อาหารเช้าป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว (ตอนที่ 5)

อาหารเช้าป้องกันหลอดเลือดแดงแข็งตัว-5

      

ส่วนอาการแทรกซ้อนนั้นจะขึ้นกับบริเวณที่หลอดเลือดที่เกิดการอุดตัน เช่น

  • โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery disease / coronary heart disease = CHD)เกิดจากการที่หลอดเลือดตีบบริเวณใกล้หัวใจ กลายเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ที่เป็นสาเหตุของอาการเจ็บหน้าอก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือภาวะหัวใจวาย และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias)
  • โรคหลอดเลือดแดงคาโรติด (Carotid artery disease) เป็นการตีบของหลอดเลือดคาโรติดที่บริเวณคอซึ่งมีหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง เป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดสมองตีบชั่วคราวและโรคหลอดเลือดสมอง
  • โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ (Peripheral artery disease) เกิดจากการที่หลอดเลือดตีบบริเวณใกล้แขนหรือขา ทำให้มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวของแขนหรือขา และอาจทำให้มีความรู้สึกต่อความเย็นหรือความร้อนน้อยลง จนเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (Burns) หรือหิมะกัด (Frostbite) หรือเนื้อตายเน่า(Gangrene).
  • โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (Aneurysms) ซึ่งสามารถเกิดได้ในทุกบริเวณของร่างกาย
  • โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease)

การป้องกันการเกิดโรคที่ทำได้ก็คือ การมีวิถีสุขภาพที่ดี (Healthy lifestyle) เช่น

  • การเลิกสูบบุหรี่
  • การกินอาหารที่มีประโยชน์
  • การออกกำลังกายสม่ำเสมอ
  • การรักษาน้ำหนักตัวให้เหมาะสม
  • การลดความเครียด เช่น การเล่นโยคะ การฝึกหายใจลึก (Deep breathing)

โดยแพทย์สามารถวินิจฉัยโรคนี้ได้ด้วยการตรวจร่างกายเพื่อดูสัญญาณของลักษณะหลอดเลือดตีบ ขยายใหญ่ หรือแข็งตัว เช่น

  • ชีพจรที่เต้นอ่อนหรือขาดใต้บริเวณที่หลอดเลือดตีบ
  • ความดันโลหิตที่ลดลงในบริเวณแขนขาที่เป็น
  • เมื่อใช้เครื่องฟัง (Stethoscope) ตรวจจะมีเสียงเคลื่อนฟู่ เสียงดัง (Bruits) เหนือหลอดเลือด

นอกจากนี้แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจด้วยวิธีดังต่อไปนี้

  • การตรวจเลือด เพื่อดูระดับของคลอเลสเตอรอลและระดับน้ำตาลในเลือดที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง ซึ่งจะต้องมีการงดอาหารและน้ำดื่ม 9-12 ชั่วโมง ก่อนตรวจ
  • การตรวจหลอดเลือดด้วยเครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (Doppler ultrasound) เพื่อวัดความดันโลหิตตามจุดต่างๆ ของแขนหรือขา วัดระดับความตีบและความเร็วของการไหลของเลือดในหลอดเลือด
  • การวัดดัชนีความดันเลือดเทียบหลอดเลือดแดงแขนกับขา (Ankle-brachial index) โดยความแตกต่างที่ผิดปกติจะสามารถสื่อได้ถึงหลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบ ซึ่งมักเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

แหล่งข้อมูล:

  1. Arteriosclerosis / atherosclerosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arteriosclerosis-atherosclerosis/symptoms-causes/syc-20350569 [2018, March 1].
  2. Atherosclerosis.https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/atherosclerosis [2018, March 1].