'ระนอง' ต้นแบบดูแล เด็กออ (ทิสติก) ครบวงจร (ตอนที่ 4)

นอกจากความผิดปกติในการพัฒนาสมอง คนที่เป็นออทิสติก (Autism) จะมีความบกพร่องในการเข้าสังคม และมักขาดสัญชาติญาณการเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องอื่นๆ การพัฒนาด้านสังคมที่ไม่ปกติจะปรากฏขึ้นในช่วงต้นของวัยเด็ก ทารกออทิสติกจะแสดงความสนใจน้อยต่อการกระตุ้นทางสังคม การยิ้มและมองดูสิ่งอื่นก็น้อยกว่า แม้แต่การนตอบสนองต่อชื่อของตนเองก็ยังน้อยกว่าด้วย

เด็กออทิสติกแต่ละคนจะแสดงรูปแบบพฤติกรรมซ้ำๆ หรือมีข้อจำกัดหลายๆ รูปแบบ ซึ่งมีมาตรวัด (Repetitive Behavior Scale Revised : RBE-R) ที่จัดกลุ่มต่าๆ ได้ดังนี้

  • Stereotypy (แบบอย่างทั่วไป) - เป็นการเคลื่อนไหวซ้ำๆ อย่างเช่น การโบกมือ หมุนศีรษะ หรือการเขย่า ร่างกาย
  • Compulsive behavior (พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ) - เป็นความตั้งใจที่จะจัดของอย่างเป็นระเบียบอย่างเช่น จัดเก็บวัตถุ เป็นกองหรืออยู่ในแนว Sameness (ความเหมือนกัน) - เป็นการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่น การยืนยันว่าเห้ามเคลื่อนย้ายเฟอร์นิเจอร์
  • Ritualistic behavior (รูปแบบในชีวิตประจำวัน) - การกระทำที่ไม่เปลี่ยนแปลง อย่างเช่น ไม่เปลี่ยนรายการอาหาร หรือรูปแบบการแต่งกาย
  • Restricted behavior (มีข้อจำกัดในพฤติกรรม) - เป็นข้อจำกัดเรื่องเป้าหมาย ความสนใจหรือกิจกรรม อย่างเช่น การดูโปรแกรม ทีวี ช่องเดียว ของเล่นเกมส์ ความเป็นเจ้าของ
  • Self injury (การทำร้ายร่างกายตนเอง) - รวมทั้งการเคลื่อนไหวซึ่งสามารถทำร้ายผู้อื่น อย่างเช่น การทิ่มตา การ หยิกเนื้อ กัดมือ และตัดผม

อย่างไรก็ตาม ไม่มีพฤติกรรมทำซ้ำๆ แบบเดียวหรือการทำร้ายร่างกายตนเองที่ดูเหมือนเป็นการเฉพาะของเด็กออทิสติก ซึ่งแต่ละคนอาจจะแสดงอาการที่เป็นอิสระจากการวินิจฉัยเป็นกลุ่ม เด็กออทิสติกหลายคนแสดงทักษะที่เหนือกว่าต่อการยอมรับและความตั้งใจปฏิสัมพันธ์กับผู้คนทั่วไป

ความผิดปกติในด้านความรู้สึก (Sensory) พบกว่า 10% ของเด็กออทิสติกเหล่านั้น เป็นคุณลักษณะเฉพาะ (Characteristics) ในบางคน แม้ว่าจะไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดว่าเด็กออทิสติกที่มีความแตกต่างด้านความรู้สึก จากความผิดปกติในพัฒนาการด้านอื่นๆ พฤติกรรมการกินที่ผิดปกติเกิดขึ้นประมาณ 3 ใน 4 ของเด็กกลุ่มออทิสติก ซึ่งเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในการวินิจฉัยอย่างเป็นรูปแบบ

ไม่ปรากฏการขาดสารอาหารในเด็กออทิสติก แม้ว่าบางคนจะมีอาการทางกระเพาะอาหารและลำไส้ด้วย ซึ่งยังคงขาดข้อมูลที่จะสนับสนุนว่า เด็กออติสติกมีอาการกระเพาะอาหารและลำไส้มากกว่าหรือแตกต่างกว่าเด็กปกติ รายงานการศึกษาให้ผลขัดแย้งกัน และความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากระเพาะอาหารและลำไส้และออทิสติกก็ยังไม่แน่ชัด

แหล่งข้อมูล:

  1. มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ (ทิสติก) - http://www.komchadluek.net/detail/20130719/163752/มาไวๆ...ถ้าสงสัยเด็กออ%28ทิสติก%29.html#.Ugw6sZIvlqV [2013, August 17].
  2. Autism - http://en.wikipedia.org/wiki/Autism [2023, August 17].