดนี้อาจเป็นการสนับสนุนให้ลดน้ำหนักทางอ้อมได้ในคนบางคน

แหล่งข้อมูล:

  1. Carnitine (L-carnitine). - http://www.umm.edu/altmed/articles/carnitine-l-000291.htm [2013, May 15].