'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 8)

ประมาณครึ่งหนึ่งของผู้ปกครองของเด็กกลุ่มออทิสติก จะสังเกตพฤติกรรมที่ไม่ปกติของเด็กๆ เมื่ออายุ 18 เดือน และประมาณ 4 ใน 5 คน ที่สังเกตเห็นพฤติกรรม เมื่ออายุ 24 เดือน ตามข้อมูลจากวารสารออทิสซึ่มและความผิดปกติของพัฒนาการ (Journal of Autism and Development Disorders)

ความล่าช้าของการทดสอบการวินิจฉัยช่วงแรก และการเข้ารับการรักษา มีผลต่อผลที่ตามมาในระยะยาว อย่างเช่น

  • No babbling (ไม่พูดไม่จา) ช่วงอายุ 12 เดือน
  • No gesturing (ไม่แสดงอาการท่าทาง) เช่น การชี้เป้าหมาย ในช่วงอายุ 12 เดือน
  • ไม่ออกเสียงคำเดี่ยวๆ ในช่วงอายุ 16 เดือน
  • ไม่ออกเสียงวลี 2 คำ ช่วงอายุ 24 เดือน
  • ไม่มี ทักษะทางภาษา หรือ การเข้าสังคม ในทุกช่วงอายุ

ในสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น จะมีการคัดกรองเด็กทั้งหมดเพื่อค้นหาเด็กที่เป็นออทิสติก ณ ช่วงอายุ 18 และ 24 เดือน โดยใช้รูปแบบ การทดสอบคัดเลือกเฉพาะเด็กออทิสติก เปรียบเทียบกับในอังกฤษ ซึ่งเด็กเหล่านี้มีครอบครัวหรือแพทย์ที่ยอมรับว่า เด็กเป็นออทิสติก แต่ในปัจจุบันก็ยังไม่รู้ว่าการใช้รูปแบบไหนจะให้ผลดีกว่า

เครื่องมือคัดกรอง สำหรับเด็กออติสติกในวัยเตาะแตะ ชื่อ M-CHAT (Modified Check List for Autism in Toddlers) แล้วยังมีแบบสอบถามการทดสอบคัดกรองเด็กออติสติกเบื้องต้นอีกด้วย อย่างไรก็ตาม เครื่องมือในการคัดกรองที่ได้ออกแบบเป็นบรรทัดฐานของวัฒนธรรมหนึ่ง อาจจะไม่เหมาะสมในวัฒนธรรมที่แตกต่างออกไป การคัดเลือกทางพันธุกรรมสำหรับเด็กออทิสติกยังคงไม่เหมาะสม มักจะได้รับการพิจารณาเป็นบางกรณีไป อย่างเช่น เด็กที่มีอาการทางประสาท และรูปร่างไม่สมประกอบ (Dysmorphic features)

จุดมุ่งหมายหลักเมื่อรักษาเด็กออทิสติกจะเกี่ยวข้องกับความบกพร่อง ความทุกข์ของครอบครัว การเพิ่มคุณภาพของชีวิต และการปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างอิสระ แต่ไม่มีการรักษาแบบใดแบบเดียวที่ดีที่สุดในการรักษาเหมาะเจาะเฉพาะต่อความต้องการของเด็ก ครอบครัวและระบบการศึกษาเป็นเสาหลักสำหรับการรักษาเด็กออทิสติก

การศึกษาวิธีรักษา (Intervention) มักมีปัญหาเรื่องวิธีการ เพื่อป้องกันการสรุปตามนิยามเกี่ยวกับประสิทธิผล (Efficacy) แม้ว่าการรักษาทางจิตวิทยามากมายจะให้ผลเป็นบวก (การรักษาใด ย่อมดีกว่าการไม่ได้รักษา) แต่วิธีการยังขาดคุณภาพของการทบทวนอย่างเป็นระบบ จึงทำให้ผลลัพธ์ ยังขาดความน่าเชื่อถือ หรือสรุปไม่ได้

การรักษาพฤติกรรมในช่วงต้นของชีวิตสามารถช่วยให้เด็กมีทักษะดูแลตัวเอง เข้าสังคม และทำงานได้ และทำให้พัฒนาการดีขึ้น ลดอาการรุนแรง และลดพฤติกรรมการที่ผิดปกติได้ วิธีการมีหลากหลายรวมทั้งการวิเคราะห์การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม (Applied behavior analysis : ABA) แบบจำลองพัฒนาการ การสอนที่มีโครงสร้าง การบำบัดการพูดและภาษา การบำบัดทักษะทางสังคม และอาชีวบำบัด (Occupational therapy)

แหล่งข้อมูล:

  1. มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV [2013, August 21].
  2. Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism [2023, August 21].