อาหารกับโรคตับอักเสบ (Diet for Hepatitis)

สารบัญ

บทนำ

ตับ เป็นอวัยวะสำคัญที่มีขนาดใหญ่และซับซ้อนในร่างกาย มีน้ำหนักถึงประมาณ 1.2-1.5 กิโลกรัม หรือประมาณ 2 % ของน้ำหนักตัว โดยมีหน้าที่สำคัญหลายอย่าง ทั้งในด้านการย่อยอาหาร และกระบวนการต่างๆของร่างกายมากมายด้วยกัน เช่น

  1. ทำหน้าที่ขจัดสารพิษที่เกิดขึ้นในร่างกายจากกระบวนการใช้พลังงาน และสารพิษที่ได้รับจากภายนอกร่างกาย
  2. เซลล์บางชนิดของตับทำหน้าที่จับกินและทำลายเชื้อโรค
  3. สร้างสารที่จำเป็นสำหรับการแข็งตัวของเลือด
  4. สร้างน้ำดีเพื่อช่วยย่อยอาหารประเภทไขมัน และเพื่อช่วยดูดซึมทั้งไขมันและวิตามินที่ละ ลายในไขมัน คือ วิตามินเอ ดี อี เค
  5. ควบคุมการเผาผลาญ สร้าง และเก็บสะสมสารอาหารหลายๆชนิด เช่น
    • กลุ่มคาร์โบไฮเดรต เมื่อร่างกายมีปริมาณของกลูโคสเหลือใช้ ตับจะเปลี่ยนกลูโคส (Glu cose)ไปสะสมในรูปของแป้ง (ไกลโคเจน,Glycogen) และเมื่อร่างกายต้องการใช้พลังงานจากกลูโคส ตับก็จะทำการเปลี่ยนแป้ง ไกลโคเจนให้กลับมาเป็น กลูโคส ซึ่งนับว่ามีส่วนช่วยควบ คุมระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่อยู่เสมอ
    • กลุ่มโปรตีน ช่วยย่อยสลายและผลิตกรดอะมิโนที่จำเป็น เช่น การสร้างสารโปรตีนแอลบูมิน (Albumin)
    • กลุ่มไขมัน ช่วยสังเคราะห์ไขมันในเลือด เช่น คลอเลสเตอรอล
    • กลุ่มเกลือแร่ เป็นที่สร้างและเก็บสะสมของธาตุเหล็ก และ ทองแดง
    • ลุ่มวิตามิน ตับทำหน้าที่สร้างวิตามินเอ จากสารแคโรทีน (Carotene) ที่ได้จากอาหาร เป็นที่เก็บสะสมวิตามินเอ ดี อี เค บี12 และทำหน้าที่เปลี่ยนสารตั้งต้นของวิตามินดีให้อยู่ในรูปที่ร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าตับทำหน้าที่สำคัญมากมายให้แก่ร่างกาย หากเซลล์ตับทำงานไม่ปกติ ถูกทำลายหรือเสื่อมสภาพไป ก็จะมีผลเสียแก่สุขภาพ ทำให้เกิดโรคต่างๆตามมาได้มาก และเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ การถนอมรักษาตับจึงมีความสำคัญต่อสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง แต่ถ้าตับป่วย การเลือกกินอาหารถูกหลักในคนที่ป่วยเป็นโรคตับ ก็เป็นปัจจัยสำคัญปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยให้สุขภาพดีขึ้น แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของโรคและระยะของโรคตับที่เป็นด้วย

