อีสุกอีใส ภัยจากหน้าหนาว

สืบเนื่องจากรายงานข่าวเด่นเมื่อวานนี้ นพ. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า ข้อมูลสำนักระบาดวิทยา ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2553 ถึงเดือนมีนาคม 2554 แสดงว่าในพื้นที่ประสบภัยหนาวตามประกาศของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ทั้งหมด 38 จังหวัด 522 อำเภอ มีรายงานผู้ป่วยโรคที่เฝ้าระวัง 6 โรค ทั้งหมด 89,730 ราย มากสุดคือโรคอุจจาระร่วง 70,785 ราย รองลงมาคือ โรคปอดบวม 8,382 ราย โรคอีสุกอีใส 5,409 ราย โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่ 5,001 ราย โรคหัด 141 ราย และโรคหัดเยอรมัน 12 ราย ตามลำดับ

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox) เป็นโรคที่มีการติดต่อง่ายและรวดเร็ว มีสาเหตุหลักจาการติดเชื้อไวรัส ชื่อ Varicella zoster มักเริ่มต้นด้วยผื่นที่ผิว มีตุ่มพองตามร่างกายและศีรษะ แล้วกลายเป็นความรู้สึกคันด้วยแผลจากฝีหนอง ซึ่งจะค่อยๆ จางหายไปเองตามธรรมชาติโดยไม่ทิ้งรอยแผลเป็น เมื่อมีการตรวจร่างกาย จะสังเกตเห็นรอยของโรค (Lesions) ในแต่ละขั้นตอนของการหายเองตามธรรมชาติ

โรคอีสุกอีใส แพร่กระจายทางอากาศได้โดยง่าย ผ่านการไอหรือจามของผู้ป่วย หรือการสัมผัสโดยตรงกับรอยผื่น ผู้ป่วยโรคอีสุกอีใสมักติดเชื้อ 1 หรือ 2 วันก่อนรอยผื่นจะปรากฏ ช่วงติดเชื้อจะต่อเนื่องกันยาวนาน 4 ถึง 5 วันหลังรอยผื่นปรากฏ หรือจนกระทั่งรอยของโรคเริ่มลอกสะเก็ดออก ผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต้านทานโรคอ่อนแอ (Immuno-compromised) มักจะมีเชื้อติดต่อตลอดเวลาที่รอยใหม่ของโรคยั งปรากฎอยู่ ส่วนสะเก็ดรอยของโรคจะไม่เป็นเชื้อติดต่อ

ปรกติจะใช้เวลา 10 ถึง 21 วัน หลังจากได้สัมผัสกับผู้ติดเชื้อ ก่อนที่จะวิวัฒนาเป็นโรคอีสุกอีใส การเริ่มต้นของอีสุกอีใสมักมีอาการปวดกล้ามเนื้อ คัน คลื่นไส้ มีไข้ ปวดศีรษะ เจ็บคอ ปวดหูทั้งสองข้าง มีอาการของแรงกดดันในศีรษะ หรือหน้าบวม และความละเหี่ยในผู้ป่วยวัยรุ่นและผู้ใหญ่

ในเด็ก อาการแรกมักเริ่มจากผื่นนูน ตามด้วยวิวัฒนาของความละเหี่ย มีไข้ อุณหภูมิร่างกาย 38 °C ( Celcius) หรือ 100 °F (Fahrenheit) แต่อาจสูงถึง 42 °C หรือ 108 °F ในบางกรณี บางครั้งอาจมีอาการปวดหลังอย่างรุนแรง โดยเฉพาะส่วนล่างของหลัง และเบื่ออาหาร แต่ไม่ใช่โรคเบื่ออาหารด้วยเหตุจิตใจ (Anorexia nervosa)

โดยปรกติแล้ว โรคอีสุกอีใสไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่จะรุนแรงเมื่อเกิดในผู้ใหญ่มากกว่าในเด็ก โดยจะมีการรุนแรงในผู้ใหญ่เพศชาย มากกว่าในผู้ใหญ่เพศหญิง แต่สตรีมีครรภ์และผู้มีระบบภูมคุ้มกันต้านทานโรคที่ถูกทำลาย เป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงสุดของโรคแทรกซ้อนที่ร้ายแรง

เชื่อกันว่าอีสุกอีใสเป็นสาเหตุของ 1 ใน 3 ของโรคหลอดเลือดสมองในเด็ก โรคแทรกซ้อนจากโรคอีสุกอีใสที่พบบ่อยมากที่สุดในผู้ป่วยที่อายุมากแล้ว ก็คือโรคงูสวัด (Shingles) ซึ่งมีสาเหตุมากจากไวรัส Varicella zoster ที่ฟื้นคืนมาอีกครั้ง หลายสิบปีหลังจากป่วยเป็นโรคอีสุกอีใสในครั้งแรก

โรคอีสุกอีใส ค้นพบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเปอร์เชียชื่อ Rhazes ผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 1408 ถึง พ.ศ. 1468 แต่ผู้แยกแยะความแตกต่างระหว่างโรคอีสุกอีใสกับโรคหัด (Measles) ก็คือ Giovanni Filippo นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีผู้มีชีวิตอยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2053 ถึง พ.ศ. 2123 ซึ่งเป็นผู้อธิบายรายละเอียดของเชื้อไวรัส Varicella ที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใส