เสี่ยงไหมกับเมลาโทนิน (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

เสี่ยงไหมกับเมลาโทนิน-6

กรณีที่ไม่ค่อยได้ผล (Likely Ineffective)

  • ภาวะหดหู่ซึมเศร้า

กรณีที่หลักฐานการวิจัยยังไม่เพียงพอ (Insufficient Evidence)

  • โรคจอประสาทตาเสื่อมเนื่องจากอายุ (Age-related macular degeneration = AMD)
  • โรคสมาธิสั้น (Attention deficit-hyperactivity disorder = ADHD)
  • โรคต่อมลูกหมากโต (Enlarged prostate)
  • โรคไบโพลาร์ (Bipolar disorder)
  • อาการล้าเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome = CFS)
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease = COPD)
  • อาการปวดศีรษะคลัสเตอร์ (Cluster headache)
  • ภาวะเพ้อ (Delirium)
  • อาหารไม่ย่อย (Dyspepsia)
  • ปัสสาวะรดที่นอน (Enuresis)
  • โรคปวดกล้ามเนื้อ (Fibromyalgia)
  • ภาวะกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease = GERD)
  • โรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome = IBS)
  • อาการวัยหมดประจำเดือนv
  • เลิกบุหรี่
  • โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis)
  • ชะลอความแก่ (Aging)

ข้อควรระวังเกี่ยวกับเมลาโทนิน

  • อาจไม่ปลอดภัยต่อหญิงมีครรภ์และหญิงให้นมบุตร
  • ทำให้ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding disorders) แย่ลง
  • ทำให้ภาวะหดหู่ซึมเศร้าแย่ลง
  • ทำให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นในคนที่เป็นโรคเบาหวาน
  • ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นในคนที่กินยาคุมความดันอยู่
  • เพิ่มความเสี่ยงของอาการชัก
  • ขัดขวางวิธีการรักษาด้วยการกดภูมิคุ้มกัน (Immunosuppressive therapy) ในผู้ป่วยที่มีการปลูกถ่ายอวัยวะ

แหล่งข้อมูล:

  1. MELATONIN. https://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-940-melatonin.aspx?activeingredientid=940 [2017, November 3].