เข้าครัวกับโภชนากร (โรงพยาบาล) : เบื่อกินข้าวขาว ..หาเรื่องเปลี่ยนมาเป็นข้าวเหลือง

สารสีแดงที่ชื่อคาร์ทามิน (carthamin) และสารสีเหลืองชื่อ แซฟฟลาวเวอร์เยลโล (safflower yellow) ซึ่งเป็นสีที่ละลายน้ำได้ ประกอบด้วยสารหลายชนิด เช่น กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายชนิด โปรตีน เบตาแคโรทีน (beta carotene) วิตามิน

  • น้ำมันจากเมล็ด (safflower seed oil) ซึ่งได้จากการบีบเมล็ด ประกอบด้วย เบตาแคโรทีน กรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายชนิดในปริมาณสูง เช่น กรดไลโนเลอิก (linoleic acid) กรดไลโนลิก (linolic acid) และกรดโอเลอิก (oleic acid)
  • น้ำมันของดอกคำฝอยมีส่วนประกอบของกรดไลโนเลอิก ซึ่งเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวในประมาณสูงประมาณร้อยละ 75 จึงเชื่อว่าจะทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดต่ำลง และจากผลการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคน พบว่า เมล็ดน้ำมันดอกคำฝอยช่วยทำให้ปริมาณโคเลสเตอรอลในเลือดลดลงได้จริง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะกรดไลโนเลอิกจะไปทำปฏิกิริยากับโคเลสเตอรอลในเลือด ได้เป็นโคเลสเตอรอลไลโนเลเอท (cholesterol linoleate) และยังมีรายงานว่า น้ำมันดอกคำฝอยทำให้ฤทธิ์ของเอนไซม์ ที่ใช้ในการสังเคราะห์กรดไขมันลดลงอีกด้วย จากผลการวิจัยในสัตว์ทดลอง และในคนพบว่า น้ำมันดอกคำฝอย จะช่วยให้การอุดตันของไขมันในหลอดเลือดลดลง และช่วยป้องกันการอุดตันของไขมันในเลือดได้ ทั้งนี้อาจเป็นผลมาจากน้ำมันดอกคำฝอยมีฤทธิ์ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด จากคุณสมบัติต่างๆ ทำให้ ดอกคำฝอย เป็นพืชที่น่าสนใจและนำมาดัดแปลงทำอะไรได้มากมาย กลิ่นก็หอมชื่นใจด้วยค่ะ

วิธีทำ

ข้าวสาร 1 ขีด

ดอกคำฝอยแบบแห้ง 2 ช้อนโต๊ะ

ดอกคำฝอยชงด้วยน้ำเดือดจัด พักไว้ประมาณ 5 – 10 นาที กรองเอากากออกนำน้ำดอกคำฝอยไปหุงข้าว

แหล่งข้อมูล:

  1. ลดไขมันในเลือดด้วยดอกคำฝอย เข้าถึงได้จาก - http://www.rspg.or.th/plants_data/herbs/herbs_01_1.htm