เซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ (Serotonin antagonists)

สารบัญ บทความที่เกี่ยวข้อง

บทนำ

อาจกล่าวอย่างง่ายๆว่า เซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ (Serotonin antagonist) เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต่อการทำงานของเซโรโทนิน รีเซ็ปเตอร์ (Serotonin receptors หรือ 5-hydroxytryptamine receptors หรือย่อว่า 5-HT receptors ก็ได้) ซึ่งเป็นตัวรับสารสื่อประสาทที่พบอยู่ในสมองและตามปลายประสาทของร่างกาย สามารถแบ่งกลุ่มเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ได้ดังต่อไปนี้

1. 5-HT2A antagonists มีการนำยาในกลุ่มนี้ไปรักษาไมเกรนและอาการทางจิตประสาท ตัวอย่างยาได้แก่ Methysergide, Quetiapine

2. 5-HT2A/2C antagonists ถูกนำไปใช้รักษาความดันโลหิตสูง อาการซึมเศร้า และอาการทางจิตประ สาท ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Ketanserin, Risperidone, Trazodone, Clozapine

3. 5-HT3 antagonists เป็นกลุ่มยาที่นำมาบำบัดอาการคลื่นไส้อาเจียนที่มีสาเหตุมาจากยาเคมีบำบัด หรือรังสีรักษา หรือหลังจากที่คนไข้เข้ารับการผ่าตัด ยาบางตัวในกลุ่มนี้ถูกนำมารักษาอาการโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Dolasetron, Granisetron, Ondansetron, Palonosetron, Tropisetron, Alosetron, Cilansetron

4. Non-selective 5-HT antagonists เป็นกลุ่มยาที่นำมารักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน เป็นยารักษาความดันโลหิตสูง รวมถึงรักษาอาการการทำงานของระบบประสาทผิดปกติ ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Methysergide, Chlorpromazine, Pizotifen, Oxetorone, Spiprone, Ritanserim, Parachlorophe nylalanine, Metergoline, Propranolol, Miansein

5. Serotonin anatagonists acting as antihistamines เป็นกลุ่มยาที่ออกฤทธิ์ต้านสารฮีสตามีน(Histamine) มีฤทธิ์ลดอาการผื่นคัน อาการเมารถเมาเรือ ในบางคราวก็นำยาบางตัวมารักษาอาการปวดหัวไมเกรนด้วยเช่นกัน ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ได้แก่ Carbinoxamine, Cyproheptadine, Methdi lazine, Promethazine, Pizotifen, Oxetorone

อนึ่ง ยาในกลุ่มนี้นอกจากจะมีการออกฤทธิ์ที่ตัวรับ (Receptors) แตกต่างกันออกไปแล้ว ยาบางตัวยังมีฤทธิ์การรักษาได้มากกว่า 1 อาการโรค การเลือกใช้ยาในกลุ่มนี้จึงต้องขึ้นกับแพทย์ผู้รักษาที่จะเป็นผู้คัดกรองได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัยกับผู้ป่วยมากที่สุด

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีสรรพคุณ (คุณสมบัติ) อย่างไร?

เซโรโทนิน-แอนตาโกนิสต์

ยาในกลุ่มเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีสรรพคุณดังนี้

  • ใช้บำบัดอาการทางจิตประสาทเช่น โรคจิตเภท (Schizophrenia), โรคอารมณ์สองขั้ว(Bipolar disorder) และรักษาอาการซึมเศร้าเช่น Quetiapine
  • บำบัดและป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรนเช่น Pizotifen, Oxetorone
  • รักษาโรคความดันโลหิตสูงเช่น Propranolol, Ketansenin
  • ใช้เป็นยารักษาอาการแพ้ต่างๆ อาการของไข้ละอองฟาง (Hay fever, โรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง) บรรเทาอาการอาเจียน หรือช่วยเพิ่มความอยากอาหาร เช่น Cyproheptadine
  • ลดอาการข้างเคียงในผู้ป่วยยาเคมีบำบัด รังสีรักษา หรือผู้ป่วยที่เพิ่งได้รับการผ่าตัด ซึ่งผู้ ป่วยทั้ง 3 กลุ่ม มักพบอาการคลื่นไส้ อาเจียนอย่างมาก ตัวอย่างยาที่บำบัดอาการเหล่านี้เช่น Dilase tron, Granisetron
  • รักษาโรคลำไส้แปรปรวน (Irritable bowel syndrome) เช่น Alosetron และ Cilansetron

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธิ์อย่างไร?

เซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีกลไกการออกฤทธ์โดย ตัวยาจะออกฤทธิ์ที่ตัวรับที่อยู่ตามปลายประสาทของร่างกายหรือในสมอง ซึ่งจะมีผลต่อสารสื่อประสาทต่างๆที่หลั่งออกมาตามอวัยวะของร่างกาย (เช่น Serotonin) และส่งผลให้อวัยวะเหล่านั้นตอบสนองต่อสารสื่อประสาทแต่ละชนิด จึงทำให้บรรเทาอาการป่วยและมีฤทธิ์รักษาตามสรรพคุณที่หลากหลาย

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายอย่างไร?

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีรูปแบบการจัดจำหน่ายดังนี้

  • ยาเม็ด ขนาด 0.5, 4, 8, 10, 40 มิลลิกรัม/เม็ด
  • ยาแคปซูล ขนาด 4 มิลลิกรัม/แคปซูล
  • ยาน้ำ ขนาด 0.5 มิลลิกรัม/10 มิลลิลิตร
  • ยาน้ำ ขนาด 2 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร
  • ยาฉีด ขนาดความแรง 8 มิลลิกรัม/4 มิลลิลิตร
  • และยังมีรูปแบบของการจัดจำหน่ายอีกมากมายที่ขอไม่กล่าวถึง

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีขนาดรับประทานอย่างไร?

ด้วยในกลุ่มยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ มีตัวยาหลายรายการ ขนาดรับประทานจึงขึ้นกับการพิจารณาของแพทย์ โดยต้องอาศัยข้อมูลของตัวผู้ป่วย (เช่น อายุ ชนิด และความรุนแรงของอาการ) รวมกับเลือกใช้ยาให้ตรงตามอาการและมีความปลอดภัยมากที่สุด ดังนั้นการรับประทานจึงต้องเป็น ไปตามดุลยพินิจของแพทย์ผู้รักษาเท่านั้น

เมื่อมีการสั่งยาควรแจ้งแพทย์/พยาบาลและเภสัชกรอย่างไร?

เมื่อมีการสั่งยาทุกชนิดที่รวมถึงยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ ผู้ป่วยควรแจ้งแพทย์/พยาบาล และเภสัชกรดังนี้

  • ประวัติแพ้ยาทุกชนิดเช่น กินยาแล้ว คลื่นไส้มาก ขึ้นผื่น หรือแน่นหายใจติดขัด/หายใจลำบาก
  • มีโรคประจำตัวต่างๆรวมทั้งกำลังกินยาอะไรอยู่ เพราะยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์อาจส่งผลให้อาการของโรคเหล่านั้นรุนแรงขึ้น หรือเกิดปฏิกิริยาระหว่างยากับยาอื่นๆที่กินอยู่ก่อน
  • หากเป็นสุภาพสตรีควรแจ้งว่าอยู่ในภาวะตั้งครรภ์หรือกำลังให้นมบุตร เพราะยาหลายประเภทสามารถผ่านทางน้ำนมหรือรกและเข้าสู่ทารก จนก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

หากลืมรับประทานยาควรทำอย่างไร?

หากลืมรับประทานยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์สามารถรับประทานเมื่อนึกขึ้นได้ ถ้าเวลา ใกล้เคียงกับการรับประทานยาในมื้อถัดไป ไม่จำเป็นต้องเพิ่มปริมาณยาเป็น 2 เท่า

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีผลไม่พึงประสงค์อย่างไร?

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์อาจก่อให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ (ผลข้างเคียง/อาการข้าง เคียง) ดังนี้เช่น ท้องเสียหรือไม่ก็ท้องผูก วิงเวียน ปวดศีรษะ อ่อนเพลียและง่วงนอน เป็นตะคริว อารมณ์หงุดหงิด มีการเปลี่ยนแปลงของคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ปากแห้ง อยากอาหารบ่อย น้ำหนักตัวเพิ่ม วิตกกังวล ซึมเศร้า คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย การมองเห็นภาพผิดปกติ เจ็บหน้าอก ชัก ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ สะอึก ถ้าตรวจเลือดจะพบตับทำงานผิดปกติ เป็นต้น

มีข้อควรระวังการใช้ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์อย่างไร?

