อายุสั้นเพราะซิสติกไฟโบรซิส (ตอนที่ 3 และตอนจบ)

อายุสั้นเพราะซิสติกไฟโบรซิส-3

      

      อาการแทรกซ้อนต่อระบบย่อยอาหาร ได้แก่

  • ขาดสารอาหาร เพราะเมือกไปอุดกันเอนไซม์ที่ส่งจากตับอ่อนไปยังลำไส้ ทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมโปรตีน ไขมัน หรือวิตามินที่ละลายในไขมันได้
  • โรคเบาหวาน โดยร้อยละ 30 ของคนที่เป็นโรคนี้จะเป็นโรคเบาหวานเมื่ออายุประมาณ 30 ปี
  • ท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้เกิดปัญหาที่ตับหรือเป็นนิ่ว
  • ลำไส้อุดตัน
  • Distal intestinal obstruction syndrome (DIOS) ซึ่งคือภาวะที่ลำไส้เล็กส่วนปลายอุดตันจากเมือกที่หนาและเหนียวผิดปกติในลำไส้เล็กฯที่ส่งผลรวมกับอาหารในลำไส้เล็กฯจนส่งผลให้เกิดเป็นก้อนอุดตันลำไส้เล็กส่วนปลาย

      อาการแทรกซ้อนต่อระบบสืบพันธุ์ ได้แก่

  • การมีลูกยาก (Infertile) เพราะผู้ชายที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่หลอดนำอสุจิ (Vas deferens) ที่ต่อระหว่างอัณฑะ (Testes) และต่อมลูกหมาก (Prostate gland) จะถูกอุดตัน เช่นเดียวกับผู้หญิงที่เป็นโรคนี้ก็จะมีลูกยาก และหากมีลูกก็จะทำให้อาการของโรคนี้แย่ลงด้วย

      อาการแทรกซ้อนอื่นที่เกิดขึ้น ได้แก่

  • กระดูกบาง (Osteoporosis)
  • เกลือแร่ในร่างกายไม่สมดุลและมีภาวะขาดน้ำ เพราะคนที่เป็นโรคนี้จะมีเหงื่อเค็ม ขาดความสมดุลของเกลือแร่ในเลือด โดยลักษณะอาการที่เกิดขึ้นคือ อัตราการเต้นของหัวใจสูงขึ้น อ่อนเพลีย และความดันโลหิตต่ำ

      สำหรับการวินิจฉัยโรคทำได้วยการตรวจเลือด และ ตรวจเหงื่อ (Sweat test) โดยร้อยละ 75 ของผู้ป่วยโรคนี้ตรวจพบโรคเมื่ออายุประมาณ 2 ปี

      ปัจจุบัน ยังไม่มีวิธีการรักษาโรคนี้ให้หาย แต่เป็นการรักษาเพื่อควบคุมอาการและพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างวิธี

  • Airway clearance techniques (ACT) ที่ช่วยกำจัดเมือกออกจากปอด เช่น การตบหน้าอกและหลังผู้ป่วยเพื่อช่วยให้เมือกหลุดออก หรือการพ่นยาที่ช่วยลดเมือก ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และทำให้ทางเดินหายใจโลงขึ้น
  • การให้ยาปฏิชีวนะ โดยยาที่ใช้ประจำสำหรับผู้ป่วยโรคนี้ เช่น ยา Ibuprofen และยา Azithromycin
  • การใช้โภชนบำบัดด้วยการกินอาหารที่มีแคลอรี่หรือไขมันที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของเด็ก และอาหารเสริมที่ทำให้ได้รับสารอาหารที่สมดุล เช่น อาหารเสริมเอนไซม์ตับอ่อน เกลือ หรือวิตามิน
  • การออกกำลังกายเพื่อให้ปอดและร่างกายโดยรวมแข็งแรง

      สำหรับการลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อที่ปอดอาจทำได้ด้วยการ

  • ล้างมือให้บ่อย
  • ฉีดยากันไข้หวัดทุกปี
  • ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงการสูดควันบุหรี่มือสอง (Second-hand smoke)
  • หลีกเลี่ยงผู้ที่เป็นไข้หวัดหรือป่วยเป็นโรคติดต่อ

      อนึ่ง การป้องกันที่ทำได้ คือ การตรวจยีน (Genetic testing) ก่อนการมีลูก

      

แหล่งข้อมูล:

  1. Cystic fibrosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/cystic-fibrosis/symptoms-causes/syc-20353700 [2019, May 8].
  2. Everything you need to know about cystic fibrosis. https://www.medicalnewstoday.com/articles/147960.php [2019, May 8].
  3. About Cystic Fibrosis. https://www.cff.org/What-is-CF/About-Cystic-Fibrosis/[2019, May 8].