โรคตับ มีความหมายครอบคลุมหลายโรค แต่หลักการในการรักษาโรคตับทุกโรคที่สำ คัญ คือ

  1. ให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนอย่างแท้จริง คือ ผู้ป่วยควรได้รับการพักการใช้งานร่างกายจนกว่าอาการจะทุเลา โดยเฉพาะผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ อาจต้องนอนพัก 3-4 สัปดาห์ เพื่อให้ตับได้ฟื้นฟูสภาพ หากไม่ได้พักอย่างแท้จริง เซลล์ของตับอาจเสียมากขึ้นจนกลายเป็นพังผืดซึ่งไม่สามารถฟื้นฟูกลับคืนสู่สภาพปกติได้
  2. ใช้อาหารบำบัด ซึ่งเป็นส่วนสำคัญยิ่งส่วนหนึ่งในการช่วยรักษาโรคตับ
  3. กลุ่มโรคตับที่อาหารจะมีส่วนช่วยในการบำบัดรักษาโรคตับได้ ได้แก่ โรคตับอักเสบ โรคไขมันสะสมในตับ/ไขมันพอกตับ โรคตับแข็ง และโรคมะเร็งตับ
  1. ตับอักเสบ
    • ตับอักเสบจากไวรัสตับอักเสบ ถ้าได้รับอาหารครบถ้วนในปริมาณเพียงพอ จะช่วยการฟื้นตัวของตับให้ดีขึ้นได้
    • ตับอักเสบจากสุรา ผู้ป่วยขาดอาหารจะมีอัตราตายสูงกว่าคนที่ไม่ขาด ซึ่งถ้าได้ รับสารอาหารครบถ้วนในปริมาณเพียงพอ จะช่วยการฟื้นตัวของตับให้ดีขึ้นได้
  2. ไขมันสะสมในตับ/ไขมันพอกตับ การลดอาหารบางประเภท และลดน้ำหนัก เป็นวิธีที่ได้ผลในการลดปริมาณไขมันที่แทรกในเซลล์ตับ และลดความเสี่ยงของการเกิดตับแข็งตามมา
  3. ตับแข็ง การดัดแปลงสารอาหารบางอย่างที่จะช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้ เช่น ถ้าบวมหรือมีน้ำในท้อง ต้องลดเกลือโซเดียมและอาหารเค็ม ถ้ามีอาการหมดสติหรือซึมจากตับวาย การปรับปริมาณและประเภทของอาหารโปรตีน จะช่วยลดอาการของผู้ป่วยได้
  4. มะเร็งตับ ถึงแม้ว่าอาหารจะไม่ใช่ยารักษาโรคมะเร็งตับ แต่การกินอาหารให้ถูกหลักจะช่วยเตรียมสภาพร่างกายผู้ป่วยให้พร้อมรับการรักษาที่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็น การผ่าตัด ยาเค มีบำบัด และ/หรือ รังสีรักษา
 
อาหารกับโรคตับอักเสบ

มีหลักอย่างไรในการให้อาหารผู้ป่วยในโรคตับ?

หลักในการให้อาหารเพื่อช่วยบำบัดรักษาผู้ป่วยโรคตับ คือ

  1. ต้องพยายามป้องกันเซลล์ของตับมิให้ถูกทำลายเพิ่มขึ้นจากตัวโรคตับ เช่น ในกรณีของไว รัสตับอักเสบ ถ้าให้อาหารโปรตีนสูง จะช่วยมิให้เซลล์ของตับตายมากขึ้นจนกลายเป็นพังผืด
  2. ต้องได้อาหารดีมีคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งจะช่วยให้เซลล์ของตับฟื้นฟูได้ อาหารที่มีคุณค่า คือ อาหารที่ครบถ้วนเพียงพอทั้งในด้าน พลังงาน โปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน จะช่วยให้เซลล์ของตับที่อักเสบหายเร็วขึ้น เช่น การจัดอาหารให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีนที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงเช่น เนื้อสัตว์ นมและไข่
  3. ต้องได้อาหารที่ช่วยป้องกันเซลล์ตับจากภาวะทำงานหนัก ซึ่งอาหารที่ให้พลังงานเพียงพอและเหมาะสมจะป้องกันมิให้ตับต้องทำงานหนัก แต่ถ้าขาดพลังงานในแต่ละวัน โปรตีนและกรด อะมิโนจะถูกนำมาใช้เป็นพลังงานมากเกินไป ผลของการเผาผลาญสารอาหารกลุ่มนี้จะทำให้เกิดสารแอมโมเนียซึ่งเป็นสารพิษต่อร่างกายและต่อตับ เพราะตับต้องทำหน้าที่เปลี่ยนสารแอม โมเนียนี้ให้เป็นสารยูเรีย ซึ่งมีพิษน้อยกว่าเพื่อขับถ่ายออกทางไต
  4. ต้องได้อาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกายมากพอ หรือเกินพอ เพื่อน้ำหนักที่ลดไปจะได้กลับ คืนมาโดยเร็ว

*****หมายเหตุ: ในบทความต่อไปนี้ จะกล่าวถึง เฉพาะอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบเท่านั้น ซึ่งรวมทั้งโรคไวรัสตับอักเสบ และโรคตับอักเสบจากสาเหตุอื่นนอกเหนือจากติดเขื้อไว รัสตับอักเสบ เช่น จากพิษสุรา และจากผลข้างเคียงของยา เป็นต้น ส่วนอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับกลุ่มอื่นๆ เช่น ไขมันพอกตับ จะเขียนแยกต่างหากในบทความของแต่ละโรคตับ

อาหารสำหรับโรคตับอักเสบควรเป็นอย่างไร?

