ระบบ P4P มีดีมีเสีย (ตอนที่ 3)

ในสหราชอาณาจักร องค์การบริการสุขภาพแห่งชาติ (National Health Service : NHS) เริ่มต้นโครงการจ่ายตามภาระงาน (Pay for Performance : P4P) ในปี พ.ศ. 2547 ภายใต้ชื่อ “กรอบงานคุณภาพและผลลัพธ์” (Quality and Outcomes Framework : QOF) แพทย์เวชปฏิบัติ (General practitioners : GP) ตกลงเงื่อนไขการเพิ่มผลตอบแทนในเวลานั้น ตามภาระงานที่สะท้อนออกมาในรูปดัชนีชี้วัดคุณภาพ 146 ตัว ซึ่งครอบคลุม 10 โรคเรื้อรัง การจัดระเบียบการดูแลสุขภาพ (Organization of care) และประสบการณ์ผู้ป่วย

เพื่อรองรับสนับสนุนโครงการนี้ รัฐบาลเพิ่มงบประมาณจากปีก่อน 20% โดยลงทุนเพิ่มในเรื่องบุคลากร ผลลัพธ์ก็คือ 90% ของแพทย์เวชปฏิบัติ ใช้บริการสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์การดังกล่าว (NHS Electronic Prescription Service) และใช้ 50% แฟ้มประวัติอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic health records : HER) ในการปฏิบัติงานส่วนใหญ่ ข้อมูลเบื้องต้นแสดงถึงรายได้ที่เพิ่มขึ้นมากของแพทย์ ตามมาตรการวัดภาระงานที่ได้ประสิทธิผล

ในปี พ.ศ. 2549 สถาบันการแพทย์ (Institute of Medicine) [ของสหรัฐอเมริกา] รายงาน “การสนับสนุนให้รางวัล (Incentives) แก่โรงพยาบาล คลินิก ร้านขายยา บริษัทประกัน และผู้ผลิต ที่ปรับตัวให้สอดคล้องกับเป้าหมายความปลอดภัยในผู้ป่วย ด้วยระบบการจ่ายตามภาระงาน . . . เพราะระบบปัจจุบัน มิได้สะท้อนคุณค่าสัมพัทธ์ (Relative value) ของการให้บริการดูแลสุขภาพ ในแง่ของคุณภาพ อาทิ ผลลัพธ์การรักษา (Clinical outcome) การใส่ใจผู้ป่วย (Patient-centeredness) และประสิทธิภาพ (Efficiency) หรือการคำนึงถึงการประสานงานดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันและรักษาภาวะเรื้อรัง”

อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติในปัจจุบันก็มีข้อจำกัดมากมากมาย อาทิ การไม่มีระบบสารสนเทศทางคลินิกที่เพียงพอภายในโรงพยาบาล เพราะมิได้รับการออกแบบที่จะเก็บข้อมูลที่ได้ประสิทธิผลสำหรับการประเมินคุณภาพของการบริการ

ในสหรัฐอเมริกา สมาคมวิชาชีพทางการแพทย์ (Professional medical societies) ส่วนใหญ่สนับสนุนโครงการจ่ายตามภาระงาน เพื่อเพิ่มพูนคุณภาพของการดูแลสุขภาพ อย่างไรก็ตามองค์กรเหล่านี้ ก็แสดงความกังวล ในเรื่องทางเลือก (Choice) และประสิทธิผล (Validity) การวัดผลของการปรับปรุง [ภาระงาน]

สมาคมการแพทย์อเมริกัน (American Medical Association : AMA) ได้ตีพิมพ์หลักการของการจ่ายตามภาระงาน ที่ตอกย้ำความสมัครใจในการร่วมโครงการ ข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำ ผลตอบแทนในเชิงบวก การฟูมฟักความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ตลอดจนแนวทาง (Guideline) การออกแบบและติดตั้งโครงการเหล่านี้

แต่จุดยืนขององค์กรแพทย์อื่นๆ ก็สะท้อนในเชิงลบ (Skepticism) ของประสิทธิผลในมาตรการวัดภสนะงาน การส่งเสริมความคิดเห็นของแพทย์แต่ละบุคคล การคุ้มครองความต้องการพิเศษ (Preference) ของผู้ป่วย ความเป็นอิสระ (Autonomy) [ของแพทย์] และ ส่วนบุคคล (Privacy) [ของผู้ป่วย] และการลดค่าใช้จ่ายการดูแลสุขภาพ แต่เพิ่มค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการโครงการดังกล่าว

เพื่อเป็นมาตรการลงโทษ (Disincentive) ศูนย์กลางบริการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (Centers for Medicare and Medicaid Services : CMS) ในสหรัฐอเมริกา ได้เสนอการงดจ่ายกรณีที่มีผลตามมาในเชิงลบ (Negative consequences) จากการประมาทเลินเล่อ จนทำให้เกิดการบาดเจ็บ การเจ็บป่วย หรือการตายแก่ผู้ป่วย มีผลบังคับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 และการลดจำนวนเงินที่จ่าย กรณีที่มีภาวะแทรกซ้อนทางการแพทย์ (Medical complications) รวมทั้งการติดเชื้อในโรงพยาบาล (Hospital infection) ด้วย

แหล่งข้อมูล:

  1. Pay for performacne - http://en.wikipedia.org/wiki/Pay_for_performance_%28healthcare%29 [2013, May 1].