เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการประเมินภาวะโภชนาการ (Nutritional Assessment) Part2

เข้าครัวกับโภชนากร

การประเมินภาวะโภชนาการโดยวิธีทางคลินิก ประกอบไปด้วยการซักประวัติและการตรวจร่างกาย เพื่อประเมินโภชนาการทั้งในขณะนั้น และติดตามการเปลี่ยนแปลงของภาวะโภชนาการ และอาจครอบคลุมถึงการตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวัดระดับสารต่างๆในร่างกาย

การซักประวัติผู้ป่วยประกอบด้วย

  • ประวัติการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว (weight change)
  • ประวัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการบริโภคอาหาร(dietary change)
  • ประวัติเกี่ยวกับอาการทางระบบทางเดินอาหาร(GI tract symptoms)
  • ประวัติการเจ็บป่วยที่อาจมีผลต่อภาวะโภชนาการ (medical history)
  • ประวัติการผ่าตัด
  • ประวัติการดื่มสุรา

ประวัติการเปลี่ยนแปลงของน้ำหนักตัว (weight change)

น้ำหนักตัวเป้นชี้บ่งคราวๆถึงพลังงานที่สะสมในรูปของไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีนที่มีอยู่ ในร่างกาย ความสัมพันธ์ของน้ำหนักตัวกับโปรตีนในร่างกายจะมีประมาณ 0.6 โดยปกติ น้ำหนักตัวสามารถเปลี่ยนแปลงได้ประมาณวันละ 0.1 กก. หากมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าวันละ 0.5 กก. น่าจะเกิดจากความผิดปกติ ของสมดุลย์ของของเหลวและ/หรือสมดุลย์ของพลังงานในร่างกาย

หากไม่ได้รับประทานอาหารเลย จะทําให้มีน้ำหนักลดลงได้ประมาณ 0.4 กก./วัน และร่างกายจะมีชีวิตอยู่ได้ หากน้ำหนักตัวยังไม่ลดต่ำไปกว่าร้อยละ70 ของน้ำหนักที่ควรจะเป็น เรียกว่าเป็นminimum survival weight แต่ถ้าได้รับอาหารบาง แต่ไม่พอกับความต้องการ(semi-starvation) จะมีน้ำหนักตัวลดช้าลงกวานี้ และร่างกายจะทนได้นานมากขึ้นโดยจะมีชีวิตอยู่ได้ หากน้ำหนักตัวไม่ได้ลดลงต่ำกว่ารอยละ 48-55

ความรุนแรงของน้ำหนักตัวที่ลดลง ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลัก 2 ประการคือ

ปริมาณน้ำหนักตัวที่ลดลง (total weight loss) และอัตราการลดลงของน้ำหนักตัว (rate of weight loss) ความรุนแรงของ น้ำหนักตัวที่ลดเป็นตัวชี้วัดที่สําคัญตัวหนึ่ง (prognostic index) ในการบอกอัตราการ เจ็บป่วยจากโรคแทรกซ้อนและเสียชีวิตโดยเฉพาะผู้ป่วยที่เขารับการรักษาในโรงพยาบาลหรือผู้ปวยที่ต้องเขารับการผ่าตัด

ร้อยละน้ำหนักตัวที่เปลี่ยนแปลง(% weight change)

= น้ำหนักตัวเดิม – น้ำหนักปัจจุบัน x 100 น้ำหนักตัวเดิม

หากมีการลดลงของน้ำหนักตัวโดยที่ไม่ได้ตั้งใจ ต่ำกว่ารอยละ 10 ของน้ำหนักตัวเดิมมักจะไม่มีความผิดปกติของการทํางานของร่างกาย แต่หากน้ำหนักตัวลดลงร้อยละ 10-20 จะมีความผิดปกติของการทํางานของร่างกาย และหากมากกว่าร้อยละ 20 จะมีการขาดอาหารเกิดขึ้นและเกิดความผิดปกติของการทํางานร่างกายในหลายระบบพรอมๆกันและมีผลเสียต่อผลลัพท์ทางคลินิก (clinical outcome)

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.