การกินอาหารในโรคตับอักเสบขึ้นอยู่กับอาการผู้ป่วยว่า เป็นมากหรือน้อย (อ่านเพิ่มเติมในเรื่องอาการของผู้ป่วยได้ในบทความเรื่อง ไวรัสตับอักเสบ และเรื่องตับอักเสบ) ดังนี้

  1. ในคนที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบที่ผู้ป่วยมักไม่มีอาการ ผู้ป่วยจึงกินอาหารได้ปกติเหมือนคนทั่วไป เมื่อตรวจการทำงานของตับแล้วพบว่าปกติดี
  2. ในคนที่มีอาการตับอักเสบไม่มาก สามารถกินอาหารได้ตามปกติไม่ต้องจำกัดอาหารประเภทใดเป็นพิเศษ แต่ควรต้องกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ให้ครบถ้วนอย่างเพียงพอในทุกๆวัน เพื่อช่วยการซ่อมแซมเซลล์ตับที่อักเสบ เพื่อให้การฟื้นตัวดีขึ้น และเพื่อป้องกันภาวะขาดสารอาหาร (ทุโภชนา) ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียงได้ง่ายๆ เช่น อ่อนเพลียมาก ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องงดไขมัน ยกเว้น มีอาการท้องอืดหลังกินอาหารมันๆ/ไขมัน และไม่ต้องกินอาหารหวาน เช่น น้ำหวานเพิ่มตามความเชื่อสมัยก่อน เพราะไม่ได้ประโยชน์ และยังอาจทำให้ผู้ป่วยส่วนหนึ่งมีไขมันไม่ดีชนิดไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) สูงขึ้นมากได้
  3. ในคนที่มีอาการตับอักเสบปานกลาง มีอาการเบื่ออาหาร และมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรกินอาหารที่มีไขมันต่ำ เนื่องจากการย่อยอาหารไขมันต้องอาศัยน้ำดีจากตับ ซึ่งถ้าตับมีการอักเสบก็จะไม่สามารถทำงานผลิตน้ำดีได้ตามปกติ การกินอาหารมันๆ/ไขมัน หรือการดื่มนม ก็อาจมีผลทำให้มีอาการท้องอืด และคลื่นไส้เพิ่มมากขึ้นได้
  4. ในคนที่มีอาการตับอักเสบมากจนไม่สามารถกินอาหารได้เลย ทำให้อาจเกิดภาวะเกลือแร่ในร่างกายเสียสมดุล ตลอดจนเกิดภาวะขาดน้ำได้ ผู้ป่วยกลุ่มนี้ต้องได้รับการรักษาในโรงพยา บาล และได้รับน้ำเกลือและวิตามินทดแทนอย่างเพียงพอ หรืออาจได้รับเป็นสารอาหารผ่านทางหลอดเลือดดำ เพื่อช่วยให้ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยดีขึ้นได้เร็วขึ้น

อนึ่ง ในระยะที่ตับอักเสบยังไม่สงบ แพทย์อาจให้ผู้ป่วยกินวิตามินเสริมอาหาร เพื่อช่วยในการซ่อมแซมตับ แต่ผู้ป่วยไม่ควรซื้อวิตามินหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกินเองในช่วงนี้ เพราะ อาจมีผลข้างเคียงต่อการทำงานของตับได้ แต่ถ้าต้องการกิน ควรปรึกษาแพทย์ผู้ให้การรักษาโรคตับอักเสบก่อนเสมอ

มีแนวทางกินอาหารเมื่อมีโรคตับอักเสบอย่างไร?

