เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) : ตอน โซเดียม (SODIUM) อยู่ที่ไหนบ้าง ตอนที่ 1

โซเดียมพบในอาหารเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะ โซเดียมคลอไรด์หรือเกลือแกงและพบมากที่สุดในอาหารทะเล ปลาทะเล สาหร่ายทะเล ไข่ นมสด เนยเนยแข็ง น้ำมันพืช เมล็ดทานตะวัน รำข้าวสาลี และผักผลไม้ต่างๆ จะเห็นว่าโซเดียมนั้นมีอยู่ทั่วไป ส่วนมากมักไม่ค่อยพบว่าขาดโซเดียม มีแต่จะรับประทานอาหารที่มีโซดียมเกินความต้องการของร่างกาย ส่วนปริมาณโซเดียมที่แนะนำสำหรับผู้ป่วย ควรจำกัดการรับประทานในแต่ละวันไม่ควรเกิน 2,000 มิลลิกรัม

ความต้องการโซเดียมของร่างกายต่อวันปริมาณที่แนะนำ
ทารก 3 -5 เดือน 115-350 มิลลิกรัม
เด็ก 6 - 11 เดือน 250-750 มิลลิกรัม
1 - 3 ปี 325-975 มิลลิกรัม
4 - 6 ปี 450-1300 มิลลิกรัม
7 - 9 ปี 600-1800 มิลลิกรัม
10 - 19 ปี 900-1700 มิลลิกรัม
ผู้ใหญ่ปกติ 1,100-3,300 มิลลิกรัม
ความต้องการโซเดียมของร่างกายต่อวัน
ปริมาณโซเดียมที่ปรุงรส
อาหาร ปริมาณ โซเดียม(มิลลิกรัม)
น้ำปลา 1 ช้อนชา 465-600
ซีอิ้วขาว 1 ช้อนโต๊ะ 960-1,420
ซอสปรุงรส 1 ช้อนโต๊ะ 1,150
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนโต๊ะ 420-490
น้ำจิ้มไก่ 1 ช้อนโต๊ะ 202-227
ซอสพริก 1 ช้อนโต๊ะ 220
ผงชูรส 1 ช้อนชา 492
ผงฟู 1 ช้อนชา 339

แหล่งข้อมูล:

  1. ชนิดา ปโชติการ . โภชนบำบัดสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง. การประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การอบรมแนวทางการให้คำปรึกษาด้านโภชนบำบัดแก่ผู้ป่วยในโรงพยาบาล ; วันที่ 29 – 31 กรกฏาคม 2552; ณ ห้องพญาไท ชั้น 11 อาคารเฉลิมพระเกียรติ ร.พ. ราชวิถี. กรุงเทพฯ.