เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการประเมินภาวะโภชนาการ (Nutritional Assessment) Part5

เข้าครัวกับโภชนากร

อาการทางระบบทางเดินอาหาร(GI tract symptoms)

อาการปวดท้อง คลี่นไส้ อาเจียน อาจทำให้ได้รับอาหารได้น้อยลง หรือมีอาการท้องเสียอาจเกิดจากการย่อยหรือการดูดซึมที่ผิดปกติ

อาการของการขาดสารอาหาร (symptoms of nutrient deficiency)

  • อาการของการขาดเกลือแร่ เช่น ชาบริเวณใบหน้า รอบปาก อาจเกิดจากการขาดแมกนีเซียมหรือ แคลเซียม มือเกร็ง จีบ อาจเกิดจากการขาดแคลเซียม เป็นต้น
  • อาการของการขาดวิตามิน เช่น การมองไม่เห็นในเวลาโพล้เพล้หรือกลางคืนจากการขาดวิตามินเอ มีอักเสบของลิ้น เจ็บมุมปากอักเสบ อาการชาตามแขนขา จากการขาดกลุ่มวิตามินบี เป็นต้น
  • อาการของการขาด Essential trace element (แร่ธาตุที่พบน้อยแต่จำเป็น) เช่น ภาวะซีดจากการขาดเหล็ก ลิ้นไม่รู้รส(hypogausea) ผื่นรอบปากและก้น จากการขาดสังกะสี เป็นต้น

การเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อภาวะโภชนาการ (medical history)

  • รับประทานอาหารไม่เพียงพอ
  • โรคหรือภาวะต่างๆเช่นโรคที่มีการอักเสบ การติดเชื้อ โรคมะเร็ง และโรคที่มีความผิดปกติของการทํางานของอวัยวะต่างๆ (organ failure) เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลต่อความรู้สึกอยากอาหาร ทำให้การดูดซึมอาหารไม่เพียงพอ
  • จากความผิดปกติของอวัยวะที่ เกี่ยวกับการย่อยและการดูดซึมอาหาร เช่น โรคของกระเพาะ อาจจะมีปัญหาการดูดซึมเหล็กและวิตามินบี12
  • โรคของตับอ่อนจากการอักเสบ หรือการผ่าตัด จะมีปัญหาการดูดซึม ไขมัน วิตามินที่ละลายในไขมัน วิตามินบี12 และแคลเซียม
  • โรคของลำไส้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของพยาธิสภาพ อาทิ
  • โรคของ ดูโอดินัม ทำให้มีปัญหาการดูดซึม เหล็กและโฟเลท
  • โรคของ ileum ทำให้มีปัญหาการดูดซึม วิตามินบี12 เกลือน้ำดี ซึ่งจะมีผลต่อการดูดซึม ไขมัน วิตามินที่ละลายในไขมัน(วิตามิน เอ ดี อี เค) และแคลเซียม
  • โรคลำไส้สั้น (short bowel syndrome) จะทำปัญหาการดูดซึมสารอาหารหลายๆชนิด เช่น ปัญหาการดูดซึมพลังงาน โปรตีน ไขมัน วิตามินต่างๆ เกลือแร่ แคลเซียม แมกนีเซียมและtrace element เช่น สังกะสี เป็นต้น
  • โรคตับและทางเดินน้ำดี การสร้างน้ำดีลดลง เช่นในโรคตับแข็งหรือการอุดกั้นของทางเดินของน้ำดี จะมีปัญหาการดูดซึมไขมันและวิตามินที่ ละลายในไขมัน

การสูญเสียสารอาหารที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ

  • การเสียเลือด จะสูญเสียธาตุเหล็ก
  • โรคเบาหวานที่ไม่สามารถควบคุมได้ดี จะสูญเสียพลังงาน และเพิ่มการสลายโปรตีนและไขมัน
  • อาการท้องเสีย จะสูญเสีย โปรตีน เกลือแร่ และสังกะสี
  • การบำบัดทดแทนไตด้วยเครื่องฟอกไต (hemodialysis) หรือ ล้างไตทางหน้าท้อง(peritoneal dialysis) จะสูญเสียโปรตีนและหรือกรดอะมิโน วิตามินบี6 โฟเลท วิตามินซี และสังกะสี

การเปลี่ยนแปลงการใช้สารอาหารที่มีผลต่อภาวะโภชนาการ

โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มการใช้ สารอาหาร ทั้งพลังงานและโปรตีน อาทิ

  • การมีไข้ทุก 1 องศาเซลเซียสจะเพิ่มการใช้พลังงานถึง ร้อยละ 13 ของพลังงานขณะพัก
  • การอักเสบหรือโรคติดเชื้อ โรคทางเมตาบอลิก เช่น คอพอกเป็นพิษ โรคมะเร็ง
  • การบาดเจ็บ ผ่าตัด แผลไฟไหม้ เพิ่มความต้องการโปรตีนและ พลังงาน วิตามิน C และสังกะสี
  • การตั้งครรถ์ และให้นมบุตร (pregnancyและlactation) เพิ่มความต้องการพลังงาน โปรตีน วิตามิน และ เกลือแร่

การดื่มสุราเป็นประจำ

อาจมีผลทำให้ลดการบริโภคอาหาร มีการอักเสบของกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ ยังมีผลลดการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน ลดการดูดซึมสารอาหารบางโดยเฉพาะวิตามินบี และ โฟเลท เปลี่ยนแปลงเมตาบอลิสม ของวิตามินบีและโฟเลท และเพิ่มการขับวิตามินบีและโฟเลทออกทางไต

แม้ว่าแอลกอฮอล์ จะเป็นสารที่ให้พลังงานสูงถึง 7 แคลอรี/กรัม แต่พลังงานจากแอลกอฮอล์จะไม่ถูกเก็บสะสม แต่จะถูกเผาทิ้งเป็นความร้อนหมด (เรียกว่าเป็น empty calorie) ดังนั้นการบริโภคแอลกอฮอล์เป็นประจำจึง อาจจะมีปัญหาการขาดโปรตีน พลังงาน วิตามินบี1,2,6,12 โฟเลทและไนอาซิน และถ้ามีปัญหาโรคตับเรื้อรังจากสุราร่วมด้วยจะขาดวิตามินที่ ละลายในไขมันด้วย เนื่องจากการ สร้างน้ำดีที่ช่วยย่อยและดูดซึมไขมันและวิตามินที่ ละลายในไขมันลดลง

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.