แนวทางสำหรับอาหารในโรคตับอักเสบ คือ

  1. กินอาหารสุก ดื่มน้ำต้มสุก งดกินน้ำแข็งที่ไม่แน่ใจว่าสะอาดเพียงพอหรือไม่
  2. งดของหมักดอง ถั่วป่น พริกป่น เนื่องจากเสี่ยงต่อมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้
  3. กินอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่ (อาหารมีประโยชน์ 5 หมู่) ในแต่ละมื้ออาหาร ให้ร่างกายได้รับพลังงานเพียงพอในแต่ละวัน
  4. กินอาหารกลุ่มโปรตีนให้ได้หรือมากกว่า 1 กรัม /น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน เนื่องจากอาหารโปรตีนจะช่วยการซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ของตับ
  5. กินอาหารไขมันได้บ้าง แต่ถ้าต้องการให้ตับได้พักเต็มที่ ควรงดอาหารมันๆ/ไขมันไปเลย หรือเมื่อมีอาการท้องอืด คลื่นไส้อาเจียน ควรงดกินอาหารทอด อาหารมันๆ เช่น หมูติดมัน หนังไก่ หนังเป็ด ไส้กรอก น้ำสลัด ครีม กะทิ เป็นต้น
  6. งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด
  7. ถ้ามีภาวะตับอักเสบมากจนทำให้กินอาหารได้ไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย แพทย์อาจให้กิน อาหารเสริมทางการแพทย์ เช่น " อะมิโนเลแบน/กรดอะมิโนชนิดเฉพาะสำ หรับผู้ป่วยโรคตับ (Aminoleban) " 2-3 แก้วต่อวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานจากสารอา หารโปรตีนเพิ่มขึ้น
  8. "กินร้อน ช้อนกลาง" เพื่อเป็นการป้องกันการได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบเพิ่มขึ้น และเพื่อป้อง กันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น

อะไรคือกลุ่มอาหารที่กินได้ และที่ควรหลีกเลี่ยงในโรคตับอักเสบ?

กลุ่มอาหารที่กินได้และที่ควรหลีกเลี่ยงสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบ คือ

กลุ่มอาหาร อาหารที่กินได้ อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
1. ข้าว-แป้งข้าว ขนมปัง ก๋วยเตี๋ยว วุ้นเส้นเผือก มัน ฟักทอง ข้าวโพด
ธัญพืชทุกชนิดไม่มี2. ผลไม้
กินได้ทุกชนิด ควรล้างให้สะอาดก่อนกิน (จะปอกเปลือกหรือไม่ก็ได้ เช่น ชมพู่ ฝรั่ง )ผลไม้ที่ไม่ได้ผ่านการล้างสะอาด3. ผัก
กินได้ทุกชนิด ควรเป็นผักสุกเพื่อให้แน่ใจว่าไม่ปนเปื้อนเชื้อโรคผักทุกชนิดที่ไม่ได้ผ่านการล้างให้สะอาด4. นมชนิดต่างๆ และผลิตภัณฑ์นม
นมและผลิตภัณฑ์จากนม น้ำเต้าหู้ควรเป็นนมไขมันต่ำและน้ำตาลต่ำไม่มี
5. เนื้อสัตว์หมู ไก่ เนื้อ ไข่ ต้องสุกอย่างทั่วถึงเนื้อสัตว์สุกๆ ดิบๆ ไข่ดิบ
6. ไขมันไขมันทุกชนิดถั่วเมล็ดแห้งทุกชนิด ควรงด ไขมัน อาหารมัน ทอดเมื่อมี ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน
 

คำนวณความต้องการพลังงานในแต่ละวันได้อย่างไร?

การคำนวณความต้องการพลังงานในแต่ละวันของผู้ป่วยทำได้โดย

1.พลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน

การรับประทานอาหารให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน จะทำให้ผู้ ป่วยมีภาวะโภชนาการที่ดี มีน้ำหนักตัวไม่เปลี่ยนแปลง โดยความต้องการพลังงานแต่ละวันในแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน โดยโภชนากรจะพิจารณาจากน้ำหนักตัวปัจจุบัน, ค่าพลังงานที่คนปกติต้องการในแต่ละวันต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม, กิจกรรมที่ทำในแต่ละวัน, และ ค่าดัชนีมวลกาย ซึ่งคำนวณได้จากสูตร

พลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน = น้ำหนักตัวปัจจุบัน × ปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม การพิจารณาว่าจะใช้พลังงานกี่แคลอรีมาคำนวณ ต้องดูว่า ณ ขณะนั้นน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ น้ำหนักตัวเกิน หรือน้ำหนักตัวน้อย โดยใช้ค่าดัชนีมวลกายและกิจกรรมที่ทำเป็นประจำมาร่วมพิจารณาด้วย

อนึ่ง ปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวันต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม พิจารณาจากน้ำหนักตัวและกิจกรรมที่ทำประจำ ดังนี้

น้ำหนักตัว (กิโลกรัม)พลังงานที่ต้องการต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม
กลุ่มงานเบา/ใช้พลังงานน้อยกลุ่มงานปานกลาง/ใช้พลังงานปานกลางกลุ่มงานหนัก/ใช้พลังงานสูง
น้ำหนักตัวเกิน
(ค่าดัชนีมวลกายมากกว่า 22.9 กิโลกรัม/เมตร2)
20 – 25 แคลอรี30 แคลอรี35 แคลอรี
น้ำหนักตัวปกติ
(มีค่าดัชนีมวลกาย= 18.5 – 22.9 กิโลกรัม/เมตร2)
25 - 30 แคลอรี35 แคลอรี40 แคลอรี
น้ำหนักตัวน้อย
(ค่าดัชนีมวลกายน้อยกว่า 18.5 กิโลกรัม/เมตร2)
30 - 35 แคลอรี40 แคลอรี45 - 50 แคลอร
 

2. การแบ่งกลุ่มกิจกรรมที่ทำประจำ

กลุ่มกิจกรรมที่ทำประจำที่ใช้พลังงานแตกต่างกันในแต่ละวัน แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มงานเบาที่ใช้พลังงานน้อย, กลุ่มงานปานกลางที่ใช้พลังงานปานกลาง, และกลุ่มงานหนักที่ใช้พลังงานสูง

- กลุ่มงานเบาที่ใช้พลังงานน้อย

งานเบา ได้แก่ กิจกรรมที่ต้องนั่งหรือยืนนาน เคลื่อนไหวเฉพาะมือหรือนิ้ว เช่น ผู้ที่ทำงานในสำ นักงาน ผู้ชำนาญการทางวิชาชีพ เช่น ครู แพทย์ พยาบาล นักบัญชี สถาปนิก เสมียนหน้าร้าน งานบ้าน เช่น การกวาดถูบ้าน ปูเตียง ทำอาหาร รีดผ้า วาดรูป ขับรถ พิมพ์ดีด เย็บปักถักร้อย เล่นดนตรี ทำงานในห้องแลบ ทำงานในอู่ซ่อมรถ ทำงานไฟฟ้า งานร้านอาหาร เลี้ยงเด็ก เล่นกอล์ฟ เป็นต้น

- กลุ่มงานปานกลางที่ใช้พลังงานปานกลาง

งานหนักปานกลาง ได้แก่ กิจกรรมที่ต้องออกแรงแขนขา และมีการเคลื่อนไหวทั้งร่างกายเป็นครั้งคราว เช่น กิจกรรมในโรงงานที่คนทำงานมีการเคลื่อนไหวทั้งตัว เช่น การบรรจุของและเคลื่อนย้ายกล่อง นักศึกษา พนักงานก่อสร้างที่ไม่ได้ใช้แรงงานหนัก เช่น การเดินสายไฟ งานประปา งานทาสี งานกสิกรรมเบา เช่น ให้อาหารสัตว์ รีดนม เก็บผลไม้ ชาวประมง พนักงานหญิงในห้างสรรพสินค้า งานบ้าน เช่น ตากผ้า การทำความสะอาดห้องน้ำ เช็ดรถ ขี่จักรยาน เล่นสกี ตีเทนนิส เต้นรำ เป็นต้น

- กลุ่มงานหนักที่ใช้พลังงานสูง

งานหนัก ได้แก่ กิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว มีการเคลื่อนไหวทั้งตัวและต้องใช้แรงมาก เช่น ชาวไร่ ชาวสวน กรรมกรแบกหาม พนักงานป่าไม้ ทหารประจำการ งานของพนักงานดับเพลิง พนักงานเหมือง นักกีฬา เป็นต้น

ตัวอย่างพลังงานอาหารในหนึ่งวันสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบตามอาการ

ตัวอย่างอาหารในหนึ่งวันสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบตามอาการ ได้แก่

1.ผู้ป่วยมีอาการตับอักเสบไม่มาก สามารถกินอาหารมีประโยชน์ 5 หมู่ได้ตามปกติ ตัวอย่าง เช่น กรณีมีอาชีพทำงานในสำนักงาน/กลุ่มงานเบา

  • มีส่วนสูง 170 เซนติเมตร
  • มีน้ำหนักตัว 60 กิโลกรัม
  • มีค่าดัชนีมวลกาย 20.76 กิโลกรัม/เมตร2 = อยู่ในเกณฑ์ปกติ
  • (ค่าดัชนีมวลกายปกติคนไทยมีค่าระหว่าง 18.5 – 22.9 กิโลกรัม/เมตร2)

ผู้ป่วยควรได้รับพลังงานเพื่อรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ = 60 x 25 - 30 = 1,500 - 1,800 แคลอรีต่อวัน

(ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวอยู่ในเกณฑ์ปกติ กิจกรรมงานเบา ปริมาณพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อน้ำ หนักตัว 1 กิโลกรัม ใช้ 25 – 30 แคลอรีต่อวัน มาคำนวณหาพลังงานที่เพียงพอต่อร่างกายในแต่ละวัน)

ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนมากกว่าหรือเท่ากับ 1 กรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม = ควรได้โปรตีนประ มาณ 40 - 60 กรัมต่อวัน (เช่น กินเนื้อสัตว์ 2 ช้อนโต๊ะจะได้โปรตีน 7 กรัม = กินเนื้อสัตว์ได้มากกว่าหรือเท่ากับ 4 ช้อนโต๊ะต่อมื้อ)

ผู้ป่วยควรได้รับคาร์โบโฮเดรต 50-55 % ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องการต่อวัน =750 – 900 แคลอรีต่อวัน = 187.5 - 225 กรัมต่อวัน = ข้าว 6 ทัพพี

และร่วมกับ ผลไม้ 3 - 4 ส่วน* + นมไขมันต่ำ 2 ส่วน* ต่อวัน

ผู้ป่วยควรได้รับไขมัน 30% ของพลังงานทั้งหมดที่ร่างกายต้องการต่อวัน = 450 – 540 แคลอรีต่อวัน = 50 – 60 กรัมต่อวัน = ใช้น้ำมันทำอาหารได้ 1 ช้อนโต๊ะหรือน้อยกว่าต่อมื้อ

2. กลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการตับอักเสบปานกลางถึงมากในผู้ป่วยทุกกลุ่มกิจกรรม ใช้หลักในการคำนวณพลังงานที่สมควรได้รับต่อวันเช่นเดียวกับใน ข้อ ก แต่ควรงดไขมันในการทำอาหาร โดยเพิ่มในส่วน*ของโปรตีน และ คาร์โบไฮเดรตแทน

อนึ่ง ส่วน*ของอาหารแต่ละกลุ่ม อ่านเพิ่มเติมได้ในบทความเรื่อง รายการอาหารแลก เปลี่ยน

ตัวอย่างอาหารในหนึ่งวันสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบภูมิภาคต่างๆ

ตัวอย่างอาหารในหนึ่งวันสำหรับผู้ป่วยโรคตับอักเสบภูมิภาคต่างๆ โดยขอแบ่งเป็น 4 ภูมิภาค คือ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้

ตัวอย่าง: อาหารใน 1 วัน สำหรับผู้ป่วยภาคกลาง

มื้อ ชนิดอาหารที่กิน พลังงาน(แคลอรี) ปริมาณ โปรตีน (กรัม)
เช้า



ข้าวสวย 2 ทัพพี (10 ช้อนโต๊ะ)
ไข่ต้ม 1 ฟอง
กะเพราหมูสับ 4 ช้อนโต๊ะ
นมถั่วเหลืองไม่หวานมาก 1 กล่อง
160
75
150
120
4
7
14
8
เที่ยง

ก๋วยเตี๋ยวน้ำลูกชิ้นหม
สับปะรด 1 ชิ้น (8-10 ชิ้นพอดีคำ)
280
120
11

บ่าย ฝรั่งกิมจู 1 ผลเล็ก 60
เย็น



ข้าวสวย 2 ทัพพี (10 ช้อนโต๊ะ)
ไก่ย่าง (งดหนัง) 1 น่อง
แกงจืดผักกาดขาวเต้าหู้ 3/4 หลอด
+ หมูสับ 2 ช้อนโต๊ะ
แอปเปิล 1 ผล
160
150
75
75
60
4
14
7
7