มีข้อควรระวังการใช้ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ดังนี้

  • ห้ามใช้กับผู้ที่แพ้ยากลุ่มเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์
  • ห้ามแบ่งยานี้ให้ผู้อื่นใช้
  • ห้ามปรับเปลี่ยนขนาดรับประทานเอง
  • การใช้ยานี้ในสตรีตั้งครรภ์ สตรีที่อยู่ในภาวะให้นมบุตร เด็ก และผู้สูงอายุ จะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง ด้วยยาหลายตัวห้ามใช้กับผู้ป่วยดังกล่าว แพทย์เท่านั้นที่จะเป็นผู้คัดเลือกตัวยาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย
  • ระวังการใช้ยานี้กับผู้ที่มีโรคประจำตัวเช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคต้อหิน ผู้ที่มีอาการปัสสาวะขัด รวมถึงโรคอื่นๆอีกหลายประเภท จึงไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนเสมอ
  • การใช้ยากลุ่มนี้ทุกตัวจะมีระยะเวลาของการรักษา หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้นหลังจากการใช้ยาใน 7 - 10 วัน หรืออาการเลวลง ควรกลับไปปรึกษาแพทย์/ไปโรงพยาบาลเพื่อแพทย์ได้ประเมินเพื่อปรับเปลี่ยนการรักษาใหม่
  • ห้ามใช้ยาที่หมดอายุ

***** อนึ่ง ทุกคนต้องตระหนักถึงความปลอดภัยจากการใช้ ”ยา” ที่รวมถึงยาแผนปัจจุบันทุกชนิด (รวมยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ด้วย) ยาแผนโบราณทุกชนิด และสมุนไพรต่างๆเสมอ เพราะยามีทั้งให้คุณและให้โทษ ดังนั้นเมื่อมีการใช้ยาทุกครั้งควรต้องปฏิบัติตามข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิดเสมอ (อ่านเพิ่มเติมได้ในเว็บ haamor.com บทความเรื่อง ข้อปฏิบัติพื้นฐานในการใช้ยาทุกชนิด) รวมทั้งควรต้องปรึกษาเภสัชกรประจำร้านขายยาก่อนซื้อยาใช้เองเสมอด้วยเช่นกัน

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นอย่างไร?

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีปฏิกิริยาระหว่างยากับยาตัวอื่นได้หลายชนิดขี้นกับแต่ละตัวยา และเนื่องจากตัวยาในกลุ่มยานี้มีหลากหลายชนิด ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างเฉพาะยาที่ใช้บ่อยดังนี้

  • การรับประทาน Ondansetron ร่วมกับยากันชักเช่น Carbamazepine, Phenytoin หรือยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย/ยาปฏิชีวนะ เช่น Rifampicin สามารถลดความเข้มข้นของออนดาเซทรอนจนอาจทำให้ฤทธิ์การรักษาของออนดาเซทรอนลดลง แพทย์จะเป็นผู้ปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีไป
  • การรับประทาน Propranolol ร่วมกับยารักษาโรคเอชไอวี เช่น Atazanavir อาจเพิ่มความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะมีอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ วิงเวียน เป็นลม ซึ่งเมื่อมีอาการควรต้องปรึกษาแพทย์เพื่อปรับขนาดยาเพื่อให้สอดคล้องกับอาการของผู้ป่วย
  • การใช้ Cyproheptadine ร่วมกับยารักษาอาการวิตกกังวล เช่น Diazepam, Lorazepam จะส่งผลให้เพิ่มผลข้างเคียงจากยารักษาอาการวิตกกังวล เช่น มีอาการง่วงนอนและมีฤทธิ์สงบประสาทมากขึ้น จึงควรเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
  • การใช้ Pizotifen ร่วมกับยาบางกลุ่มจะทำให้เกิดอาการง่วงนอนเป็นอันมาก ซึ่งยากลุ่มดังกล่าว เช่น กลุ่ม Antihistamine ยารักษาโรคทางจิตเวช ยาต้านการชัก ยาบรรเทาอาการปวด/ยาแก้ปวดที่มีฤทธิ์เป็นยาเสพติด กลุ่มยาสงบประสาท/ยาคลายเครียด และยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นต้น หากเป็นไป ได้ควรเลี่ยงการใช้ร่วมกับยากลุ่มดังกล่าว หรือแพทย์ปรับขนาดการรับประทานให้เหมาะสมเป็นกรณีๆไป
  • การใช้ Serotonin antagonists ร่วมกับการดื่มแอลกอฮอล์มักก่อให้เกิดอาการวิงเวียน ง่วงนอน เวียนศีรษะอย่างมาก จึงห้ามรับประทานยากลุ่มนี้ร่วมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด

ควรเก็บรักษายาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์อย่างไร?

ควรเก็บยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ภายใต้อุณหภูมิที่เย็น (ในตู้เย็น) แต่ห้ามเก็บยาในช่องแช่แข็ง เก็บยาในภาชนะที่ปิดมิดชิด พ้นแสงแดด ความร้อนและความชื้น เก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง และไม่ควรเก็บยาในห้องน้ำ

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์มีชื่ออื่นอีกไหม? ผลิตจากบริษัทอะไรบ้าง?

