เชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล (ตอนที่ 2)

แบคทีเรียมีความสามารถไม่เฉพาะการเปลี่ยนแปลงเอนไซม์ (Enzyme) เป้าหมายของยาปฏิชีวนะเท่านั้น แต่แบคทีเรียยังใช้เอนไซม์เปลี่ยนแปลงยาปฏิชีวนะและทำให้ดื้อต่อยาปฏิชีวนะด้วย ดังนั้นการใช้ยาปฏิชีวนะ ควรใช้ให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นการเลือกชนิดของยา ขนาดของยา และระยะการให้ยาระหว่างมื้อยา โดยแพทย์และผู้ป่วยต้องร่วมมือกันก็จะช่วยลดโอกาสที่เชื้อโรคจะพัฒนาเพื่อ ต่อต้านยาที่ใช้รักษา และลดโอกาสการแพร่กระจายของเชื้อโรคไปยังผู้ป่วยอื่นด้วย

การดื้อต่อสารเคมีก็เป็นปัญหาอีกอย่างหนึ่ง เช่นการดื้อต่อปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ อาทิเช่น อุณหภูมิ ความดัน เสียง รังสี และสนามแม่เหล็ก ซึ่งมีผลต่อการดำรงชีวิตของเชื้อจุลชีพ การดื้อยาสารพิษ (toxin) และสารเคมีเป็นผลกระทบของวิวัฒนาการ และเป็นการตอบสนองต่อแรงกดดันที่มีผลต่อสิ่งมีชีวิต สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความหลากหลายต่อความไวต่อยาที่ใช้ และบางชนิดที่มีความเหมาะสม อาจจะมีความสามารถอยู่รอดต่อยาที่ใช้รักษา

ลักษณะการดื้อยาถูกถ่ายทอดมาสู่รุ่นลูกหลาน ซึ่งมีผลต่อเชื้อโรคซึ่งจะดื้อยามากขึ้น สิ่งนี้ดูได้จากยารักษามะเร็ง ซึ่งบางเซลล์จะพัฒนาการดื้อต่อยาที่ใช้พวกยาเคมีบำบัด(Chemotherapy) ยาเคมีบำบัดเป็นสาเหตุของเซลล์ที่ทำให้เกิดการสร้างเส้นใยของเนื้อเยื่อติดต่อ (Fibroblast) ใกล้เนื้องอก เพื่อผลิตปริมาณโปรตีนเป็นจำนวนมาก โปรตีนนี้จะกระตุ้นการเติบโตของเซลล์มะเร็งซึ่งดื้อต่อยาเคมีบำบัด

โรคมาเลเรีย ในปี พ.ศ. 2555 รักษาได้ยากขึ้นในประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทวีปแอฟริกัน และสายพันธ์ที่ดื้อยาคือเชื้อมาเลเรียที่ชื่อ “Plasmodium faciparlum” เป็นปัญหาใหญ่ต่อระบบสาธารณสุข ส่วนในโรคเรื้อน ได้แสดงว่ามีการเพิ่มขึ้นของการดื้อต่อยา Dapsone

ในสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น การดื้อยาของเชื้อโรค อาจจะเพิ่มขึ้นจากกิจกรรมที่ดูเหมือนว่าปลอดภัย เช่น การใช้สารฟอกขาว (Bleach) แปรงสีฟัน และน้ำยาบ้วนปาก การใช้ยาปฏิชีวนะ ยาฆ่าเชื้อโรค (Disinfectant) และผงซักฟอก แชมพู และสบู่ โดยเฉพาะสบู่ฆ่าเชื้อ น้ำยาล้างมือ สเปรย์ใบหน้า การใช้ยาดับกลิ่นกลาย (Deodorant) ยากันแดด (Sunblock) และเครื่องสำอาง หรือผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ ยาฆ่าแมลง และสี

สารเคมีที่ผสมอยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้ นอกจากจะเป็นอันตรายกับเชื้อโรคที่มีประโยชน์แล้ว อาจจะทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นเป้าหมายมีความสามารถพัฒนาการดื้อยาได้ไม่ว่าจะโดยความตั้งใจหรือประมาท การดื้อยาได้พัฒนาอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากการใช้ยาโดยไม่ระมัดระวังและเร่งใช้ยาอย่างไม่ก่อให้เกิดประโยชน์

การใช้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรียทำความสะอาดในบ้านที่มากเกินไป อาจจะผลิตสายพันธุ์แบคทีเรียที่ดื้อต่อยาหลายชนิด ส่วนการใช้อย่างผิดวิธีของยาฆ่าเชื้อในมนุษย์และในการเกษตร กว่า 70 ปีที่ผ่านมา ได้นำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นทั้งจำนวนและชนิดของจุลชีพ (Micro-organism) ที่ดื้อต่อยาเหล่านี้ และนำไปสู่การเสียชีวิต การเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยที่เจ็บปวดและทุพลภาพ รวมทั้งต้นทุนการดูแลสุขภาพที่เพิ่มขึ้น อีกด้วย

การเสียชีวิตจากการติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน (Acute respiratory infection) โรคท้องเสีย หัด เอดส์ มาเลเรีย และวัณโรคเพิ่มขึ้นมากกว่า 85% ของการเสียชีวิตจากการติดเชื้อทั่วโลก การดื้อยาต่อยาที่ถูกเลือกใช้เป็นลำดับแรกในเชื้อโรคส่วนใหญ่ ที่เป็นสาเหตุของโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นจาก 0 % จนเกือบจะถึง 100% การดื้อต่อยาลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3 ก็ทำให้การรักษาไม่ค่อยได้ผล การเพิ่มขึ้นของเหตุการณ์เหล่านี้เป็นภาระของการดื้อยาทั่วโลก

แหล่งข้อมูล

  1. ทำอย่างไร! เมื่อเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล - http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000033764&Keyword=%ca%d2%b8%d2%c3%b3%ca%d8%a2 [2013, April 10]
  2. Drug resistance. http://en.wikipedia.org/wiki/Drug_resistance [2013, April 10]