เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: หลักการให้โภชนบำบัด (Principle of nutrition support) Part1

เข้าครัวกับโภชนากร

การพิจารณาให้โภชนบำบัด ในผู้ป่วยที่ขาดอาหารมีหลักการในการให้โดยคำนึงถึงความรุนแรงของการขาดอาหารโรคหรือภาวะที่เป็นอยู และความรุนแรงของความเครียดทางเมตาบอลิก กล่าวคือหากผู้ป่วยมีการขาดอาหารไม่รุนแรงและไม่มี ความเครียดทางเมตาบอลิกที่รุนแรงอาจให้เพียงน้ำเกลือประมาณ 7-10 วัน หากมีการขาดอาหารปานกลางแต่ความเครียดทางเมตาบอลิกปานกลางหรือสูง หรือผู้ป่วยที่ขาดอาหารรุนแรงไม่ว่าความเครียดทางเมตาบอลิกจะเป็นอย่างไร หรือผู้ป่วยที่มี ความเครียดทางเมตาบอลิกสูงมาก ไม่ว่าภาวะทางโภชนาการจะเป็นอย่างไรควรได้รับโภชนบำบัด

ข้อบ่งชี้ในการตัดสินใจให้โภชนบำบัด

ขั้นตอนของการให้อาหารภายหลังพิจารณาว่าต้องให้โภชนบําบัดแน่นอนแล้ว คือ

  1. ประเมินโรคหรือภาวะที่เป็นอยู่ และให้การรักษาปัญหาเร่งด่วนที่คุกคามต่อชีวิตผู้ป่วยก่อน
  2. ประเมินสมดุลย์ของน้ำ เกลือแร่และกรด-ด่าง และแก้ไขภาวะสารน้ำและเกลือแร่ที่ผิดปกติ หากมีภาวะดังกล่าว
  3. เลือกทางที่จะให้โภชนบําบัด ควรเลือกให้ทางทางเดินอาหารก่อน หากสามารถให้ได้ เนื่องจากเหมาะสมใกล้เคียงกับสรีรวิทยาปกติมากกว่า ผลแทรกซ้อนน้อยกว่าการให้ทางเส้นเลือดดํา หากมีข้อห้ามให้โภชนบำบัดทางทางเดินอาหารหรือไม่สามารถให้ได้พอ จึงพิจารณาให้ทางเส้นเลือดดําร่วมด้วย
  4. การให้โภชนบำบัด จะต้องทราบผลกระทบที่เกิดขึ้นในช่วงแรก ทราบแนวทางการให้และทราบลักษณะการตอบสนองต่อโภชนบำบัด ป้องกันและแก้ไขภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

บรรณานุกรม

  1. ประณิธิ หงสประภาส. Principle of Nutrition Support in Adults . Nutrition Update สมาคมหลอดเลือดดำและทางเดินอาหารแห่งประเทศไทย ; 2556.โรงพิมพ์พราวเพรส(2002)จำกัด .กรุงเทพฯ.
  2. ปรียานุช แย้มวงษ์. Nutrition Assessment. โภชนศาสตร์ทางคลินิก;2553. สำนักพิมพ์กรุงเทพเวชสาร.กรุงเทพฯ.