ก่อนนอน นมถั่วเหลืองไม่หวานมาก 1 กล่อง 120 8
รวม 1,605 84
 

ตัวอย่าง: อาหารใน 1 วัน สำหรับผู้ป่วยภาคเหนือ

มื้อ ชนิดอาหารที่กิน พลังงาน
(แคลอรี)
ปริมาณโปรตีน
(กรัม)
เช้า



ข้าวเหนียว 1 กำมือ
ไข่ต้ม 1 ฟอง
น้ำพริกหนุ่ม – ผักต้ม
ต้มผักกาดจอ-ไก่ 2 ช้อน
น้ำเต้าหู้ไม่หวานมากใส่ธัญพืช
160
75
25
75
90
4
7
0.5
7
8
เที่ยง



ขนมจีนน้ำเงี้ยว – ซี่โครงหมู,เลือด
ขนมจีน 2 จับ
ซี่โครง (ไม่มัน) 5-6 ชิ้น
เลือด, หมูสับ 2-3 ช้อน
ผักต่าง ๆ
สับปะรด 1 ชิ้น (8-10 ชิ้นพอดีคำ)
160
100
75

120
4
7
7


บ่าย สตรอเบอรี 10 -12 ผล 120
เย็น



ข้าวสวย 2 ทัพพี (10 ช้อนโต๊ะ)
ไส้อั่ว 8 -10 ชิ้นพอดีคำ,ผัก
แกงแค – ไก่ 2 ช้อน
กล้วยน้ำว้า 1 ผล
160
150
75
60
4
14
7

ก่อนนอน นมถั่วเหลืองไม่หวานมาก 1 กล่อง 120 8
รวม 1,565 77.5
 

ตัวอย่าง: อาหารใน 1 วัน สำหรับผู้ป่วยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

มื้อ ชนิดอาหารที่กิน พลังงาน(แคลอรี) ปริมาณ โปรตีน (กรัม)
เช้า



ข้าวเหนียว 2 กำมือ
ไข่ต้ม 1 ฟอง
ลาบหมู (สุก) 4 ช้อน - ผัก
320
75
150
8
7
14
เที่ยง



ขนมจีน- ส้มตำ,ไก่ย่าง
- ขนมจีน 2 จับ
- ส้มตำ-ปลาร้า (ต้มสุกก่อน)
- ไก่ย่าง (งดหนัง) 1 น่อง
- ผักต่าง ๆ
กล้วยไข่ 2 ผล
160
25
150

60
4

14


บ่าย ข้าวโพดต้ม 1 ฝัก 160
เย็น



ข้าวสวย 3 ทัพพี (15 ช้อนโต๊ะ)
ปลาดุกย่าง 1 ตัว
แกงเห็ด
กล้วยน้ำว้า 1 ผล
240
75

60
6
7


ก่อนนอน น้ำเต้าหู้ไม่หวานมากใส่ธัญพืช 90 8
รวม 1,565 68
 

ตัวอย่าง: อาหารใน 1 วัน สำหรับผู้ป่วยภาคใต้

มื้อ ชนิดอาหารที่กิน พลังงาน
(แคลอรี)
ปริมาณโปรตีน
(กรัม)
เช้า



ข้าวสวย 2 ทัพพี (10 ช้อนโต๊ะ)
ไข่เจียว 1 ฟอง
แกงเหลือง – ปลา 2 แว่น
ผักสด
นมถั่วเหลืองไม่หวานมาก 1 กล่อง
160
100
75

120
4
7
7

8
เที่ยง



ข้าวผัดปู
- ข้าวสวย 3 ทัพพี
- ปู 2 ช้อนโต๊ะ
- ไข่ 1 ฟอง
- น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
- หอมใหญ่ แตงกวา มะเขือเทศ
เกาเหลาลูกชิ้นปลา

240
75
75
135

150

6
7
7


14
บ่าย ชมพู่ 2 ผล 60
เย็น



ข้าวสวย 3 ทัพพี (15 ช้อนโต๊ะ)
ปลาเผา 1 ตัวขนาด ½ กิโลกรัม
แกงส้ม,กุ้ง 3 ตัวขนาดกลาง
ผักสด
แอปเปิล 1 ผล
240
150
75

