แคลเซียม อาหารเสริมน่าคิด (ตอนที่ 4)

นอกจากนี้ควรระวังการกินแคลเซียมเสริมควบคู่กับยาตัวอื่นด้วย เพราะแคลเซียมอาจทำปฏิกริยากับยานั้นๆ ได้ ทั้งนี้ แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมซิเตรทเป็นแคลเซียม 2 รูปแบบที่นิยมใช้กันทั่วไป เพื่อให้ได้การดูดซึมที่มาก โดยปกติจะแบ่งการกินอาหารแสริมแคลเซียมออกเป็น 2 ครั้งต่อวัน โดยกินร่วมกับอาหารที่ปริมาณ 500 กรัมหรือน้อยกว่า

สำหรับปริมาณการใช้แคลเซียมนั้น The Institute of Medicine ได้แนะนำปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับต่อวัน (Recommended daily allowance = RDA) ไว้ดังนี้

  • อายุ 1-3 ปี ที่ 700 มิลลิกรัม
  • อายุ 4-8 ปี ที่ 1,000 มิลลิกรัม
  • อายุ 9-18 ปี ที่ 1,300 มิลลิกรัม
  • อายุ 19-50 ปี ที่ 1,000 มิลลิกรัม
  • ชายอายุ 51-70 ปี ที่ 1,000 มิลลิกรัม
  • หญิงอายุ 51-70 ปี ที่ 1,200 มิลลิกรัม
  • อายุ 70 ปีขึ้นไป ที่ 1,200 มิลลิกรัม
  • หญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร (อายุน้อยกว่า 19 ปี) ที่ 1,300 มิลลิกรัม
  • หญิงมีครรภ์หรือหญิงให้นมบุตร (อายุ 19-50 ปี) ที่ 1,000 มิลลิกรัม

นอกจากนี้ The Institute of Medicine ยังได้แนะนำปริมาณสูงสุดของสารอาหารที่สามารถรับได้ในแต่ละวัน (Tolerable upper intake level = UL) ดังนี้

  • อายุ 0-6 เดือน ที่ 1,000 มิลลิกรัม
  • อายุ 6-12 เดือน ที่ 1,500 มิลลิกรัม
  • อายุ 1-3 ปี ที่ 2,500 มิลลิกรัม
  • อายุ 9-18 ปี ที่ 3,000 มิลลิกรัม
  • อายุ 19-50 ปี ที่ 2,500 มิลลิกรัม
  • อายุ 51 ปีขึ้นไป ที่ 2,000 มิลลิกรัม

เพราะการได้รับปริมาณแคลเซียมที่เกินกว่ากำหนด อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจได้ ดังนั้นทางที่ดีในแต่ละวันจึงควรควบคุมปริมาณแคลเซียมไว้ที่ไม่เกิน 1,000-1,300 มิลลิกรัม

แหล่งแคลเซียมที่สำคัญมาจากอาหาร ส่วนใหญ่ได้จากผลิตภัณฑ์ของนม เช่น นมไขมันต่ำและนมไขมัน 0% โยเกิร์ต และเนย (Cheese) ส่วนผักใบเขียวและอาหารอื่นก็มีแคลเซียมแต่ในปริมาณที่น้อยกว่า นอกจากนี้น้ำผลไม้บางชนิด อาหารเช้า นมถั่วเหลือง ซีเรียล (Cereals) อาหารขบเคี้ยว (Snacks) ขนมปัง และน้ำขวด ก็อาจมีการเติมแคลเซียมลงไปด้วย ดังนั้นถ้ามีการดื่มนมถั่วเหลืองหรือของเหลวอื่นที่มีการเติมแคลเซียมลงไป ก็อย่าลืมเขย่าขวดก่อนเพราะว่าแคลเซียมอาจตกตะกอนนอนก้นได้

แหล่งข้อมูล

  1. Calcium http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-781-calcium.aspx?activeIngredientId=781&activeIngredientName=calcium[2014, March 26].
  2. Calcium and Vitamin D: What You Need to Know http://nof.org/articles/10[2014, March 26].