เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: การให้โภชนบำบัดที่เหมาะสมในผู้ป่วย Part5

เข้าครัวกับโภชนากร

สัดส่วนของพลังงานอาหาร ควรใกล้เคียงที่ได้รับจากอาหารดังนี้

คาร์โบไฮเดรต สัดส่วนร้อยละ 50-60

ไขมัน สัดส่วนร้อยละ 25-40

โปรตีน สัดส่วนร้อยละ 12-20

ความต้องการโปรตีน (protein requirement) สามารถคำนวณได้จากหลายสูตร

ในผู้ใหญ่ในภาวะปกติตาม RDAและ Thai DRI คือ 0.8 – 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน สำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะแคทาบอลิก จะสูงถึง 1.2 – 2 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน หรือเป็นพลังงานของโปรตีนร้อยละ 25-30 โดยความต้องการขึ้นกับสาเหตุระยะ ความรุนแรงของ metabolic stress และการรักษาของแพทย์

ความต้องการเป็นกรัม/กก.ของน้ำหนักมาตรฐาน/วัน

ความต้องการโปรตีนตามภาวะระดับของ stressความต้องการโปรตีน (กรัม/กก./วัน)
Mild stress1.0 -1.2
Moderate stress 1.5 – 2.0
Severe obesity 1.5 – 2.0
Severe stress , catabolic , burns2.0 – 2.5
Chronic renal failure , no dialysis0.8 – 1.3
Hemo - dialysis1.2 – 1.4
Continuous Ambulatory Peritoneal Dialysis(CAPD)1.2 – 1.5

ความต้องการใยอาหาร (fiber)

ใยอาหารแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ใยอาหารที่ละลายน้ำ (soluble fiber) และใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble fiber)

บทบาทของ soluble fiber มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต หน้าที่ และต่อความแข็งแรงของเซลล์เยื่อบุของลำไส้ใหญ่ ใยอาหารที่ละลายน้ำ (soluble fiber) ได้แก่เพคติน (pectin) และกัม (gum) เป็นต้น จะไม่ถูกย่อยโดยระบบการย่อยของร่างกาย แต่จะถูกแบคทีเรียในลำไส้เปลี่ยนไปเป็นกรดไขมันเส้นสั้น (short chain fatty)

นอกจากนี้การดูดซึมของกรดไขมันสายสั้นนี้ ยังกระตุ้นการดูดซึมของน้ำและและเกลือแร่ที่ลำไส้ใหญ่ด้วย นอกจากนี้ยังมีบทบาทในการลดระดับน้ำตาลและไขมันในเลือดอีกด้วย

ใยอาหารที่ไม่ละลายน้ำ (insoluble fiber) ได้แก่เซลลูโลสและเฮมิเซลลูโลส เป็นต้น ถูกแบคทีเรียสลายบางส่วน ใยอาหารนี้กระตุ้นทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น ( intestinal transit time เร็วขึ้น) และเป็นส่วนที่ทำให้อุจจาระมีเนื้อ ใยอาหารที่มีอยู่ในสูตรอาหารทางการแพทย์จะมีทั้งที่ละลายน้ำและไม่ละลายน้ำ ได้จากถั่วเหลือง (soy fiber) ข้าวโอ๊ต (oat fiber) กัม เพคตินปนกันความต้องการใยอาหารประมาณ 20-25 กรัมต่อวัน

บรรณานุกรม

  1. วีระเดช พิศประเสริฐ . การคัดกรองและประเมินสภาวะโภชนาการ. Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ประณิธิ หงสประภาส. Principle of Nutrition Support in Adults . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  3. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553.สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.