60
6
14
7


ก่อนนอน นมถั่วเหลืองไม่หวานมาก 1 กล่อง 120 8
รวม 1,835 95
 

หมายเหตุ: อาหารเผ็ด และ/หรือเปรี้ยว ไม่มีผลเสียโดยตรงกับผู้ป่วยตับอักเสบ แต่ผู้ ป่วยควรเน้นการกินอาหารประเภทโปรตีนเพื่อซ่อมแซมเซลล์ตับที่ถูกทำลาย และหลีกเลี่ยงอาหารที่จะมีผลเสียต่อตับเพิ่มขึ้น การเลือกกินให้ถูกหลักโภชนาการ จะมีส่วนช่วยสร้างเสริมเซลล์ตับให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น

อย่างไรก็ตาม "ตับ" เป็นอวัยวะที่สำคัญมากในการดำรงชีวิต และมีเพียงชิ้นเดียว ดังนั้นการถนอมรักษาตับเพื่อป้องกันโรค จึงมีความสำคัญมากที่สุด และควรป้องกันตั้งแต่ยังไม่เกิดโรคจะดีกว่ารอให้เกิดโรคแล้วจึงมาดูแล (อ่านเพิ่มเติม รายละเอียดโรคตับอักเสบ และการป้อง กันได้ในบทความในเว็บ haamor.com เรื่อง ไวรัสตับอักเสบ และเรื่อง โรคตับอักเสบ)

บรรณานุกรม

  1. หนังสือความรู้เกี่ยวกับตับอักเสบบี,ซี. มูลนิธิโรคตับ
  2. จุฑามาศ ศิริปาณี, ฝ่ายไวรัสตับอักเสบ : สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, ศูนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค จาก http://webdb.dmsc.moph.go.th.[2013,Sept12].
  3. ดวงมณี วิเศษกุล, โรคและอาหารเฉพาะโรค : โครงการตำรา – ศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ 2525.
  4. ชวลิต รัตนกุล, รศ.พญ. " โรคของตับ ถุงน้ำดีและตับอ่อน " วารสารชมรมนักกำหนดอาหารปีที่ 20-25 ฉบับรวมเล่ม มกราคม-ธันวาคม 2543-2548.
  5. ปรียานุช แย้มวงษ์, รศ.พญ. " กินถูกหลัก ช่วย "ตับ" แข็งแรง" ความรู้สู่ประชาชน Siriraj E- Public : ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล http://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e- pl/articledetail.asp?id=793
  6. ทวีศักดิ์ แทนวันดี,ผศ.นพ. " เอาชนะไวรัสตับอักเสบ C " สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์ ศิริราชพยาบาล, พิมพ์ครั้งที่ 3 มกราคม 2554.
  7. Sylvia Escott-Stump,MA,RD. Nutrition and Diagnosis-Related Care. Fourth Edition,1997.
  8. ยง ภู่วรวรรณ, ศาสตราจารย์นายแพทย์. ไวรัสตับอักเสบและการป้องกัน , กรุงเทพฯ : ชัยเจริญ, 2539.
  9. ยง ภู่วรวรรณ, ศาสตราจารย์นายแพทย์. " ตับอักเสบซี" หมอชาวบ้าน http://doctor.or.th/ask/detail/5712 [2013,Sept 12].
  10. วารสารมูลนิธิโรคตับฉบับเดือนสิงหาคม 2548, การดูแลรักษาผู้ป่วยตับอักเสบเฉียบพลัน.
  11. อนุชิต จูฑะพุทธิ,พันเอกนายแพทย์. อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคตับ , วารสารมูลนิธิโรคตับฉบับเดือนสิงหาคม 2550.
  12. เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตร "การเพิ่มประสิทธิภาพการให้โภชนบำบัดในผู้ป่วยเบาหวาน" สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน ปี 2551.
  13. http://emergency.cdc.gov/disasters/tsunamis/translations/hepethai.pdf [2013,Sept 3]
  14. http://www.healthcarethai.com [2013,Sept 3].
  15. http://www.mayoclinic.com/health/hepatitis.[2013,Sept 3].