เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) ตอน: อ้วนจนเป็นโรค...ต้องกินอย่างไร ตอนที่ 2

เข้าครัวกับโภชนากร

ผลร้ายของโรคอ้วนต่อสุขภาพทำให้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนมีอัตราการเจ็บป่วย และอัตราการตาย สูงกว่าผู้ที่มีน้ำหนักตัวปกติ ผู้ที่เป็นโรคอ้วนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนหลายๆ อย่าง เช่น โรคเบาหวาน เป็นโรคที่พบบ่อยมากในบรรดาคนอ้วน หญิงไทยอ้วนเป็นเบาหวานบ่อยกว่าคนปกติถึงเกือบ 4 เท่า ในขณะที่ชายไทยที่อ้วนมีโอกาสเป็นเบาหวาน 2.5 เท่าของชายที่ไม่อ้วน และมักเกิดปัญหาในช่วงอายุ 40 ถึง 50 ปีขึ้นไป โรคความดันโลหิตสูงคนอ้วนเป็นโรคความดันโลหิตสูงบ่อยกว่าคนไม่อ้วน 2.5 เท่าชายเสี่ยงทุกวัย แต่หญิงเสี่ยงเมื่ออายุเกิน 34 ไปแล้ว เนื่องจากต้องส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายที่ใหญ่ขึ้น ความดันโลหิตสูงนี้พบได้บ่อยยิ่งขึ้นในคนอ้วนตั้งแต่อายุยังน้อย (McMahon ;คณะ) ภาวะไขมันในเลือดสูง Nestel และคณะ ได้แสดงให้เห็นว่า ในคนอ้วนจะมีการสร้างโคเลสเตอรอลเพิ่มขึ้นวันละ 22 มก. ต่อกิโลกรัมของเนื้อเยื่อไขมันที่เพิ่มขึ้น

ความผิดปกติของระดับไขมันในเลือด พบได้บ่อยในคนอ้วนถึง 1.1-2.6 เท่า เมื่อเทียบกับคนไม่อ้วน ทั้งชายและหญิงที่อ้วนมากมีโอกาสเสียชีวิตจากหลอดเลือดหัวใจตีบตันประมาณ 2 เท่า ผู้ชายที่อ้วนมากมีโอกาสตายจากโรคเส้นเลือดสมองอุดตันถึงกว่า 2 เท่าของผู้ชายที่ไม่อ้วน (สุรัตน์ โคมินทร์, 2546) โรคนิ่วในถุงน้ำดี Bernstein พบว่าปัญหาของถุงน้ำดีเกิดมากขึ้นตามวัย ตามความอ้วน และตามจำนวนบุตร และพบว่า 1 ใน 3 ของคนอ้วน ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุประมาณ 60 ปี จะเป็นโรคถุงน้ำดี ทั้งนี้เพราะคนอ้วนมีการสร้างและขับโคเลสเตอรอล ออกทางน้ำดีมากกว่าปกติ ระบบหายใจผิดปกติ ในการทำงานของตับซึ่งเป็นผลจากการสะสมของไขมันในตับมากกว่าปกติ โดยพบถึง 68-94% ของคนอ้วนทั้งหมด

ปัจจุบัน “ความอ้วน” ถือได้ว่าเป็นโรคอ้วนชนิดหนึ่ง ที่กลายเป็นปัญหาสำคัญในหลายประเทศทั่วโลก เนื่องจากโรคอ้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคต่างๆ โรคอ้วนมีผลเสียต่อสุขภาพทำให้อัตราตายและอัตราพิการเพิ่มขึ้นมากกว่าคนไม่อ้วน การที่มีน้ำหนักตัวเกินหรือความอ้วนนั้น สัมพันธ์กับการเกิดโรคหลายชนิด และมีผลต่อระบบการทำงานในร่างกายหลายระบบด้วยกัน

อ้างอิงจาก

วารสารประกอบการอบรมนักกำหนดอาหารแห่งประเทศไทย 2547