“อ้วนซ่อนรูป” ระวัง “ไขมันพอกตับ” (ตอนที่ 2 และตอนจบ)

สารบัญ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไขมันพอกตับอาจรวมถึง :

  • มีการใช้ยาบางอย่าง เช่น ยา Amiodarone ยาต้านเชื้อไวรัส (Antiviral drugs) ยา Corticosteroids ยา Methotrexate ยา Tamoxifen ยา Tetracycline เป็นต้น
  • มีการผ่าตัดเย็บกระเพาะเพื่อลดน้ำหนัก (Gastric bypass surgery)
  • ระดับไขมันคลอเรสเตอรอลที่สูง
  • ระดับไขมันไตรกรีเซอไรด์ที่สูง
  • มีภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition)
  • มีภาวะอ้วนลงพุง (Metabolic syndrome)
  • เป็นโรคอ้วน (Obesity)
  • น้ำหนักลดอย่างรวดเร็ว
  • ได้รับสารเคมีและสารพิษ เช่น ยาฆ่าแมลง
  • เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (Type 2 diabetes)

การตรวจโรคไขมันพอกตับอาจทำได้โดย :

  • การตรวจเลือด (Blood tests) เพื่อดูการทำงานของตับ
  • การตรวจจากภาพที่ได้จากการทำอัลตราซาวด์ (Ultrasound) ซีทีสแกน (Computerized tomography : CT) และเอ็มอาร์ไอ (Magnetic resonance imaging : MRI)
  • การตรวจเนื้อเยื่อของตับ (Liver tissue testing) โดยการใช้เข็มย วเจาะเข้าไปที่ตับเพื่อเอาเซลล์ในตับ (Liver biopsy) มาตรวจในห้องปฏิบัติการ (Laboratory)
  • การตรวจด้วยเครื่องวัดความยืดหยุ่นของตับ Fibroscan with CAP (Controlled Attenuation Parameter)

ไม่มีการรักษาที่เป็นมาตรฐานตายตัวสำหรับโรคไขมันพอกตับ แพทย์ส่วนใหญ่จะรักษาด้วยการลดปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนี้แทน เช่น ถ้าเป็นโรคอ้วน แพทย์จะช่วยหาวิธีในการลดความอ้วนผ่านทางอาหาร การออกกำลังกาย หรือบางกรณีอาจมีการใช้ยาและการผ่าตัด หรือกรณีที่มีการใช้ยาที่เป็นเหตุให้คนไข้มีภาวะไขมันพอกตับ แพทย์อาจเปลี่ยนยาตัวอื่นให้

นอกจากการรับการรักษาจากแพทย์แล้ว เราอาจช่วยควบคุมภาวะไขมันพอกตับได้โดย :

  • กาารลดน้ำหนัก ด้วยการลดแคลอรี่ที่กินในแต่ละวัน
  • กินอาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผลไม้และผัก ลดอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และเลือกอาหารที่มีไขมันไม่อิ่มตัวแทน เช่น ปลา น้ำมันมะกอก ถั่ว ขนมปังโฮลวีท และข้าวกล้อง
  • ออกกำลังกายให้มาก อย่างน้อยวันละ 30 นาที หรือใช้วิธีอื่น เช่น เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์ ใช้การเดินแทนการนั่งรถในระยะใกล้ๆ
  • ควบคุมระดับเบาหวาน
  • ลดระดับคลอเรสเตอรอลและไตรกรีเซอไรด์
  • ป้องกันตับ ด้วยการลดสารพิษที่ทำลายตับ เช่น ไม่ดื่มแอลกอฮอล์

แหล่งข้อมูล

  1. Risk factors. http://www.mayoclinic.com/health/nonalcoholic-fatty-liver-disease/DS00577/DSECTION=risk-factors [2013, February 26].
  2. Tests and diagnosis. http://www.mayoclinic.com/health/nonalcoholic-fatty-liver-disease/DS00577/DSECTION=tests-and-diagnosis [2013, February 26].
  3. Treatments and drugs. http://www.mayoclinic.com/health/nonalcoholic-fatty-liver-disease/DS00577/DSECTION=treatments-and-drugs [2013, February 26].
  4. Lifestyle and home remedies. http://www.mayoclinic.com/health/nonalcoholic-fatty-liver-disease/DS00577/DSECTION=lifestyle-and-home-remedies [2013, February 26].