แนวทางการรักษาโรคอ้วน ตอนที่ 7

แนวทางการรักษาโรคอ้วน

การออกกำลังกายในผู้ป่วยอ้วน เป็นสิ่งสำคัญที่จำเป็นต้องกล่าวกึง แม้ในด้านการให้ความรู้ด้านการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมแล้ว อย่างไรก็ตามผู้ให้คำแนะนำไม่ควรละเลยเรื่องการออกกำลังกาย การใช้แรงกายซึ่งควรสัมพันธ์กับพยาธิสภาพของผู้ป่วย ลักษณะและรูปร่างของผู้ป่วยเองด้วย

การเพิ่มกิจกรรมทางกายช่วยลดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเมื่อน้ำหนักลด โดยลดลงจาก 25 % เป็น 12 % เมื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอด้วยรุนแรงต่ำถึงปานกลาง

การออกกำลังกายจะช่วยลดน้ำหนักด้วยการเพิ่มส่วนของพลังงานที่ใช้ไป(Energy expenditure) และยังช่วยให้มีอารมณ์แจ่มใส คุณภาพชีวิตดี ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค การออกกำลังอย่างสม่ำเสมอเป็นดัชนีหนึ่งที่จะบ่งชี้ว่า ผู้ป่วยสามารถจะคงน้ำหนักตัวที่ลดลงไว้ได้ หลักการออกกำลังในผู้ป่วยที่อ้วน จะให้เริ่มออกกำลังกายอย่างช้าๆ ค่อยๆเพิ่มระยะเวลาและความเข้มข้นเรื่อยๆจนได้ตามเป้าหมาย คือระดับปานกลาง เช่น การเดินเร็ว 100 - 200 นาที

มีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายในผู้ชายที่อ้วน พบว่าการออกกำลังกายทำให้ สุขภาพของหัวใจและปอดดีขึ้น ถึงแม้ว่าน้ำหนักตัวไม่ลดลงมากก็ตาม และส่งผลถึงอัตราการตายโดยรวมและอัตราการตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือดต่ำกว่าผู้ชายที่มีน้ำหนักปกติ แต่ไม่ได้ออกกำลังกาย

อ้างอิง

ธัญเดช นิมมานวุฒิพงษ์. Nutrition Planning and Determination. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.

ประณิธิ หงสประภาส.การประเมินภาวะโภชนาการ.[อินเทอร์เน็ต ].[เข้าถึงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2558 ] เข้าถึงได้จาก http://med.md.kku.ac.th/site_data/mykku_med/701000016/resume/Nutritional_assessment.doc

ศุภวรรณ บูรณพิร. Obesity in practice . Nutrition Update. สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.