เด็กจ้ำม่ำ น่ารักแต่ก็น่ากลัว (ตอนที่ 3)

เด็กจ้ำม่ำ น่ารักแต่ก็น่ากลัว
  • ถ้า BMI อยู่ระหว่าง 85-94 เปอร์เซ็นไทล์ (Percentile) ถือว่า เด็กมีน้ำหนักตัวเกิน (Overweight)
  • ถ้า BMI อยู่ที่ 95 เปอร์เซ็นไทล์ ขึ้นไป ถือว่า เด็กเป็นโรคอ้วน (Obesity)
  • นอกจากนี้ อาจทดสอบด้วยการวัด ความหนาของไขมันใต้ผิวหนัง (Skin-fold-thickness measurement)
  • อัตราส่วนรอบเอวต่อรอบสะโพก (Waist-to-hip-circumference ratio)
  • การวัดสภาพการลอยตัวเป็นกลางหรือสภาพไร้น้ำหนัก (Neutral buoyancy / water displacement)

สำหรับสาเหตุของโรคอ้วนในเด็กนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากการใช้ชีวิต (Lifestyle) ที่มีการกินมากแต่ออกกำลังน้อย โดยมีปัจจัยเสี่ยงร่วมดังต่อไปนี้

  • อาหาร (Diet) – มีการกินอาหารที่มีแคลอรี่สูงเป็นประจำ เช่น อาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมคบเคี้ยวของว่าง ลูกกวาด ขนมหวาน เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
  • ขาดการออกกำลังกาย – ทำให้ไม่มีการเผาผลาญแคลอรี่ ใช้เวลากับกิจกรรมที่ไม่ค่อยเคลื่อนไหว (Sedentary activities) เช่น ดูโทรทัศน์ หรือเล่นเกมส์
  • ปัจจัยทางพันธุกรรม– เช่น กลุ่มอาการเพรเดอร์-วิลลี (Prader-Willi syndrome) โดยงานวิจัยล่าสุดส่วนใหญ่ระบุว่า หากเด็กมีพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งที่เป็นโรคอ้วนแล้ว เด็กก็มักจะมีโอกาสอ้วนมากกว่าคนปกติ 3 เท่า แต่ถ้ามีทั้งพ่อและแม่ที่เป็นโรคอ้วนแล้ว โอกาสจะสูงเป็น 10 เท่า
  • ปัจจัยทางครอบครัว – ถ้ามาจากครอบครัวที่อ้วน เด็กก็มักจะอ้วน เพราะอยู่ในสภาพแวดล้อมครอบครัวที่อุดมไปด้วยอาหารที่มีแคลอรี่สูงและไม่ส่งเสริมการออกกำลังกาย
  • ปัจจัยด้านจิตใจ (Psychological factors) – เช่น ความเครียดของตัวเอง ของพ่อแม่ และของครอบครัว สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนของเด็ก เพราะเด็กบางคนจะใช้วิธีกินเพื่อรับมือกับปัญหาหรืออารมณ์
  • ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ (Socioeconomic factors) – เช่น บางกลุ่มอาจมีข้อจำกัดในเรื่องการหาของกินหรืออยู่ไกลจากซูเปอร์มาร์เก็ต จึงเลือกอาหารที่กินง่ายๆ เช่น อาหารแช่แข็ง ขนมปัง คุ๊กกี้ หรือบางกลุ่มอาจมีข้อจำกัดในการหาสถานที่ออกกำลังกาย

ทั้งนี้ โรคอ้วนในเด็กอาจก่อให้เกิดผลแทรกซ้อนได้ ดังนี้

ผลแทรกซ้อนทางสุขภาพ โดยทำให้มีปัญหาเรื่อง

  • โรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)
  • กลุ่มอาการอ้วนลงพุงหรือกลุ่มอาการทางเมตาบอลิก (Metabolic syndrome) ซึ่งเป็นเหตุให้เด็กมีความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง คลอเรสเตอรอลสูง และอื่นๆ

แหล่งข้อมูล

1. Childhood obesity. http://www.who.int/dietphysicalactivity/childhood_consequences/en/ [2017, March 1].

2. Childhood Obesity. http://www.medicinenet.com/childhood_obesity/article.htm [2017, March 1].