แนวทางการรักษาโรคอ้วน ตอนที่ 8

แนวทางการรักษาโรคอ้วน

การควบคุมน้ำหนักเป็นศิลปะการใช้ชีวิต ผู้ที่มีอ้วนจำเป็นต้องใช้ศิลปะในการปรับตัว ปรับใจและปรับพฤติกรรม ซึ่งจุดมุ่งหมายในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร หรือการออกกำลังกายต่างๆเพื่อลดน้ำหนักและลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนจากความอ้วน

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นจำเป็นต้องมีกระบวนการที่เหมาะสม เริ่มต้นด้วยการตั้งเป้าหมายที่เหมาะสม การติดตามน้ำหนักตัว พฤติกรรมการกินอาหาร การสนับสนุนจากคนรอบข้าง และการรู้จักควบคุมอาหาร ปัจจัยหรือสิ่งเร้ากระตุ้นที่นำไปสู่การกินเพิ่มขึ้น จากการศึกษาของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมพบว่า การปรับเปลี่ยนทั้งพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และกิจกรรมทางกาย มีแนวโน้มที่จะลดน้ำหนักได้ยาวนานกว่า การมุ่งเน้นควบคุมอาหารเพียงอย่างเดียว หรือการเพิ่มกิจกรรมทางกายเพียงอย่างเดียว

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.