“โมบ้า” ไม่น่าคบ (ตอนที่ 3)

เด็กติดเกมส์_โมบ้า-3

คนติดเกมจะใช้เกมในการติดต่อกับคนอื่นผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีเพื่อนและมีกิจกรรมทางออนไลน์ บางเกมอาจจะใช้คนเล่นจำนวนมากที่ต้องเข้าระบบ (Log on) ในเวลาพร้อมๆ กัน ใช้เวลาเล่นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งจากสถิติพบว่า เด็กผู้ชายและผู้ชายจะมีการติดเกมมากกว่าเด็กผู้หญิงและเด็กหญิง โดยร้อยละ 10 ของผู้เล่นเกม (อายุระหว่าง 8-18 ปี) จะกลายเป็น “คนติดเกม”

ทั้งนี้ สัญญานหรือลักษณะอาการของคนติดเกม ได้แก่

  • กังวลอยู่กับเกม (คิดถึงเกมที่เล่นไปแล้วหรือเกมในช่วงต่อไป)
  • ใช้เวลาอยู่กับเกมมากขึ้น
  • เล่นเกมแบบหยุดไม่ค่อยได้หรือควบคุมไม่ได้
  • รู้สึกกระสับกระส่าย ทุรนทุราย อารมณ์เสีย หงุดหงิด หรือซึมเศร้าหดหู่ เมื่อพยายามที่จะลดการเล่นเกม
  • เล่นนานกว่าที่ตั้งใจไว้
  • มีความเสี่ยงในการขาดความสัมพันธ์ ขาดงาน ขาดเรียน เพราะมัวแต่เล่นเกม
  • พูดโกหกกับครอบครัว เพื่อน หรือแพทย์ผู้รักษา เพื่อปกปิดถึงการเล่นเกม
  • ใช้เกมเป็นทางหนีจากปัญหาหรือปลดปล่อยอารมณ์ที่ผิดปกติ (Dysphoric mood) เช่น หมดหวัง ละอายใจ วิตกกังวล ซึมเศร้าหดหู่
  • ส่วนในเด็กจะมีลักษณะเพิ่มเติม ได้แก่

  • อ่อนเพลีย หรือง่วงระหว่างเรียน
  • ทำการบ้านไม่เสร็จหรือส่งการบ้านไม่ทันกำหนด
  • เกรดต่ำลงหรือสอบตก
  • เลิกกิจกรรมที่โรงเรียน เลิกเล่นกีฬาอื่น
  • แยกตัวต่างหากจากครอบครัวและเพื่อนเพื่อไปเล่นเกม
  • โดยผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงในการเป็นคนติดเกม ได้แก่

  • เพศชาย
  • เด็กและวัยรุ่น
  • ผู้ที่ปัญหาทางด้านจิตใจ เช่น ซึมเศร้า วิตกกังวล การมีความภาคภูมิใจในตัวเองต่ำ (Low self-esteem)
  • ผู้ที่มีเวลาว่างมาก
  • ผู้ที่มีบุคลิกภาพแบบหวั่นไหว (Neuroticism)
  • เด็กที่มีทักษะทางสังคม (Social skills) อ่อน
  • แหล่งข้อมูล:

    1. Computer Game Addiction - Symptoms, Treatment, & FAQs http://www.addictionrecov.org/Addictions/?AID=45 [2017, October 12].
    2. Video Games. http://www.addictionrecov.org/Addictions/?AID=45 [2017, October 12].