อายุไม่จำกัด ณ บัดนี้แล้ว (ตอนที่ 1)

เมื่อไม่นานมานี้ บริษัท UnitedHealthcare ได้ศึกษาเรื่องราวของผู้สูงอายุวัยเกิน 100 ปีในสหรัฐอเมริกา พบเคล็ดลับการมีอายุยืนยาวอยู่ที่วิถีการใช้ชีวิต (Life style) เช่นการได้นอนอย่างน้อยคืนละ 8 ชั่วโมง การรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์อย่างสมดุลย์ การมีความสัมพันธ์ทางสังคมอย่างเหมาะสม การออกกำลังกายอย่างพอควร รวมทั้งการสร้างความสงบและที่พึ่งทางจิตใจ

อายุไม่จำกัด (Indefinite lifespan) เป็นศัพท์เฉพาะใช้อธิบายความมีอายุยืนยาวของมนุษย์ หรือสิ่งมีชีวิตใด ภายใต้เงื่อนไขว่า จะมีความสามารถที่จะรักษาและป้องกันชราภาพได้สิ้นเชิง แต่บุคคลก็ยังอาจเสียชีวิตได้ด้วยอุบัติเหตุ บาดเจ็บหรือการติดเชื้ออย่างรุนแรง แต่ไม่ใช่ชราภาพตายไป

มีการพิจารณาว่า อายุไม่จำกัด เป็นศัพท์ที่เหมาะสมกว่าการเป็นอมตะ (Immortality) ซึ่งแปลว่าไม่มีวันตาย โดยอายุคาด (Life expectancy) ของมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2383 เป็นต้นมา ซึ่งเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3 เดือนต่อปี เนื่องด้วยพัฒนาการด้านการแพทย์ การรักษาพยาบาล และเทคโนโลยี

ปัจจุบัน ต้องมีการศึกษาวิจัยมากกว่า 1 ปี จึงจะเพิ่มอายุคาดได้ 1 ปี อย่างไรก็ตาม จากการคำนวณหาค่าสถิติประกันภัย (Actuarial) อัตราส่วนนี้จะผกผันกลับกัน เมื่อมีการเพิ่มอัตราเร่ง (Velocity) ของการศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และยารักษาโรค ทำให้มีชีวิตที่รักษาไว้มีอายุยาวนานขึ้นในอนาคต

คำว่า “อมตะ” (Immortality) กับคำว่า “อ่อนเยาว์ตลอดกาล” (Eternal youth) มักถูกทดแทนด้วยคำว่า “อายุไม่จำกัด” (Indefinite lifespan) ในปัจจุบัน เพราะวงการวิทยาศาสตร์เห็นพ้องกันว่า ทั้งคำว่า “อมตะ” และ “อ่อนเยาว์ตลอดกาล” เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้

แม้เราอาจค้นพบการรักษาโรคต่างๆที่ทำให้ร่างกายเสื่อมและประสิทธิภาพในการรักษาก็พัฒนาไปในทุกขบวนการของการเกิดการชราภาพ ร่างกายก็จะคงสภาพอยู่ได้เหมือนรถยนต์ที่สามารถซ่อมได้ แต่มนุษย์ก็ยังสามารถเสียชีวิตได้จากอุบัติเหตุ การเข่นฆ่ากันในสงคราม หรือเลือกเองที่จะตาย

คำว่า “อายุไม่จำกัด” เป็นคำที่มีสถานภาพรองรับจริง เพราะมีความหมายเพียงแค่การไม่เสียชีวิตจากชราภาพหรือร่างกายที่อ่อนแอหรือเจ็บป่วย การใช้คำใดนั้น บางครั้งเป็นความชื่นชอบส่วนบุคคล เป็นรสนิยม เป็นสุนทรียภาพทางภาษาที่ต่างกัน

ปัญหามีความซับซ้อน โดยนัยหนึ่งสามารถเป็นคำถามได้ว่า “แล้วการรักษาหรือโปรแกรมเพื่อความไม่ชราภาพจะสำเร็จได้จริงหรือ?” ในขณะที่อีกคำถามหนึ่งก็คือ “แล้วการรักษาถ้าได้ผลจริง จะสามารถรวดเร็วพอที่จะช่วยผู้คนยุคปัจจุบันให้ได้รับประโยชน์หรือไม่?”

คำตอบสำหรับคำถามแรก ก็คือความก้าวหน้าทางการแพทย์ หากวิทยาศาสตร์การแพทย์ยังพัฒนาชีวศาสตร์วัยชรา (Biogerontology) และชีววิศวกรรม (Bioengineering) บางคนอาจหวังว่าคำตอบสำหรับคำถามที่สองก็คือ จะเป็นไปได้ในที่สุด ยกเว้นมีเหตุที่ยับยั้งการพัฒนาชีววิทยาศาสตร์ (Biological science)

แหล่งข้อมูล:

  1. เปิดเคล็ดลับทีเด็ด กินนอน อย่างไร "อายุยืน 100 ปี" http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340610299&grpid=&catid=09&subcatid=0902 [2012, August 4].
  2. Indefinite lifespan. http://en.wikipedia.org/wiki/Indefinite_lifespan [2012, August 4].