อาหารเช้าป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

อาหารเช้าป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว-6

      

วิธีตรวจ (ต่อ)

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram = ECG) เป็นการตรวจเพื่อดูจังหวะการเต้นของหัวใจด้วยสัญญาณไฟฟ้า
  • การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiography = Echo) เป็นการตรวจโรคหัวใจวิธีหนึ่งที่ใช้บ่อยในปัจจุบันโดยเป็นการตรวจเพื่อดูประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ
  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย (Exercise stress test) เช่น การเดินบนสายพาน การปั่นจักรยานอยู่กับที่ (Stationary bike) เพื่อดู
  • การเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจหรือความดันโลหิต
  • การหายใจลำบากหรือเจ็บหน้าอก
  • การสวนหัวใจโดยการฉีดสีเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจ (Cardiac catheterization and angiogram) เป็นการตรวจวินิจฉัยหลอดเลือดเพื่อดูบริเวณที่หลอดเลือดตีบ
  • การใช้ภาพถ่ายอื่นๆ (Imaging tests) เช่น อัลตราซาวด์ ซีทีสแกน หรือ การตรวจหลอดเลือดโดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Magnetic resonance angiography = MRA) เพื่อดูการแข็งตัว การตีบตัว การโป่งพองของหลอดเลือด และการเกาะตัวของแคลเซียมที่ผนังหลอดเลือด

      สำหรับการรักษาทำได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงวิถีการใช้ชีวิต (Lifestyle changes) เช่น การกินอาหารที่ดี การออกกำลังกาย บางครั้งอาจมีการให้ยาหรือทำการผ่าตัด โดยยาที่ให้เพื่อลดการแข็งตัวของหลอดเลือด เช่น

  • ยาลดคลอเรสเตอรอล เพื่อลดหรือชะลอการเกิดไขมันในหลอดเลือด
  • ยาต้านเกล็ดเลือด (Anti-platelet medications) เช่น ยาแอสไพริน เพื่อลดการจับตัวเป็นก้อนของเกล็ดเลือดที่ทำให้เกิดการอุดตัน
  • ยาปิดกั้นเบต้า (Beta blocker medications) ที่ช่วยในการลดอัตราการเต้นของหัวใจและความดันโลหิต บรรเทาอาการเจ็บหน้าอก ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะหัวใจวายและหัวใจเต้นผิดปกติ
  • ยาลดความดันโลหิตกลุ่ม ACE inhibitors (Angiotensin-converting enzyme inhibitors)
  • ยาปิดกั้นแคลเซียม (Calcium channel blockers) ที่ช่วยลดความดันโลหิตและบางครั้งก็ใช้รักษาอาการเจ็บหน้าอกจากหัวใจขาดเลือด (Angina)
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) ที่ช่วยลดความดันโลหิต
  • ยาอื่นๆ ที่ช่วยควบคุมความเสี่ยงในการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน

กรณีที่มีอาการรุนแรงอาจใช้การรักษาดังนี้

  • การขยายหลอดเลือดหัวใจด้วยบอลลูนและการใส่ขดลวด (Angioplasty and stent placement)
  • การผ่าตัดเอาตะกรันที่พอกในหลอดเลือดออก (Endarterectomy)
  • การใช้ยาสลายลิ่มเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด (Fibrinolytic therapy)
  • การผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจหรือการผ่าตัดบายพาส (Bypass surgery)

แหล่งข้อมูล:

  1. Arteriosclerosis / atherosclerosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arteriosclerosis-atherosclerosis/symptoms-causes/syc-20350569 [2018, March 2].
  2. Atherosclerosis.https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/atherosclerosis [2018, March 2].