เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการประเมินภาวะโภชนาการ (Nutritional Assessment) Part1

เข้าครัวกับโภชนากร

ภาวะโภชนาการ มีส่วนสําคัญต่อสุขภาพ ภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งไม่ว่าจะเป็น โภชนาการขาด หรือโภชนาการเกินก็ตาม ล้วนก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพได้ทั้งสิ้น

จุดประสงค์ของการประเมินภาวะโภชนาการ เพื่อวินิจฉัยบอกถึงสาเหตุ ความรุนแรงของภาวะทุพโภชนาการและภาวะแทรกซ้อนเพื่อ เป็นแนวทางใหโภชนาบําบัด และติดตามผลของการรักษาโดยโภชนบําบัด การประเมินภาวะโภชนาการมีหลายระดับ ตั้งแต่ระดับโมเลกุล ระดับเซลล์ ระดับเนื้อเยื่อ

ระดับอวัยวะ และระดับร่างกาย(whole body) ตัวชี้วัดมีหลายชนิดแบ่งตามความยากง่าย ความแม่นยํา และระดับของภาวะโภชนาการที่จะวัด การประเมินภาวะโภชนาการระดับโมเลกุล หรือเซลล์นั้น ต้องใช้เครื่องมือที่ซับซ้อน ราคาแพง จึงมักใช้เฉพาะในการวิจัย

สำหรับในทางเวชปฏิบัติ สามารถใช้วิธีประเมินภาวะโภชนาการในระดับร่างกาย และในระดับหน้าที่ของระบบต่างๆ การประเมินภาวะโภชนาการที่ถูกต้อง อาจจะบอกถึงความเร่งดวนของการให้โภชนบําบัดได้ รวมไปถึงแนวทางและวิธีการให้โภชนบําบัดที่ เหมาะสมไดดี โดยทั่วไปแล้วยังไม่มีวิธี ใดวิธี หนึ่งที่จะประเมินภาวะโภชนาการที่ดี พอจะต้องอาศัยตัวชี้วัดทางโภชนาการหลายตัวเพื่อช่วยในการวินิจฉัยที่ถูกต้อง

วิธีการประเมินภาวะโภชนาการประกอบด้วย

  1. การประเมินทางคลินิก (clinical assessment)
  2. การประเมินสัดส่วนของร่างกาย(anthropometric assessment)
  3. การประเมินทางเคมีคลินิกและห้องปฏิบัติการ(biochemical and laboratory assessment)
  4. การประเมินทางด้านหน้าที่การทํางานของระบบต่างๆ(functional assessment)

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.