สาระน่ารู้จากหมอตาตอน ต้อกระจกเหตุจากเบาหวาน (Diabetic Cataract)

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-23

ต้อกระจกส่วนมากพบในผู้สูงอายุ แต่ในผู้ป่วยโรคเบาหวานมักจะพบต้อกระจกในอายุที่น้อยกว่าคนทั่วไป อีกทั้งในผู้ป่วยเบาหวานบางราย ต้อกระจกนอกจากเกิดในอายุน้อยแล้วยังขุ่นมัวอย่างรวดเร็ว มีผู้อธิบายถึงพยาธิกำเหนิดของต้อกระจกในผู้ป่วยเบาหวานว่า อาจเกิดจาก

1. ภาวะแรงดัน osmotic กล่าวคือ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูง มีการคั่งของ sorbitol ในเลือดสูง อันเป็นผลจากกระบวนการของ aldose reductase ทำให้มี sorbitol ค้างมาก เกิดแรงดัน osmosis ทำให้การบวมของเซลส์และตัวเซลล์ถูกทำลายโดยมีการแตกของเซลล์ ทำให้แก้วตาขุ่นมัวทันที โดยเฉพาะส่วนของ cortex เกิดภาวะ acute cortical opacity ของแก้วตา หรือบางรายเกิดเป็น subcapsular opacity

2. เป็นจากภาวะ direct damage จากการที่น้ำตาลในเลือดสูง ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับ lens protein มีกระบวนการ glycosylation ทำให้ lens protein ไหลไปรวมกัน (aggregation) บริเวณ nuclear ของ lens ก่อให้เกิด nuclear cataract

โดยสรุป Diabetic Cataract อาจมาพบแพทย์ด้วยอาการของการเกิดต้อกระจกที่ค่อนข้างฉับพลันแบบ acute cortical cataract หรือ subcapsular cataract จาก osmotic effect หรือแม้แต่ nuclear cataract จากผลโดยตรงที่มีต่อ lens protein เกิด nuclear cataract จากการมี glycosylation ใน lens protein