สาระน่ารู้จากหมอตา ตอน จอตาเสื่อมจากแสงอาทิตย์( Solar retinopathy )

เรื่องน่ารู้จากหมอตา-13

ชาวอเมริกันกำลังตื่นกับการดูสุริยุปราคา นัยว่าไม่มีมากว่า 90 ปี หมอตาเริ่มกังวลกับผู้คนที่มักพยายามดูสุริยุปราคา โดยไม่คำนึงถึงอันตรายต่อดวงตา เท่าที่นึกออกสุริยุปราคาล่าสุดที่เห็นในประเทศไทยเมื่อ ปี 2538 ในตอนนั้นจักษุแพทย์ไทยพยายามประชาสัมพันธ์ให้ระวังในการดูเหมือนกัน ได้ผลดีพอสมควรจากการไม่ค่อยพบปัญหานี้มากนัก

แสงอาทิตย์ให้พลังสูงมากมายังโลก คลื่นแสงขนาด 400 – 1400 nm สามารถผ่านจากตาส่วนหน้าไปถึงจอตาได้แสงขนาด 300 – 400 nm ส่วนมากจะถูกดูดซับไว้ด้วยกระจกตาและแก้วตา ส่วนน้อยอาจไปถึงจอตาได้ หากจ้องดูสุริยุปราคาพลังจากแสงอาทิตย์ทำให้เกิดภาวะ solar retinopathy โดยส่วนใหญ่เกิดที่ fovea ซึ่งเป็นส่วนที่เห็นชัดที่สุดในจอตา โดยเชื่อว่าก่อให้เกิดปฏิกิริยา photochemical ขึ้นจากรังสีที่เข้าถึงจอตา ส่วนใหญ่เป็นรังสี UV และแสงสีฟ้า โดยที่ไม่ใช่จากการเผาไหม้ (photocoagulah) อย่างเดียว แต่มี photo oxidation เกิดปฏิกิริยาทางเคมีต่อเนื้อเยื่อในจอตา พยาธิสภาพที่เกิดในจอตาตามตำรา กล่าวกันว่าเกิดที่ส่วน outer segment ของชั้น photoreceptor cell ก่อน คล้ายๆ วงจรของปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นในกระบวนการเห็น ในปัจจุบันเรามีเครื่องมือการตรวจจอตาให้ภาพตัดขวางที่เรียก OCT (optical coherent tomography) สามารถแสดงให้เห็นถึงพยาธิสภาพบริเวณ outer และ inner segment ของ photoreceptor cells โดยมีรายงานในวารสารต่างประเทศ ผู้ป่วยรายหนึ่งที่มีประวัติจ้องแสงอาทิตย์ต่อเนื่องเป็นเวลานาๆ พบพยาธิสภาพที่บริเวณ fovea ซึ่งตรวจ OCT พบรอยโรคที่ผิดปกติมีรอยต่อกับบริเวณปกติชัดเจน โดยพบเป็น band เกิดจากรอยแยกระหว่างชั้น inner ออกจาก outer segment ของ photoreceptor cell ชัดเจนกับผู้ป่วยเด็กอีกรายที่จ้องดูสุริยุปราคา พบมีรอยแยกระหว่าง outer และ inner segment ของชั้น photoreceptor ชัดเจน

ภาวะ solar retinopathy มีรายงานกันมานาน มีผู้สันนิษฐานว่า กาลิเลโอ เจ้าพ่อดาราศาสตร์มีตาบอด น่าจะเป็นผลจากส่องดูดาว ดูดวงอาทิตย์บ่อยๆ ในช่วงเกิดสุริยุปราคาอาจจะพบภาวะมี........ขึ้น แต่มีพบประปรายในคนที่ถือศาสนาบูชาพระอาทิตย์ หรือผู้ที่มีภาวะทางจิตที่ชอบจ้องมองดวงอาทิตย์

เท่าที่รายงานภาวะนี้ส่วนมากในระยะแรกตาอาจพร่ามัว เห็นภาพบิดเบี้ยว มีจุดบอดตรงกลาง เห็นสีเพี้ยนไป นานเข้ามักจะค่อยๆ ดีขึ้น และมีบางรายเหลือร่องรอยเล็กน้อย หรือบางรายที่จ้องดวงอาทิตย์นานๆ สายตามักเสียมากและอาจไม่กลับคืน

ไม่มีวิธีรักษาภาวะนี้ แต่ให้กระบวนการของร่างกายปรับตัวเอง การใช้สิ่งกรองแสงในการดูสุริยุปราคาจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ แม้ว่าไม่ป้องกันได้เต็ม 100 ก็ตาม อีกทั้งความรุนแรงของโรคยิ่งขึ้นกับเวลาที่สัมผัส จึงไม่ควรจ้องพระอาทิตย์นานเกินไป