ศัลยกรรมขากรรไกร - อันตรายใกล้ตัว (ตอนที่ 6 และตอนจบ)

ในสหรัฐอเมริกา ศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic surgery) เป็นวิชาที่กว้าง และสามารถแบ่งย่อยออกไปหลากหลาย อาทิ ศัลยกรรมแผลไฟไหม้ (Burns) ซึ่งตามปกติ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นแรกคือฉับพลัน (การดูแลรักษาทันทีหลังถูกไฟไหม้) ขั้นสองคือศัลยกรรมสร้างเสริม (Reconstructive) แผลไฟไหม้ ซึ่งจะดำเนินการหลังจากแผลไฟไหม้ดูดีขึ้นแล้ว ศัลยกรรมเสริมสวย (Cosmetic or aesthetic surgery) เป็นส่วนประกอบสำคัญของศัลยกรรมตกแต่ง เป็นการผ่าตัดเสริมสร้างใหม่โดยแยกการผ่าตัดเพื่อทำให้ภาพรวมทั้งหมดดูดีขึ้น

ศัลยกรรมกระดูกใบหน้า (Craniofacial) เด็กส่วนมากจะเกี่ยวกับความผิดปกติตั้งแต่กำเนิดของโครงสร้างกระดูกใบหน้าและเนื้อเยื่ออ่อน อย่างเช่น ปากแหว่ง เพดานโหว่ รอยต่อของกะโหลกศีรษะปิดไม่สนิท และ กระดูกหัก ส่วนศัลยกรรมกระดูกใบหน้าของผู้ใหญ่ ส่วนมากจะเป็นกระดูกหัก และศัลยกรรมครั้งที่ 2 (อย่างเช่น การเสริมสร้างเบ้าตา) ร่วมกับศัลยกรรมใบหน้าที่ไม่มีคางยื่น ศัลยกรรมกระดูกใบหน้าเป็นส่วนที่สำคัญของศัลยกรรมตกแต่งทั้งหมด

ศัลยกรรมมือ (Hand surgery) เกี่ยวข้องกับ การบาดเจ็บฉับพลันและโรคเรื้อรังของมือและข้อมือ การแก้ไขการผิดรูปแบบแต่กำเนิดของอวัยวะเคลื่อนไหวส่วนปลาย (Extremities) และปัญหาเส้นประสาทส่วนปลาย ศัลยกรรมมือเป็นส่วนสำคัญของศัลยกรรมตกแต่ง เช่นเดียวกับจุลศัลยกรรม ซึ่งจำเป็นสำหรับการตัดต่ออวัยวะเคลื่อนไหวที่ถูกตัดขาด สาขาวิชาศัลยกรรมมือยังเกี่ยวข้องกับศัลยกรรมกระดูก และศัลยกรรมทั่วไป การสร้างเนื้อเยื่อแผลเป็น หลังจากการศัลยกรรมอาจเป็นปัญหาบนมือที่ละเอียดอ่อน เป็นเหตุให้สูญเสียการใช้มือและนิ้ว ถ้ามีอาการรุนแรง

จุลศัลยกรรม (Microsurgery) เกี่ยวข้องโดยทั่วๆ ไปกับการสร้างใหม่ของเนื้อเยื่อที่สูญเสีย โดยการย้ายชิ้นส่วนเนื้อเยื่อไปที่ตำแหน่งที่ต้องการสร้างใหม่ และเชื่อมต่อเส้นเลือดใหม่ ตำแหน่งที่นิยมทำกันมากคือการเสริมสร้างเต้านม การเสริมสร้างศีรษะและคอ ศัลยกรรมมือและการปลูกถ่ายเนื้อเยื่อ และเครือข่ายเส้นประสาทแขน

ศัลยกรรมเด็ก (Pediatric surgery) เป็นหัวข้อที่พบเสมอทางการแพทย์ที่แตกต่างจากประสบการณ์ในผู้ใหญ่ เด็กอาจพิการตั้งแต่แรกเกิดหรือกลุ่มอาการ (Syndrome) ตั้งแต่เกิด วิธีที่ถูกกต้องคือรักษาตั้งแต่วัยเด็ก และใช้ศัลยกรรมตกแต่งในเด็ก เพื่อการรักษาในเงื่อนไขต่างๆ เช่น การรักษากะโหลกศีรษะและใบหน้า ปากแหว่งเพดานโหว่ และมือที่ผิดรูปแต่กำเนิด

แม้ว่าสื่อและโฆษณาจะมีบทบาทอิทธิพลอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของคน นักวิจัยเชื่อว่าความหลงใหลในศัลยกรรมตกแต่ง (Plastic surgery obsession) จะเกี่ยวเนื่องกับความผิดปกติทางจิตใจ โดยเฉพาะโรคที่คิดว่าตัวเองมีรูปร่างหรืออวัยวะผิดปกติ (Body dysmorphic disorder : BDD) จนต้องทำศัลยกรรมตกแต่งเพื่อที่จะให้รูปร่างดีขึ้นและยอมรับได้

BDD เป็นผลลัพธ์ของความผิดปกติ ที่ความรู้สึกทุกข์ร้อนได้ครอบงำพวกที่คำนึงถึงปมด้อยในร่างกายและใบหน้า ประมาณ 2% ของประชากรในสหรัฐอเมริกามีปมด้อยจากความผิดปกติของร่างกาย อีก 15% ของผู้ที่ไปหาหมอโรคผิวหนัง และศัลยกรรมความงาม ก็มีความผิดปกติ [ทางจิตใจ]

ครึ่งหนึ่งของผู้มีความผิดปกติ ไม่พอใจกับผลลัพธที่ออกมาของ BDD จนสามารถทำให้เกิดการฆ่าตัวตายได้ ขณะที่หลายรายไม่ได้รับรักษา BDD จนทำให้ปัญหาแย่ลงกว่าเดิม ส่วนลึกทางจิตใจของปัญหายังไม่ได้ถูกแยกแยะ ดังนั้นจึงเป็นเหตุให้การรักษายากมากขึ้น การยึดติดหรือความทุกข์ใจ สามารถนำมาซึ่งความผิดปกติอื่นๆ เช่น เบื่ออาหาร หรือกล้ามเนื้อผิดรูป

ในบางกรณี ผู้ซึ่งแพทย์ปฏิเสธที่จะทำศัลยกรรมต่อไป ก็ได้หันมาทำศัลยกรรมด้วยตนเอง โดยการฉีดสารบางอย่าง เช่น ใช้ซิลิโคนจากตลาดมืดฉีดตัวอง ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงต่อความปลอดภัยอย่างรุนแรง ผลที่ตามมาคือการผิดรูปจากการยอมรับของคนทั่วไป และความทุกข์ทรมานจากความล้มเหลว

แหล่งข้อมูล:

  1. Plastic surgery - http://en.wikipedia.org/wiki/Plastic_surgery [2013, June 25].