'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 5)

เป็นที่ยอมรับกันมาเป็นเวลานานแล้วว่า ออทิสซึ่ม (Autism) มีสาเหตุจากกรรมพันธุ์ ความสามารถในการเรียนรู้ และเซลล์สมอง ออทิสซึ่มมีรากฐานทางพันธุกรรมที่แข็งแรง แม้ว่าพันธุกรรมของออทิสซึ่ม จะซับซ้อนและไม่ชัดเจน

กลุ่มอาการ ออทิสติกได้รับการอธิบายว่าไม่ค่อยจะมีการกลายพันธ์ (Mutation) จากการทำปฏิกิริยาระหว่าง จีน/ยีน(Gene) ทั่วไปหลายชนิด ความซับซ้อนเพิ่มขึ้นเนื่องจากปฏิกิริยาของจี น/ยีน หลากหลายชนิด (Multi-gene) สิ่งแวดล้อม และปัจจัยซึ่งไม่ได้เปลี่ยนสารพันธุกรรม DNA (Deoxyribonucleic acid) แต่เป็นความสามารถสืบทอดและมีอิทธิพลต่อการแสดงออกของ จีน/ยีน

หลักฐานหลายชนิดชี้ไปที่ความผิดปกติของจุดประสานเส้นประสาท (Synapses) ที่เป็นสาเหตุของออทิสติก การศึกษาการแทนที่ จีน/ยีน (Gene replacement) ในหนูได้แสดงว่า อาการออทิสติกมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดต่อขั้นตอนการพัฒนาการที่ช้ากว่า ซึ่งขึ้นอยู่กับการทำงานในจุดประสานเส้นประสาท และการเปลี่ยนแปลงที่ขึ้นอยู่กับการทำงานดังกล่าว

สารซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดเด็กพิการ (Teratogen) มีความสัมพันธ์ต่อความเสี่ยงการเป็นออทิสติกที่เกิดระหว่าง 8 สัปดาห์แรก ของครรภ์ แม้ว่าสิ่งนี้จะไม่รวมความเป็นไปได้ที่ว่าออทิสติกสามารถเริ่มก่อนและมีผลหลังจากนั้น นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ยืนยันว่า ออทิสติกเกิดขึ้นในช่วงต้นของการพัฒนาร่างกาย

หลักฐานสำหรับสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่จะเป็นสาเหตุของอาการออทิสติก เช่นอาหาร โรคติดเชื้อ โลหะหนัก สารละลาย ไอเสียดีเซล สารฟีนอล (Phenol) ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์พลาสติก ยาฆ่าแมลง แอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ ยาที่ผิดกฏหมาย วัคซีน และความเครียดก่อนคลอด ต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมในอนาคต ยังไม่มีค้นพบการเชื่อมโยงเหล่านี้ และบางอย่างยังไม่ได้มีการพิสูจน์อย่างสมบูรณ์

ผู้ปกครองอาจจะกังวลเกี่ยวกับเด็กได้รับวัคซีนมากเกินไป สารกันเสียในวัคซีน (Vaccine preservative) หรือ วัคซีนหัด หัดเยอรมัน คางทูม ว่า จะเป็นสาเหตุให้เกิดออทิสติก แต่ทฤษฎีนี้ ยังขาดหลักฐานที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อ และไม่น่าจะเป็นไปได้ทางชีววิทยา

แต่ผู้ปกครองก็ยังกังวลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงวัคซีนกับออทิสติก ความกังวลนี้ได้นำมาซึ่งอัตราลดลงของการให้ภูมิคุ้มกันในวัยเด็ก การแพร่ระบาดของโรคที่น่าจะควบคุมในวัยเด็กในบางประเทศ และการเสียชีวิตในเด็กหลายคนที่ควรจะป้องกันได้

กลุ่มอาการออทิสติก เป็นผลจากการเปลี่ยแปลงที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโตเต็มที่ในหลายๆ ระบบของสมอง กลไก (Mechanism) ของออทิสติกเกิดขึ้นอย่างไรยังไม่เป็นที่เข้าใจมากนัก โดยกลไกดังกล่าวได้รับการแบ่งแยกเป็นประเภท กล่าวคือ สรีระพยาธิ (Patho-physiology) ของโครงสร้างและกระบวนการของสมอง ที่เกี่ยวข้องกับออทิสติก และสรีระประสาท (Neuro-physiology) ที่เชื่อมโยงระหว่างโครงสร้างของสมองและพฤติกรรม

แหล่งข้อมูล:

  1. มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV [2013, August 18].
  2. Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism [2023, August 18].