เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล)ตอน: คุณค่าทางโภชนาการและคุณสมบัติเชิงสุขภาพของผลไม้ไทย

เข้าครัวกับโภชนากร

ปัจจุบันปัญหาเรื่องโภชนาการเป็นเรื่องสำคัญ การที่จะมีสุขภาพดีต้องได้รับสารอาหารครบถ้วนในสัดส่วนที่เหมาะสม ในสหรัฐอเมริกามีการแนะนำให้บริโภคผลไม้วันละ 2 ½ ถ้วย เนื่องจากในผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุที่เหมาะสมมีประโยชน์ รวมถึงสารพฤกษเคมีต่างๆ

ผลไม้ ประโยชน์
ส้ม มีวิตามินซีสูงและมีสารคาโรตินอยด์ฟลาโวนอยด์ และกรดอินทรีย์ซึ่งมีฤทธิ์ทางชีวภาพ โดยช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง ต้านการเกิด Lipid peroxidation ป้องกันเส้นเลือดเปราะ ยับยั้งการจับตัวของเกร็ดเลือด
ส้มโอ มีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเช่นเดียวกับส้ม มีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือด ยับยั้งการแพ้ ต้านอนุมูลอิสระ ซ่อมแซมเยื่อบุหลอดเลือด ขยายหลอดเลือดไปเลี้ยงสมอง
สับปะรด มีสารคารโรตินอยด์ ใยอาหาร กรดอินทรีย์ และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ เพิ่มภูมิคุ้มกัน
กล้วย มีสารแคทธิชิน ฟลาโวนอยด์ ใยอาหาร อินนูลิน ต้านอนุมูลอิสระ ยับยั้งเอนไซม์อะวิทิลโคลีนเอสเทอเรส ป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร เพิ่มภูมิคุ้มกัน ลดความดันโลหิต ลดอันตรายต่อเซลล์ประสาท
มะละกอ มีสารแคทธีชิน ฟลาโวนอยด์ กรดฟินอลิค ชะลอภาวะสมองเสื่อม ป้องกันการเกิดมะเร็ง ขยายหลอดเลือด รักษาแผลในกระเพาะอาหาร ลดการอักเสบของเซลล์
มะเฟือง มีวิตามินซี แคทธิชีน กรดซิตริก กรดออกซาลิก ลดน้ำตาลในเลือด ลดการอักเสบ
ฝรั่ง มีวิตามินซีสูง ฟลาโวนอยด์ ใยอาหาร ลดอนุมูลอิสระในเลือด ทำให้เอนไซม์ต้านอนุมูลอิสระเพิ่มขึ้น ลดความดันโลหิต ลดไขมัน ลดน้ำตาลในเลือด
มะม่วง มีสารคาโรตินอย์ฟลาโวนอยด์ มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมอง กระตุ้นภูมิคุ้มกัน ยับยั้งการอุดตันของหลอดเลือด ลดระดับน้ำตาลในเลือด ลดระดับไขมันในเลือด

อย่างไรก็ตามการรับประทานผลไม้ ควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ เนื่องจากในผลไม้จะมีปริมาณน้ำตาลที่แตกต่างกันร่างกายสามารถดูดซึมได้ง่าย หากเราได้รับปริมาณน้ำตาลที่มากเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคอ้วน หรือโรคเบาหวานได้ ฉะนั้นการรับประทานผลไม้ควรคำนึงถึงผลไม้ที่มีรสหวานจัด ควรรับประทานแต่น้อย และสลับเป็นผลไม้ที่มีรสหวานน้อย ซึ่งจะทำให้เราสามารถรับประทานผลไม้และเกิดประโยชน์สูงสุดได้.

อ้างอิง

นันทวัน บุณยะประภัศร.ประโยชน์เชิงสุขภาพของผักและผลไม้ไทย.ในการประชุมวิชาการแห่งชาติด้านอาหารและโภชนาการเพื่อสุขภาพ.มหาวิทยาลัยมหิดล.2557