ยาเซโรโทนิน แอนตาโกนิสต์ที่จำหน่ายในประเทศไทย มียาชื่อการค้าและบริษัทผู้ผลิต เช่น

ชื่อการค้า บริษัทผู้ผลิต
Chlorpromazine GPO (คลอโพรมาซีน จีพีโอ)GPO
Chlorpromed (คลอโพรเมด)Medifive
Matcine (แมทซีน)Atlantic Lab
Pogetol (โพจีทอล)Central Poly Trading
Anorsia (เอนอร์เซีย)Asian Pharm
Bozo (โบโซ)T. Man Pharma
Manzofen (แมนโซเฟน)T. Man Pharma
Migrin (ไมกรีน)Utopian
Mosegor (โมสกอร์)Novartis
Moselar (โมสลาร์)Milano
Mozifen-EF (โมซิเฟน-อีเอฟ)T.O. Chemicals
Pizomed (พิโซเมด)Medifive
Alperol (อัลพิรอล)Pharmasant Lab
Betalol (เบตาลอล)Berlin Pharm
Betapress (เบตาเพรส)Polipharm
C.V.S. (ซี.วี.เอส)T. Man Pharma
Cardenol (คาร์ดินอล)T.O. Chemicals
Chinnolol (ชินโนลอล)Chinta
Emforal (เอ็มโฟรอล)Remedica
Idelol 10 (ไอดิลอล 10)Medicine Products
Inderal (อินดิรอล)AstraZeneca
Normpress (นอร์มเพรส)Greater Pharma
Palon (พาลอล)Unison
Perlol (เพอร์ลอล)Asian Pharm
P-Parol (พี-พารอล)Osoth Interlab
Pralol (พราลอล)Pharmasant Lab
Prolol (โพรลอล)Atlantic Lab
Pronalol (โพรนาลอล)Burapha
Propanol (โพรพานอล)Utopian
Propranolol GPO (โพรพาโนลอล จีพีโอ)GPO
Proral (โพรรอล)Utopian
Syntonol (ซินโทนอล)Codal Synto
Anpro (แอนโปร)The Forty-Two
Cycodine (ไซโคดีน)Utopian
Cyheptine (ไซเฮปทีน)Greater Pharma
Cyprocap (ไซโปรแคป)SSP Laboratories
Cyprodine (ไซโปรดีน)A N H Products
Cyprogin (ไซโปรจิน)Atlantic Lab
Cyproheptadine Asian Pharm (ไซโปรเฮปตาดีน เอเซียน ฟาร์ม)Asian Pharm
Cyproheptadine Asian Union (ไซโปรเฮปตาดีน เอเซียน ยูเนียน)Asian Union
Cyproheptadine K.B. (ไซโปรเฮปตาดีน เค.บี.)K.B. Pharma
Cyproheptadine MacroPhar (ไซโปรเฮปตาดีน มาโครฟาร์)MacroPhar
Cyproheptadine Medicine Products (ไซโปรเฮปตาดีน เมดิซีน โปรดักซ์)Medicine Products
Cyproheptadine Medicpharma (ไซโปรเฮปตาดีน เมดิกฟาร์มา)Medicpharma
Cyproheptadine T Man (ไซโปรเฮปตาดีน ที แมน)T. Man Pharma
Cypronam (ไซโปรแนม)SSP Laboratories
Cyprono (ไซโปรโน)Milano
Cypropicco (ไซโปรพิคโค)Picco Pharma
Dantron 8 (แดนทรอน 8)Unison
Emeset (เอเมเซท)Cipla
Emistop (เอมิสตอป)Claris Lifesciences
Ondavell (ออนดาเวล)Novell Pharma
Onsia (ออนเซีย)Siam Bheasach
Zetron (ซีทรอน)Biolab
Zofran/Zofran Zydis (โซฟราน/โซฟราน ไซดีส)GlaxoSmithKline

บรรณานุกรม

1 http://en.wikipedia.org/wiki/Serotonin_antagonist [2014,Nov15]
2 http://en.wikipedia.org/wiki/Granisetron [2014,Nov15]
3 http://en.wikipedia.org/wiki/Pizotifen [2014,Nov15]
4 http://en.wikipedia.org/wiki/Propranolol [2014,Nov15]
5 http://en.wikipedia.org/wiki/Dolasetron [2014,Nov15]
6 http://en.wikipedia.org/wiki/Ketanserin [2014,Nov15]
7 http://en.wikipedia.org/wiki/Cyproheptadine [2014,Nov15]
8 http://www.webmd.com/cancer/serotonin-antagonists-5-ht3-receptor-antagonists [2014,Nov15]
9 http://www.myvmc.com/treatments/5-ht3-receptor-antagonists-serotonin-blockers/ [2014,Nov15]
10 http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_adverse_effects_of_risperidone [2014,Nov15]